Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง (วิ.แขวง)

       **มาตรา 7 ในการสอบสวนคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงเมื่อจับผู้ต้องหาแล้ว ให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังอัยการ เพื่อยื่นฟ้องให้ทันภายใน 48ชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ แต่มิให้นับเวลาเดินทางตามปกติจากที่จับมายังที่ทำการพนักงานสอบสวน, จากที่ทำการพนักงานสอบสวนหรืออัยการมาศาลเข้าในเวลา 48 ชั่วโมง

กรณีเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องให้ทันเวลา 48 ชั่วโมง ให้พนักงานสอบสวนหรืออัยการ ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องได้อีกคราวละไม่เกิน 6 วัน ไม่เกิน 3 คราว ในการวินิจฉัยคำร้องนี้ถ้ามีการขอให้ขังผู้ต้องหาด้วยให้ศาลถามผู้ต้องหาว่ามีข้อคัดค้านหรือไม่และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวน, อัยการ มาชี้แจงเหตุจำเป็นหรือเรียกพยานมาเบิกความประกอบก็ได้

เมื่อศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องครบ 3 คราวแล้ว หากพนักงานสอบสวน, อัยการ ขอผัดฟ้องอีก โดยอ้างเหตุจำเป็น ศาลจะอนุญาตเมื่อได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล ในกรณีนี้ศาลมีอำนาจสั่งผัดฟ้องได้คราวละไม่เกิน 6 วัน อีก 2 คราว

ผู้ต้องหาจะแต่งทนายเพื่อแถลงข้อคัดค้านและซักถามพยานก็ได้

ฎีกาที่ 586/2511 จำเลยถูกจำคุกในคดีอื่น แล้วถูกสอบสวนในคดีนี้ถือว่าการสอบสวนคดีนี้ยังไม่มีการจับกุมตัวผู้ต้องหาแต่อย่างใด จึงไม่ต้องมีการผัดฟ้องตามมาตรา 7 แม้อัยการจะเคยขอผัดฟ้องมาแล้วก็ตาม

ฎีกาที่ 3744/2541 คดีนี้ผู้ร้องจะได้ขออายัดตัวผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวนคดีอื่นแล้วในวันเดียวกันผู้ร้องยังได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาแจ้งสิทธิของผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหา รวมทั้งได้สอบปากคำให้การไว้ด้วย กรณีจึงหาใช่กรณีอายัดตัวเพียงอย่างเดียวแต่ต้องถือว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องได้จับผู้ต้องหาแล้ว

ฎีกาที่ 1319/2522 อัยการฟ้องบริษัทจำกัด เป็นจำเลยต่อศาลแขวงไม่ได้มีการจับกุมตัวจำเลย เพราะว่าไม่อยู่ในสภาพที่จะจับได้จึงไม่ต้องผัดฟ้องตามมาตรา 7

ฎีกาที่ 1849/2522 คดีที่ไม่มีการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาก็ไม่มีความจำเป็นต้องผัดฟ้อง

ฎีกาที่ 2157/2514 เมื่อตำรวจจับจำเลยได้แล้วนำตัวมาส่งให้พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาและไม่ได้ควบคุมตัวไว้ให้ประกันตัวไปเพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้น พฤติการณ์ยังไม่ถือว่าจำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย

ฎีกาที่ 2450/2527 จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนแล้วส่งตัวให้อัยการ อัยการสั่งปล่อยชั่วคราวในวันเดียวกันพฤติการณ์ดังกล่าว แสดงว่ามีการจับกุมแล้วในวันที่จำเลยมอบตัว

ฎีกาที่ 3042/2532 (ป.) ถ้ามีหลายข้อหา ข้อหาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงไปฟ้องในศาลจังหวัดพร้อมกับข้อหาที่หนักกว่าข้อหาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงก็ไม่ต้องมาผัดฟ้อง คือไม่อยู่ในบังคับมาตรา 3, 4

ฎีกาที่ 3298/2532 แม้เป็นความผิดหลายกรรม แต่ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียว แต่เป็นความผิดที่เกี่ยวพันกันจึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน โจทก์จะฟ้องทุกคดีต่อศาลที่มีอำนาจในความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าได้ (มีฎีกาที่ 3584/2532 วินิจฉัยเดินตาม)

ฎีกาที่ 5737/2533 กำหนดเวลาขอผัดฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลต้องเริ่มนับทันทีตั้งแต่วันแรกที่ร้องขอผัดฟ้องแม้ศาลจะอนุญาตให้ผัดฟ้องมาโดยมีการนับกำหนดเวลาผิดพลาด โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องโดยฝ่าฝืนกฎหมาย

ฎีกาที่ 769/3537 แม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีในข้อหาปลอมและใช้เอกสารปลอมซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดอุดรธานี แต่เมื่อศาลปล่อยตัวจำเลยแล้ว ต่อมาพนักงานสอบสวนได้สอบสวนและแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า ผิด ป.อ.มาตรา 276 กรณีย่อมถือว่าจำเลยเพิ่งถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงตั้งแต่วันแจ้งข้อหา เมื่อพนักงานสอบสวนส่งตัวจำเลยต่ออัยการและอัยการได้ขอผัดฟ้องและฟ้องจำเลย เป็นคดีนี้ภายในกำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 7 วรรค 2 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องขออนุญาตอัยการสูงสุดก่อนฟ้อง

ฎีกาที่ 7286/2540, 5806/2530 โจทก์ฟ้องเกิน 72 ชั่วโมง เพียงเล็กน้อย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ต้องฟ้องภายใน 72 ชั่วโมงนับแต่เวลาถูกจับโดยมิได้นำข้อยกเว้นที่กฎหมายบัญญัติมิให้นับเวลาเดินทางตามปกติที่นำตัวผู้ต้องหาจากที่จับมาที่ทำการพนักงานสอบสวน จึงไม่เป็นการถูกต้อง แต่คดียังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าฟ้องของโจทก์เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมายหรือไม่ ให้ศาลยกคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นไต่สวนข้อเท็จจริงว่าโจทก์ปฏิบัติตามวิธีพิจารณาอาญาในศาลแขวงหรือไม่

        **มาตรา 7 ทวิ ในกรณีที่ผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมหรือการขัง มิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเข้าในกำหนด ตามมาตรา 7 (32 วัน)

กรณีมีการส่งตัวผู้ต้องหาไปดำเนินคดียังศาลทหารหรือศาลเด็ก หากปรากฏในภายหลังว่าผู้ต้องหาไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลและมีการส่งตัวผู้ต้องหามายังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมหรือขังอยู่เข้าในกำหนดตามมาตรา 7 (32 วัน)

ข้อสังเกต

  • การควบคุม = อยู่ในความควบคุมของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
  • การขัง = ขังโดยอำนาจศาล อาจเป็นพนักงานสอบสวนหรืออัยการมาขอให้ศาลออกหมายขัง (ฝากขัง)
  • กรณีที่ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องและฝากขังแล้ว ต่อมาผู้ต้องหาหลบหนีก็ใช้หลักเดียวกันคือไม่นับระยะเวลาที่ผู้ต้องหาหลบหนีรวมเข้าไปด้วย
  • ระหว่างที่ผู้ต้องหาหลบหนี กฎหมายไม่ให้นับระยะเวลาที่หลบหนี ฉะนั้นจึงไม่ต้องมาขอผัดฟ้อง เว้นแต่เป็นกรณีผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว จะต้องมาขอผัดฟ้องจนกว่าจะครบ 5 คราว ถ้าครบแล้วยังไม่ได้ตัวมาเวลาจะฟ้องต้องไปขออนุญาตอัยการสูงสุดก่อนจึงจะฟ้องได้(เพราะการปล่อยตัวชั่วคราวแสดงได้ว่ามิได้ถูกควบคุมตัว เมื่อไม่ถูกควบคุมตัวก็ไม่เข้า มาตรา 7 ทวิ)

**มาตรา 8 ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงในการพิจารณาพิพากษาได้นั้น การควบคุมตัวผู้ต้องหาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา แต่อย่างไรก็ตามพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะควบคุมตัวไว้เกินเวลา 48 ชั่วโมงมิได้

ถ้าผู้ต้องหาอยู่ ในความควบคุมของฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ให้พนักงานสอบสวนหรืออัยการยื่นคำขอผัดฟ้องและขอให้ศาลออกหมายขัง แต่ถ้าผู้ต้องหาป่วยอยู่ในสภาพที่ไม่อาจนำมาศาลได้ ให้ขออนุญาตศาลรวมมาในคำขอให้ศาลออกหมายขัง โดยมีพยานหลักฐานประกอบจนศาลพอใจในสาเหตุที่ไม่สามารถนำตัวมาได้ ในกรณีศาลสั่งให้ผัดฟ้องได้ ให้ศาลออกหมายขังเท่ากับเวลาที่อนุญาตให้ผัดฟ้อง

มาตรานี้ ไม่กระทบกระทั่งอำนาจศาลที่จะสั่งปล่อยตัวชั่วคราว

  • การขออำนาจศาลขังตามมาตรา 8 นี้อาศัยมาตรา 87 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย

            มาตรา 87 ห้ามมิให้ควบคุมผู้ถูกจับไว้เกินกว่าจำเป็นตามพฤติการณ์แห่งคดี

ในกรณีซึ่งเป็นความผิดลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษจะควบคุมผู้ถูกจับไว้ได้เท่าเวลาที่จะถามคำให้การและที่จะรู้ตัวว่าเป็นใครและที่อยู่ของเขาอยู่ที่ไหน(แสดงว่าความผิดลหุโทษจะควบคุมตัวไว้ 48 ชั่วโมงไม่ได้)

ฎีกาที่ 2144/2539 พนักงานตำรวจจับจำเลยได้ 28 พฤศจิกายน 2537 และพนักงานสอบสวนอนุญาตให้จำเลยประกันตัวภายในวันเดียวกัน ต่อมาอัยการขอผัดฟ้องโดยไม่ได้ตัวจำเลยส่งศาลในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 แม้ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องได้ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้นำตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลแล้วเพราะไม่มีการส่งมอบตัวจำเลยต่อศาล เมื่อโจทก์ไม่นำตัวจำเลยมาศาลคดีจึงขาดอายุความ

(การผัดฟ้องโดยไม่ได้นำตัวจำเลยมาศาล โดยไม่ได้ขอให้ศาลขังไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง, สะดุดหยุดอยู่)

 


**มาตรา 9 ห้ามมิให้อัยการ ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลา 32 วัน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก

 


48 ชั่วโมง อัยการสูงสุด

ข้อสังเกต

  • มาตรา 9 ห้ามเฉพาะอัยการถ้าผู้เสียหายฟ้องเองจะไม่อยู่ในบังคับมาตรา 7, มาตรา 9 เช่นคดีเช็ค

ฎีกาที่ 133/2506, 661/2503, 1572/2513 อำนาจของอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 เป็นอำนาจในการพิจารณาเป็นราย ๆ ไปว่าสมควรจะอนุญาตให้ฟ้องคดีนั้น ๆ หรือไม่ มาตรา 8 มุ่งการควบคุมตัวผู้ต้องหาเป็นสาระสำคัญ ส่วนกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นฟ้องหรือผัดฟ้องย่อมเป็นไปตามมาตรา 7 อำนาจของอัยการสูงสุดตามมาตรา 9 หาได้ถูกลบล้างแต่ประการใดไม่

ฎีกาที่ 1840/2526 โจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องจำเลยได้แต่ไม่ฟ้องในระยะเวลาที่ขอผัดฟ้องไว้ต่อมาได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด (อสส.) ให้ฟ้องได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

ฎีกาที่ 2653/2520 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อพ้นระยะเวลาที่ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องโดยโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

*****ข้อสังเกตเกี่ยวกับมาตรา 7, 8, 9*****

    1. “ความจำเป็น” ตามมาตรา 7 ต้องเป็นความจำเป็นในทางคดี จะอ้างว่ารอส่งสำนวน, รอฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาจึงมาขอผัดฟ้องไม่ได้
    2. นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยย่อมไม่มีการจับกุม ก็ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 7 แม้จะพ้นเวลาตามมาตรา 7 ก็ไม่ต้องขออัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดี ฎีกาที่ 1319/2522
    3. หากไม่มีการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหาจุดเริ่มนับ 48 ชั่วโมงนับแต่ถูกจับย่อมไม่มี จึงไม่ต้องขอผัดฟ้อง ฎีกาที่ 1849/2522
    4. กรณีพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาครั้งแรกเกินอำนาจศาลแขวงแล้ว ต่อมาแจ้งข้อหาใหม่ซึ่งอยู่ในอำนาจศาลแขวง ถือว่าผู้ต้องหาถูกจับในข้อหาแห่งคดีที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงตั้งแต่วันแจ้งข้อหาใหม่
    5. กรณีถูกจับหลายข้อหาพร้อมกัน มีข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงและข้อหาที่ไม่อยู่ในอำนาจ อัยการสั่งไม่ฟ้องในข้อหาที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลแขวงพนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาเมื่อพ้น 48 ชั่วโมงนับแต่ถูกจับครั้งแรก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แสดงว่าถือว่ามีการจับกุมทุก ๆ คดีรวมทั้งคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงแล้ว ฎีกาที่ 2985/2522, 3314/2522
    6. ถ้ามีหลายข้อหา ข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงนำไปฟ้องต่อศาลจังหวัดพร้อมกับข้อหาที่หนักกว่าได้ ข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงไม่ต้องมาขอผัดฟ้อง ฎีกาที่ 3042/2532 (ป), ฎีกาที่ 1978/2542
    7. โจทก์ฟ้องคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นซึ่งมิใช่ศาลแขวง โดยขอให้ลงโทษในข้อหาเกินอำนาจศาลแขวง ไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 7
    8. คดีที่มีการจับกุมและผัดฟ้องแล้ว หากโจทก์ไม่ฟ้องภายในเวลาหรือคดีที่จับแล้วไม่ขอผัดฟ้อง อัยการสูงสุดย่อมอนุญาตให้ฟ้องได้ ฎีกาที่ 1572/2513, ฎีกาที่ 1840/2526
    9. กรณีถูกควบคุมตัวที่ศาลเด็กมาก่อนจะนำมาฝากขังที่ศาลแขวงจะไม่นับเวลาที่ถูกควบคุมตัวที่ศาลเด็ก
    10. คำสั่งให้ฟ้องคดีของอัยการที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดตามมาตรา 12 ไม่อยู่ในบังคับ มาตรา 7 และ 9 ฎีกาที่ 661/2503
    11. ทหารทำผิดร่วมกับพลเรือนพนักงานสอบสวนไม่ได้นำตัวทหารมาเพราะถูกฝ่ายทหารควบคุมตัวอยู่ แต่ก็ต้องขอผัดฟ้อง
    12. ฟ้องคดีอาญาต่อศาลพลเรือน ศาลรับฟ้องแล้วต่อมาปรากฏว่าเป็นทหาร ศาลพลเรือนก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้ ฎีกาที่463/2504 (ป)
    13. กรณีอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหลบหนี หากไม่ฟ้องภายในกำหนดมาตรา 7 ก็ต้องขออนุญาตอัยการสูงสุดฟ้อง
    14. การขอผัดฟ้องจะเกิดขึ้นได้เฉพาะคดีที่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธเท่านั้น (เพราะถ้ารับสารภาพต้องฟ้องตามมาตรา 20)

        *มาตรา 12 คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง กรณีมีคำสั่งไม่ฟ้อง และคำสั่งนั้นไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด ถ้าในกรุงเทพฯ ให้ส่งสำนวนสอบสวนพร้อมคำสั่งเสนอ ผบ.ตร. ถ้าในต่างจังหวัดให้ส่งให้ผู้ว่าฯ แต่ทั้งนี้มิได้ตัดอำนาจอัยการที่จะปล่อยผู้ต้องหา ปล่อยชั่วคราว ควบคุมไว้ ขอให้ศาลขังและจัดการหรือสั่งการให้เป็นไปตามนั้น

กรณี ผบ.ตร., รอง, ผช. ในกรุงเทพ, ผู้ว่าฯ ในจังหวัดอื่น แย้งคำสั่งของอัยการ ให้ส่งสำนวนพร้อมความเห็นแย้งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาด แต่ถ้าคดีจะขาดอายุความหรือมีเหตุอย่างอื่นอันจำเป็นจะต้องรีบฟ้องให้ฟ้องไปตามความเห็น ผบ.ตร., รอง, ผช., ผู้ว่าฯ ไปก่อน

 

ข้อสังเกต

  • มาตรานี้จะคล้าย ป.วิ.อ. มาตรา 145
  • คำชี้ขาดของอัยการสูงสุดตามมาตรานี้ถือเป็นที่สุด (ฎีกาที่ 3278/2528)
  • อัยการสูงสุดไม่มีอำนาจชี้ขาดกลับคำสั่งของตนได้อีก (ฎีกาที่ 2040-42/252)

*มาตรา 19 คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา อัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้

การฟ้องด้วยวาจา ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ ชื่อที่อยู่ สัญชาติจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้ทำผิดข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องพอควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี

จำเลยจะให้การด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้

กรณีฟ้อง, ให้การด้วยวาจาให้ศาลจดบันทึกไว้และให้คู่ความลงชื่อไว้

คำเบิกความ ให้ศาลบันทึกสาระสำคัญโดยย่อและให้พยานลงชื่อไว้

ข้อสังเกต

  • การฟ้องเป็นหนังสือต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158
  • ในทางปฏิบัติผู้เสียหายฟ้องต้องฟ้องเป็นหนังสือ
  • มาตรา 19 นี้ไม่ใช้บังคับในคดีแพ่ง

ฎีกาที่ 1877/2515 บันทึกหลักการฟ้องคดีด้วยวาจาเป็นหลักฐานแห่งคำฟ้องด้วยวาจา

ของโจทก์ด้วยส่วนหนึ่ง

ฎีกาที่ 442/2505 ศาลได้บันทึกคำฟ้องรับสารภาพและทำคำพิพากษาไว้ในบันทึกฉบับเดียวกัน บันทึกของศาลนี้ไม่เป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 วรรคสอง

ฎีกาที่ 2271/2530 การฟ้องคดีด้วยวาจาอัยการจะต้องมาศาลด้วยทุกครั้ง ถ้าไม่มายังถือไม่ได้ว่า โจทก์มาฟ้องจำเลยด้วยวาจาต่อศาล (มาตอนที่ศาลออกนั่งพิจารณา ส่วนก่อนศาลออกนั่งพิจารณาให้เสมียนอัยการถือบันทึกการฟ้องด้วยวาจามาศาลได้)

ฎีกาที่ 1121/2502, 321/2515, 2129/2532 การฟ้องคดีด้วยวาจา กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้เคร่งครัดเหมือนฟ้องด้วยลายลักษณ์อักษรแต่ต้องมีรายละเอียดพอสมควร ให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ก็เป็นการเพียงพอแล้ว

(มีฎีกาที่ 2466/2519, 727/2525, 1437/2525, 2404/2533, 3213/2526 วินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน)

ฎีกาที่ 2543/2533 ในการฟ้องด้วยวาจา ให้ศาลบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่

       **มาตรา 20 คดีที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ตลอดข้อหาต่อพนักงานสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนนำผู้ต้องหามายังอัยการเพื่อฟ้องศาล โดยมิต้องทำการสอบสวนและให้ฟ้องด้วยวาจา ให้ศาลถามว่าจะให้การอย่างใด และถ้าให้การรับสารภาพ ให้ศาลบันทึกคำฟ้องคำรับสารภาพและทำคำพิพากษาในบันทึกฉบับเดียวกันแล้วให้โจทก์จำเลยลงชื่อในบันทึก ถ้าผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ ให้ศาลสั่งให้อัยการรับตัวคืนเพื่อดำเนินการต่อไป

ข้อสังเกต

  • ถ้าให้การภาคเสธไม่ถือว่าเป็นการรับสารภาพตลอดข้อหา

ฎีกาที่ 6522/2541 ก่อนศาลจะถามคำให้การจำเลย ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.อ.ด้วย เช่นถามเรื่องทนายตามมาตรา 173 ถ้าไม่ปฏิบัติถือว่าการพิจารณาไม่ชอบ

มาตรา 21 ให้ศาลแขวงดำเนินการพิจารณาโดยเร็ว คำสั่งหรือคำพิพากษาจะทำด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้บันทึกไว้พอได้ใจความ

       **มาตรา 22 ในคดีอาญาห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริง เว้น แต่กรณีต่อไปนี้ ให้จำเลยอุทธรณ์ได้

    1. ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก, กักแทนจำ
    2. ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่รอการลงโทษ
    3. ต้องคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษ
    4. ต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกิน 1,000 บาท

ข้อสังเกต

  • มาตรา 22 ใช้บังคับในคดีอาญาเท่านั้น
  • ในคดีแพ่งถ้าจะอุทธรณ์ฎีกาต้องไปดู ป.วิ.พ. มาตรา 224
  • ถ้าเป็นแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา การอุทธรณ์เฉพาะในส่วนแพ่งจะนำมาตรา 22 มาใช้ไม่ได้ต้องใช้ ป.วิ.พ.
  • ห้ามเฉพาะปัญหาข้อเท็จจริง
  • ตาม (1) ดูโทษจำคุก, โทษกักขัง ดูจากโทษสุทธิเป็นหลัก (ดูว่าศาลลงโทษเท่าไร)
  • ตาม (2) รอ = ยังไม่ได้จำคุกจริง ๆ
  • ตาม (4) ปรับเกิน 1,000 บาทถึงจะอุทธรณ์ได้ แต่ถ้า 1,000 บาทพอดี, ต่ำกว่า ห้ามอุทธรณ์
  • ปัญหาข้อเท็จจริง = วินิจฉัยพฤติการณ์, ดุลพินิจศาล
  • มาตรา 22 ใช้บังคับในชั้นไต่สวนมูลฟ้องด้วย (ฎีกาที่ 1556/2504)

        มาตรา 22 ทวิ คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา, ลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้ง พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และอนุญาตให้อุทธรณ์หรืออัยการสูงสุดหรืออัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป

 

ขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบครับ ผู้รวบรวม....นายพิพัฒน์ กิจเสถียรพงษ์ นิติศาสตรบัณฑิต, เนติบัณฑิตไทย