Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 1-245

ให้ดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 32, 236-243 เพิ่มเติมด้วย

  1. ผู้เสียหาย (ม 2(4) ประกอบต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยด้วย (ไม่ร่วม ไม่ยอม ไม่ก่อ)
  2. -ผู้เสียหายยังไม่ตาย 2(4),3,4,5,6,28 (สามีภรรรยาต้องชอบด้วยกฎหมายนอกนั้นถือตามความเป็นจริง)

    -ผู้เสียหายตาย (1) ยังไม่ได้ฟ้อง 5(2) ปอ.333 นอกจากนี้เป็นผู้เสียหายไม่ได้

        (2) ฟ้องแล้วตายลง 29 (ผู้เสียหาย หมายถึงผู้เสียหายที่แท้จริงตายลง ไม่มีกำหนดเวลา)

        (3) ตายลงในระหว่างอุทธรณ์, ฎีกา ศาลพิจารณาต่อไปได้แม้ไม่มีผู้ดำเนินการต่อ

    -ฎ.7957/42 ลูกหนี้แจ้งความเท็จโฉนดหาย เจ้าหนี้ที่รับโฉนดไว้เป็นประกันไม่ใช่ผู้เสียหาย

    -ฎ.30/43 ดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ผู้เสียหายมีส่วนผิด ถือว่าไม่เป็นผู้เสียหายในเช็คทั้งฉบับ ไม่มีอำนาจฟ้องร้องทุกข์ การสอบสวนไม่ชอบ อัยการไม่มีสิทธิฟ้อง ยกฟ้อง)

    -ความผิดบางฐานรัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย เช่น พรบ. จราจร, อาวุธปืน, ปอ. 147, 158, 199

    -ม 6 ผู้เสียหายหรือผู้แทนเฉพาะคดีตายลงในระหว่างที่ศาลยังไม่ตั้งเป็นผู้แทนฯ ศ.จะยกคำร้อง

    -ผู้เยาว์ฟ้องคดีเองไม่ได้ ระวังคดีอุทลุมด้วย

  3. คำร้องทุกข์ (ม 2(7),39(2),120 ถึง 126) โดยผู้เสียหายเท่านั้น และต้องมีเจตนาเอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษ
  4. -คดีความผิดต่อส่วนตัว ถ้าไม่มีการร้องทุกข์ หรือร้องทุกข์ไม่ชอบเพราะเป็นผู้เสียหายไม่ได้ จะไม่มีอำนาจสอบสวน อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง

    -ฎ.3655/2543 ความผิดต่อส่วนตัว ร้องทุกข์ไม่ชอบ แต่ได้มีการฟ้องคดีภายใน 3 เดือน ชอบแล้ว

    -ร้องทุกข์ด้วยวาจาก็ได้ ทั่วราชอาณาจักร ถ้าร้อง พสส. ใช้ 123 ถ้าร้องทุกข์ต่อ ตร.ทั่วไป ใช้ 124

    -คำร้องทุกข์ในคดีอาญาแผ่นดิน ก็ถอนคำร้องทุกข์ได้ แต่ไม่ตัดสิทธิอัยการฟ้อง

    -คำร้องทุกข์ในคดีอาญาต่อส่วนตัว ถ้าถอนเป็น 39(2) ทั้งผู้เสียหายและอัยการ

    -คำร้องทุกข์ถอนกับใครก็ได้ ถ้าผู้เสียหายถอนกับอัยการ ผู้เสียหายไม่ต้องไปศาล

  5. ผู้ต้องหาหรือจำเลยวิกลจริต (ม 14 จะใช้ต่อเมื่อ 1.วิกลจริตและ 2. ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ต้องครบ 1,2)
  6. -65/42 เขียนชื่อสวย ถูกต้อง เรียบร้อย หรือตอบคำถามได้ ถือว่าไม่วิกลจริต เป็นแค่โรคจิต

    -2594/42 คู่ความขอไต่สวน ศ.ต้นไม่ไต่ ศ.สูงยกย้อนตาม 208(2) ให้ศ.ต้นไต่

  7. อำนาจของพนักงานสอบสวน (18,19,20,21,22) (เวลาตอบข้อสอบให้ตอบ 2 ประเด็น 1. ใครบ้างที่เป็นพนักงานสอบสวนทั่วไป 2. ใครที่เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ)
  8. -ในราชอาณาจักร แต่เป็นความผิดที่สำเร็จทันที ก็ใช้ 18

    -ในราชอาณาจักร แต่เป็นความผิดหลายท้องที่ใช้ ม 19 เน้น 19(3) ความผิดต่อเนื่อง กรณีเข้า 19(3) มีอยู่ 5 กรณี 1. เช็คที่มีการสอบสวน 2. เรียกค่าไถ่ 3. รับของโจร 4. พาไปเพื่ออนาจาร 5. ล่อซื้อยาบ้าแล้วพาไปจับ (1259/42) และตาม 19 ว2 (ก) (ข) เข้า ( ) ไหนก่อน คนนั้นเป็นพสส. ผู้รับผิดชอบ (1204/42)

    -นอกราชอาณาจักร อัยการสูงสุด หรือผู้ที่รักษาการแทน เป็นผู้รับผิดชอบ ระหว่างรอใช้ 20 ว2

  9. เขตอำนาจศาล (22, 24) (22 ว1 บังคับศาล ห้ามศาลใช้ดุลพินิจ 22(1) ศาลใช้ดุลพินิจไม่รับฟ้องได้)
  10. -จำเลยถูกจำคุกในเรือนจำ จะเป็นที่อยู่ของจำเลยต่อเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว

    -จำเลยถูกจับในคดีอื่น ถูกอายัดตัวมาในคดีนี้ ท้องที่ที่อายัดตัว ไม่ใช่ที่ถูกจับจริง ถือว่าไม่มีการจับ

    -คดีเช็ค (1) ราษฎรฟ้องสถานที่ความผิดเกิดมีที่เดียวคือที่ปฏิเสธการจ่าย ไม่รวมการโอนเช็ค

    -อัยการฟ้องสถานที่ความผิดเกิดมี 2 ที่ คือที่ปฏิเสธการจ่ายกับที่ออกเช็ค

  11. โจทก์ร่วม (30 ราษฎรต้องขอร่วมก่อนศ.ต้นพิพาทษา), (31 อัยการต้องขอร่วมก่อนศ.พิพากษาถึงที่สุด)

-ราษฎรขอร่วมกับราษฎรไม่ได้ ไม่นำปวพ.57 มาใช้ แต่แยกกันฟ้องได้

-ต้องเป็นผู้เสียหายทั้งพฤตินัยและนิตินัยจึงขอเข้าร่วมตาม 30 ได้ (ระวังความผิดที่รัฐเท่านั้นเสียหาย)

-ม 30 ผู้เสียหายขอตาม 30 แล้วมาฟ้องคดีเองอีก เป็นฟ้องซ้อน

-6290/01 คำร้องขอตาม 30 ทนายลงชื่อได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นคำฟ้อง

-892/14 ถอนคำร้อง 30 ถือว่ามีผลเท่ากับเป็นการถอนคำฟ้องต้องใช้ 35

-ศ.ต้องมีคำสั่งอนุญาตตาม 30 แล้ว จึงเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ แต่อาจมีการอนุญาตโดยปริยาย

-ผู้เยาว์ขอ 30 ไม่ได้ เพราะฟ้องคดีเองไม่ได้

-โจทก์ร่วม 30 ไม่มีอำนาจแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนอกเหนือของอัยการตาม 32 แต่ระบุพยานเพิ่มเติมได้

-แพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่คดีอยู่ในอำนาจศ.แขวงถ้าทุนทรัพย์ เกิน 300,000 อัยการฟ้องได้ แต่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจถือเอาคำขอส่วนแพ่งของอัยการเป็นของตนได้เลย

-ม 166 อัยการไม่มา โจทก์ร่วมมา ไม่เป็นขาดนัด

-เข้าเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาใด อุทธรณ์ก็ได้เฉพาะในข้อหานั้น และถ้าไม่อุทธรณ์จะใช้สิทธิ์ฎีกาไม่ได้

-ศ. 12 อนุญาตแล้วต่อมา ศ.ไม่อนุญาต กระบวนพิจารณาที่ทำมาก็ยังชอบอยู่

-สิทธิ์ของผู้เสียหายระงับเพราะถูกยกฟ้องตาม 166 ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้

ถ้าเป็นความผิดต่อส่วนตัวคดีอัยการก็จะระงับไปด้วย

-4976/41 คดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์ร่วมขอถอนฟ้อง ถือว่าเป็นการขอถอนคำร้องทุกข์ สิทธิ์นำคดีอาญามาฟ้องระงับไปทั้งหมด

7. การถอนฟ้อง ยอมความ (35 ว1 คดีอาญาแผ่นดิน ว2 คดีต่อส่วนตัว, 36ผล)

-คดีอาญาแผ่นดินขอถอนฟ้องหลังพิพากษาไม่ได้ เป็นการถอนอุทธรณ์หรือฎีกา คำพิพากษาศ.ต้นยังอยู่

-คดีความผิดต่อส่วนตัวแม้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ยังฎีกาปัญหาข้อกฎหมายได้ จึงสามารถถอนฟ้องในระหว่างฎีกาได้

-คร.418/40 ศ.จำหน่ายคดีชั่วคราวเพราะจำเลยหลบหนี คดียังไม่ถึงที่สุด ถอนฟ้องได้

-……/… ความผิดต่อส่วนตัวศ.ต้นไม่รับฎีกา ระหว่างอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา แม้เลยเวลาฎีกาแล้วก็ยังถอนฟ้องได้

-ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ ถอนฟ้องเป็นดุลพินิจ ศ. แต่ถ้าจำเลยให้การแล้วและคัดค้าน ศ.ต้องยกเท่านั้น

-ยังไม่ไต่สวนมูลฟ้องแต่ขอถอนฟ้อง ย่อมนำมาฟ้องใหม่ไม่ได้

-ถอนฟ้องขอเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการได้ ไม่เป็นถอนฟ้อง แต่ต้องขอร่วมในเวลาที่สมควร

ผู้เสียหายคนหนึ่งถอนฟ้อง ตัดสิทธิ์ผู้ทำการแทนตนทั้งหมด แต่ไม่ตัดสิทธิ์ผู้เสียหายอื่น

  1. สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ (39)

-เมื่อเป็น 39 ศ.ต้องจำหน่ายคดี และถ้าจำหน่ายชั้นอุทธรณ์,ฎีกา มีผลทำให้คำพิพากษาศ.ล่างระงับ

ไปในตัว และถ้าเป็นคดีที่อัยการเป็นโจทก์ คำขอส่วนแพ่งย่อมตกไปด้วย

ถ้าเป็นคดีที่ราษฎรเท่านั้นเป็นโจทก์ คำขอส่วนแพ่งยังอาจผูกพันตาม ปวิพ. มาตรา 42

-การถอนคำร้องทุกข์ ยอมความ ทำโดยมีเงื่อนไขได้ โดยเมื่อเงื่อนไขไม่สำเร็จ คดีอาญาไม่ระงับ

-การตกลงไปถอนคำร้องทุกข์ แม้ยังไม่ถอนก็เป็นการยอมความแล้ว

-สิทธิ์ในการร้องทุกข์ตกทอดแก่ทายาท ทายาทถอนได้

-สิทธิ์ในการถอนคำร้องทุกข์ตกทอดแก่ทายาท

-คำร้องทุกข์ถอนต่อใคร และเมื่อใดก็ได้ ก่อนคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าอัยการถอนศ.จะไม่ถามผู้เสียหาย

-การทำสัญญาจะไม่ดำเนินคดีมีผลเป็นการยอมความ การถอนฟ้องโดยมีเงื่อนไขทำไม่ได้ แต่อาจเป็นการยอมความโดยมีเงื่อนไข

-การถอนการร้องทุกข์ โดยยังไม่มีการร้องทุกข์เป็นการยอมความ

-การถอนฟ้องที่ศาลยังไม่ได้สั่งเท่ากับเป็นการยอมความกันแล้ว

-สัญญาประนีประนอมที่ให้ยอมเฉพาะในส่วนแพ่ง ไม่ยอมทางอาญา เป็นโมฆะ ถือว่าขัดกฎหมาย

-39(4) ฟ้องซ้ำ หมายถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น

-คดีอาญาเรื่องเดียวกัน ผู้เสียหายและอัยการต่างก็ฟ้อง คดีใดได้มีคำพิพากษาก่อนอีกคดีก็ระงับไปด้วยแม้จะยื่นฟ้องก่อนก็ตาม

-ความผิดกรรมเดียวมีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้อง และระงับตาม 39(4)ผู้เสียหายคนอื่นฟ้องอีกไม่ได้

-คดีที่ถือว่าเป็นอีกกรรมหนึ่ง เช่นละเมิดอำนาจศาล พระราชบัญญัติ อาวุธปืน พรากผู้เยาว์ บุกรุกที่ 2 แปลง ทำร้ายคน 2 คน เมื่อฟ้องคนละกรรมก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

-การเป็นฟ้องซ้ำได้ศ.ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้ว 290/43 กรรมเดียวกันความผิดต่างฐานกันก็ซ้ำการยกฟ้องเพราะขาดองค์ประกอบ สถานที่ เวลา ไม่มีพยาน มาฟ้องใหม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่ถ้าเป็นเพราะฟ้องเคลื่อบคลุม ไม่มีอำนาจฟ้อง ไม่ใช่ผู้เสียหาย มาฟ้องใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

10. การสอบสวน 120-147 เน้น 120,121,126,134,135,140-147

-การสอบสวนที่ไม่ชอบ มีกรณีดังนี้เท่านั้น

-18,19 (แม้เพียงบางส่วนที่ไม่ชอบ การสอบสวนไม่ชอบทั้งหมด) แต่ถ้าร่วมสอบสวนกับคนที่ไม่มีอำนาจแต่มีคนที่มีอำนาจสอบสวนรวมอยู่ด้วยอย่างนี้การสอบสวนชอบแล้ว

-ความผิดส่วนตัวการร้องทุกข์ไม่ชอบ (ไม่ร้องทุกข์, ไม่เป็นผู้เสียหาย, คนรับร้องทุกข์ไม่มีอำนาจ)

-ไม่แจ้งข้อหาตาม 134 (ถ้าแจ้งข้อหาหลักก็ไม่ต้องแจ้งข้อหารอง) (การไม่เตือนไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ แต่อาจจะใช้ยันจำเลยไม่ได้) ใช้เฉพาะชั้นสอบสวนไม่ใช้ชั้นจับกุม

3426/2543 การแจ้งข้อหาไม่ต้องแจ้งทุกข้อหาแจ้งเพียงข้อหาหลักก็สอบสวนชอบแล้ว

2129/2537 แจ้ง ปอ ม 340 แต่ไม่ได้แจ้งข้อหา ปอ ม 357 ถือว่าสอบสวนไม่ชอบ อัยการไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลใช้ ปวิอ ม 192 ลงโทษได้ เพราะเป็นคนละส่วนกัน

-การสอบสวนต้องสอบคำให้การจำเลยไว้ในฐานะผู้ต้องหา อย่างน้อย 1 ปาก (ถ้าสอบในฐานะพยานการสอบสวนไม่ชอบ)

3099/43 ชุด 3 หน้า 5 การค้นการจับไม่ชอบเป็นคนละขั้นตอนกับการสอบสวนไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ

-นายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์

-135 การชักจูงขู่เข็ญผู้ต้องหาไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ แต่คำให้การรับฟ้องไม่ได้

-136 เป็นการจับของ พสส.โดยไม่ต้องมีหมาย

  1. สืบพยานเด็ก
  2. - ชั้นร้องทุกข์ (124 ว ท้าย)(ให้นำ 133ทวิ มาใช้)

    - ชั้นสอบสวน ผู้เสียหาย,พยาน (133ทวิ, 133ตรี)

    ผู้ต้องหา (134 ทวิ, 134ตรี (ให้นำ 133 ทวิมาใช้)

    - ชั้นพิจารณา (1) ชั้นชันสูตรพลิกศพ 151 ว 2 (ให้นำ 172ตรีมาใช้)

    (2) ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง 171 ว 2 (ให้นำ 172ตรี 133ทวิ มาใช้)

    (1) ชั้นพิจารณา ในศาล 172 ตรี นอกศาลใช้ 172 จัตวา

    (2) ชั้นสืบพยานก่อนฟ้อง 237 ทวิ ว ท้าย(ให้นำ 172 ตรี มาใช้)

    ข้อสังเกต 133 ทวิมีส่วนสำคัญอยู่ 3 ประการ 1.สถานที่ 2.บุคคลที่เพิ่ม 3.การบันทึกภาพและเสียง

  3. การชันสูตรพลิกศพ 129,148,150,155 (4237/39 จะนำ ปวิพ ม 101 มาใช้ในการชันสูตรไม่ได้ใช้ ปวิอ ม 150)
  4. -ชันสูตร ไม่เสร็จอัยการฟ้องไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีชันสูตรฟ้องได้ แม้ชันสูตรไม่ชอบก็ฟ้องได้ ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป (ผู้เสียหายฟ้องเอง ชันสูตรไม่เสร็จก็ฟ้องได้)

    -150 ว3 อัยการต้องไปชันสูตรต่อเมื่อเป็นความตายที่เกิดขึ้น โดยการกระทำของเจ้าพนักงานเท่านั้น การตายโดยผิดธรรมชาติ แม้ต้องมีการชันสูตรอัยการก็ไม่ต้องเข้าร่วม

    -155 นำบทบัญญัติของการสอบสวนมาใช้ในการชันสูตรด้วย (อัยการมีอำนาจสอบสวนเพิ่มเติมได้)

  5. คำฟ้อง 158(5),(6),(7),161 ข้อสอบอัยการมักให้คำฟ้องมาแล้วถามว่าเคลือบคลุมหรือไม่ (ท่อง ปอ)
  6. การไต่สวนมูลฟ้อง 162,165,167,170,171
  7. -การฟ้องคดีของอัยการ ในศาลแขวงถ้าจำเลยรับสารภาพไม่ต้องสอบสวนก็ฟ้องได้ตาม ม 20 วิแขวง

    -การฟ้องคดีของอัยการ ถ้าจำเลยยังไม่อยู่ในอำนาจของศาล หรือ มีการขอให้ปล่อยโดยอัยการ หรือศาลสั่งครบกำหนดแล้ว หรือศาลสั่งขังในคดีอื่นแล้วหลบหนีไป อัยการมาฟ้องจะต้องมีตัวจำเลย อ้าง ม 165

    -คดีที่อัยการเป็นโจทก์โดยหลักจะไม่ไต่สวนมูลฟ้อง แต่ศาลอาจให้ไต่สวนมูลฟ้องก็ได้ และการไต่สวนมูลฟ้องต้องทำต่อหน้าจำเลย และศาลจะถามคำให้การจำเลย และถือว่าเป็นจำเลยแล้วและจำเลยห้ามนำพยานมาสืบ

    -คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ถ้าจำเลยรับสารภาพศาลจะประทับรับฟ้องเลย (162 ว ท้าย)

    -คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ศาลมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำเลย, ห้ามศาลถามคำให้การจำเลย, ห้ามจำเลยนำพยานเข้าสืบแต่ส่งเอกสารถามค้านพยานโจทก์ได้, ออกหมายขังจำเลยระหว่างการไต่สวนยัง

    ไม่ได้, และจำเลยยังไม่อยู่ในฐานะเป็นจำเลย (จำเลยไม่สามารถอุทธรณ์ ฎีกาในส่วนอาญาได้ แต่ส่วนแพ่งได้)

    -คำสั่งว่าคดีมีมูลไม่ว่าของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ เป็นเด็ดขาด แต่ถ้าฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือคดีนั้นต้องห้ามอุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยแล้วสั่งว่าคดีมีมูล อย่างนี้ฎีกาได้เพราะถือว่าขัดต่อกฎหมาย

    -แต่แม้ศาลสั่งคดีไม่มีมูลการอุทธรณ์ก็ต้องพิจารณาตาม 193 ทวิ ด้วย ถ้าไม่มีมูลทั้ง 2 ศาลก็ห้ามฎีกาตาม 220

    ฎ.2272/41 ชุด 3 หน้า 20 ศาลจะยกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่นัดไต่สวนเลยก็ได้

  8. การแก้ฟ้องแก้คำให้การ 163,164 (6210/41 ชุด5 หน้า 14 จำเลยรับสารภาพหรือปฏิเสธลอยถือว่าไม่หลงต่อสู้)
  9. โจทก์ร่วมจะแก้ฟ้องอัยการไม่ได้และ 163,164 ไม่ใช้กับการแก้อุทธรณ์ ฎีกาต้องแก้ก่อนครบอุทธรณ์ฎีกา

  10. การขาดนัดชั้นไต่สวนมูลฟ้อง 166 ชั้นพิจารณาใช้ ม. 166 ประกอบ 181
  11. -โจทก์หมายถึงทนาย, เสมียนทนายด้วย และในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ โจทก์หมายยถึงโจทก์ร่วม

    -ต้องเป็นนัดสืบพยาน โจทก์ทุกนัดและโจทก์ต้องทราบนัด โดยชอบแล้วและต้องได้ตัวจำเลยมาแล้วด้วย

    -โจทก์ไม่มา จำเลยก็ไม่มา ก็ถือว่าขาดนัดต้องยกฟ้องโจทก์

    -นัดสืบพยานโจทก์ไม่ว่านัดไหนแม้โจทก์สืบพยานมาพอลงโทษแล้วก็ตาม ถ้าโจทก์ไม่มา ยกฟ้อง

    -โจทก์ไม่มาแต่ศาลงดสืบพยาน ยกฟ้องตาม 185 โจทก์ขอพิจารณาใหม่ตาม 166 ว 2 ได้

    -เสมียนทนายมาแต่ศาลยกฟ้องเพราะ 185 โจทก์ขอพิจารณาใหม่ไม่ได้ไม่ใช่เรื่อง 166

    -โจทก์ไม่มา ศาลสั่งผิดแทนที่จะสั่งยกฟ้องไปสั่งจำหน่ายคดีเลยทำให้โจทก์ฟ้องใหม่ได้

    -166 ว2 15 วันนับแต่วันที่ศาลยกฟ้องเว้นแต่กรณีโจทก์ไม่ทราบนัดเลย 15 วันจะไม่นำมาใช้ (794/40)

    -อุทธรณ์ในเรื่องขอให้พิจารณาใหม่โดยยังไม่ได้ขอ 166 ว2 ไม่ได้ เว้นแต่เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลสั่งไม่ชอบ

    -166 ว3 ฟ้องใหม่ไม่ได้แต่ไม่ใช่เรื่องฟ้องซ้ำ(ราษฎรถูกยกฟ้องตาม 166 แล้วจะไปขอเป็นโจทก์ร่วมไม่ได้)

    -ถ้าเป็นความผิดส่วนตัวราษฎรถูกยกฟ้อง จะตัดสิทธิคดีของอัยการทันทีถ้าฟ้องอยู่ศาลต้องยกฟ้อง

    -ฎีกาสำคัญ 1331/42 ชุด3 หน้า 6 ให้อ่านให้ละเอียดมี 3 ประเด็นใช้ ปวิพ มาตรา 64,27

    ฎ.5564/34 แม้โจทก์แลงว่านัดหน้าถ้าโจทก์ไม่มาไม่ติดใจสืบพยานโจทก์ ถ้านัดหน้าโจทก์ไม่มายกฟ้อง

    ยกฟ้องชอบด้วยกฎหมายทางแก้มีทางเดียวคือ 166 ว2, ถ้ายกฟ้องไม่ชอบมีทางแก้เพิ่มอีก 1 ทางคือ อุทธรณ์

  12. การพิจารณา 172, 172ทวิ, 174
  13. กรณีไม่ต้องต่อหน้าจำเลย 172ทวิ,59,165,172ตรี,176 ว2,180,182,230,237 ทวิ, ขั้นอุทธรณ์ ฎีกา, ละเมิดอำนาจศาล

  14. การตั้งทนาย 134ตรี,173,150 ว.7,237ทวิ ว.3 (ม 173 ว1 ใช้กับประหารชีวิตเท่านั้นไม่ใช้กับจำคุกตลอดชีวิต) 2020/42 คดีจำคุกก่อนพิจารณาต้องถามเรื่องทนาย ศ.ต้นไม่ถามกระบวนพิจารณาไม่ชอบยกย้อนตาม 208(2)
  15. คดีที่จำเลยรับสารภาพ 176 (มีกรณีเดียวที่รับสารภาพแล้วอุทธรณ์ได้คืออ้างว่าหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนัก) ม 193 ทวิ ไม่ดูส่วนลดดูตามฟ้องโจทก์, ม 176 ไม่ดูส่วนลด, แต่พระธรรมนูญ มาตรา 25 (5) ดูส่วนลด
  16. -ถ้าจำเลยรับสารภาพจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้แม้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบแต่ศาลยกเองได้

    -ขั้นต่ำเกิน 5 ปี แม้รับสารภาพก็ต้องสืบ

    -ฟ้องขาดองค์ประกอบความผิด, สถานที่, เวลา, ขัดกัน, ฟ้องเวลาในอนาคต รับสารภาพก็ต้องยกฟ้อง

    -ฟ้อง ปอ มาตรา 334 หรือ 357 จำเลยรับสารภาพ โจทก์ไม่สืบศาลต้องยกฟ้อง (แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ลงได้)

    -รับสารภาพแต่อ้างว่าป้องกันตัว อย่างนี้ถือว่าปฏิเสธ

    -รับสารภาพแต่อ้างว่าจำเป็นหรือบันดาลโทสะ อย่างนี้ถือว่ารับสารภาพแล้ว

    -มาตรา 176 ดูแยกกระทงความผิด และ 176 วรรค 2 แยกฟ้องต้องฟ้องข้อหาเดิมเท่านั้น

  17. คำพิพากษาและคำสั่ง 182,188,192 เน้น 192
  18. มาตรา 192 มีกรณีดังต่อไปนี้ตามฎีกาถือว่าแตกต่างในสาระสำคัญต้องยกฟ้อง

    -ฟ้องว่ากระทำต่อบุคคลหนึ่ง หรือทรัพย์ชิ้นหนึ่งฟังว่ากระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งต่อทรัพย์อีกชิ้นหนึ่ง(หรือฟ้องว่าหมิ่นประมาทต่อบุคคลหนึ่ง ฟังว่าหมิ่นประมาทต่ออีกบุคคลหนึ่ง)

    -ฟ้องว่าจ้างนาย ก ไปฆ่านาย ข แต่ฟังว่านาย ค ไปฆ่านาย ข

    -ฟ้องว่า ปอ มาตรา 288,297 ฟังว่า 294,299

    -ฟ้องว่า ปอ มาตรา 217,218 ฟังว่า 220

    -ฟ้องว่าบุกรุกโดยเข้าไปเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพยัฟังว่าเป็นการรบกวนการครอบครอง

    -ฎีกา 5211/40 ฟ้อง ป.ฮ 149,157 ทางพิจารณาฟังว่าเป็น 205 ต้องยกฟ้อง

    -ฎีกา 2254-6/42 โจทก์ฟ้องเช็คอาญา 3 คดี ต่อมาศาลให้รวม โจทก์ไม่ได้ขอให้นับโทษต่อ ศาลนับโทษต่อไม่ได้

    -ฎีกา 2160/43 ฟ้องฐานผลิตยาบ้า จะริบเงินไม่ได้เพราะไม่ได้ฟ้องฐานจำหน่าย

    -การบวกโทษที่รอไว้ไม่ขอ ศาลก็บวกให้ได้ไม่เกินคำขอ

    -คำฟ้องไม่ได้ขอริบ หรือไม่ได้ขอให้นับโทษต่อ ศาลจะริบหรือนับโทษต่อไม่ได้

    -…./….ฟ้องตัวการ ฟังว่าผู้ใช้ ถือว่าแตกต่างในข้อสาระสำคัญ แต่ลงฐานเป็นผู้สนับสนุนได้

    -…./…ฟ้องว่า ปอ มาตรา 289,80 ฟังว่า 138 จะลง 138 ไม่ได้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

  19. มาตรา 195 ที่เกี่ยวด้วยความสงบ (โจทก์ไม่ลงชื่อ, ขาดอายุความ, ฟ้องเคลือบคลุม, ไม่ใช่ผู้เสียหาย,ไม่มีอำนาจฟ้องและมาตรา 192,185,186(9)
  20. การอุทธรณ์, ฎีกา

-ข้อห้ามอุทธรณ์, ฎีกาข้อเท็จจริง 193ทวิ (217-220)

3946/42 ไม่นำ ป วิ พ 223 ทวิมาใช้คดีอาญาอ้างเหตุผลตาม ม 193 ต้องอุทธรณ์ตามลำดับชั้นศาล

-193 ทวิใช้กับเรื่องโทษเท่านั้น ถ้ามีการใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยจะอุทธรณ์ไม่ได้และ 193 ทวิห้ามอุทธรณ์ก็เฉพาะในเนื้อหาเท่านั้น การอุทธรณ์ในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณา, เรื่องงดสืบพยาน, เรื่องละเมิดอำนาจศาล, เรื่องขาดนัดมาตรา 166, เรื่องขอคืนของกลาง, เรื่องฟ้องผิดศาล เรื่องเหล่านี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

3154/43 กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทบทหนักไม่ต้องห้ามบทเบาก็ไม่ต้องห้าม

แต่ถ้าผิดหลายกรรมพิจารณาแยกกัน อย่างไรก็ตามแม้กรรมเบาต้องห้ามแต่ศาลฎีกาใช้ 185,213 ยกฟ้องได้

-ในส่วนของฎีกาถ้าฎีกาในข้อกฎหมายไม่ต้องใช้ 218,219 ไปดู 220 เลย แต่ 220 ไม่ใช้กับในเรื่องขอพิจารณาใหม่ 166, เรื่องขอคืนของกลาง, เรื่องละเมิดอำนาจศาล, เรื่อง 198 ทวิ, เรื่องต้องห้ามตาม 193 ทวิ ฎีกาได้

-ถ้าฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงให้ดูว่าเป็นเรื่องวิธีเพื่อความปลอดภัย (219ทวิ) หรือเป็นเรื่องกักขังและศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาหรือไม่ (219ตรี) ถ้าไม่ใช่ให้ดูว่าเรื่องแก้มากหรือแก้น้อย

(เรื่องริบถ้าคนนอกฎีกาไม่อยู่ภายใต้ 218-200 แต่ถ้าโจทก์ จำเลย ฎีกาเรื่องริบยังอยู่ภายใต้

218-220)

- ถ้าแก้มากให้ดูมาตรา 219

- ถ้าแก้น้อยหรือยืนตาม ให้ดูมาตรา 218

โดยหลักถ้าแก้จากรอเป็นไม่รอหรือจากไม่รอเป็นรอหรือแก้ทั้งบทและทั้งโทษเป็นแก้มาก ยกเว้น แก้ ม 75,76,78,83,86,90,91,93 แม้แก้โทษด้วยก็เป็นแก้น้อย (แก้ ม 65,72,80,81, ถ้าแก้โทษเป็นแก้มาก)

แก้ ม 276 จากไม่มีวรรคเป็น 276 ว 2 แม้แก้โทษด้วยเป็นแก้น้อย

แก้ ในเรื่องคืนใช้ราคาทรัพย์แม้แก้โทษด้วยก็เป็นแก้น้อย

แก้ในเรื่องส่งไปฝึกอบรมแม้แก้บทด้วยก็เป็นแก้น้อย

-ข้อห้ามอุทธรณ์, ฎีกาข้อกฎหมาย 195 (220)

-คำสั่งระหว่างพิจารณา 196 (ต่างจากคดีแพ่งคือ 1) ไม่ต้องโต้แย้ง 2) อุทธรณ์ต้องพร้อมคำพิพากษา

-การรับรองอุทธรณ์ ฎีกา 193 ตรี (221) ระวังรับรองข้อไหนประเด็นไหนก็อุทธรณ์ฎีกาได้เฉพาะประเด็นนั้น

ฎีกา 4524/41 ม 221 ไม่มี 219 ตรี แม้มีการรับรองมาก็ไม่ชอบต้องห้ามฎีกา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจลดโทษหรือรอการลงโทษได้

-การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์หรือฎีกา 198ทวิ (224)

ฎีกาน่าสนใจจะออกสอบหลายครั้งแล้ว 659/41 ชุด3 หน้า11 มี 2 ประเด็น เพิกถอนคำสั่งที่รับอุทธรณ์ฎีกาได้

-การอุทธรณ์,ฎีกา 193,199,202,208 (216) 4241/43 ถ้าฎีกาไม่มีข้อความโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แม้มีคำขอให้ยกฟ้องก็ไม่ชอบหรือไม่ไปโต้แย้งแต่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถือว่าฎีกาก็ไม่ชอบ

-215 ประกอบ 225 เอาการพิจารณาในศาลต้นมาใช้ 158,163,185,192

225 เอาการพิจารณาในศาลอุทธรณ์มาใช้ 193,195,212,213,199,203

  1. มาตรา 212
  2. -2983/43 โจทก์ไม่อุทธรณ์ให้บวกโทษ ศาลอุทธรณ์บวกไม่ได้ (ระวังอย่าสับสนกับศาลต้นไม่ขอบวกได้)

    -370/42, 6917/42 ชุด5 หน้า7 แม้ศาลต้นลงโทษต่ำกว่ากฎหมาย โจทก์ไม่อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์แก้โทษไม่ได้

    -การปรับบทหรือริบของกลางให้ถูกต้องแต่ไม่เพิ่มจำนวนของโทษไม่ถือว่าเป็นการเพิ่มเติมโทษ

    -โจทก์อุทธรณ์เฉพาะข้อหาไหน ศาลก็เพิ่มเติมโทษได้เฉพาะข้อหานั้น

  3. มาตรา 213
  4. -1054/43 แก้จากหลายกรรมเป็นกรรมเดียวเป็นเหตุในลักษณะคดี

    -แม้ต้องห้ามอุทธรณ์ ฎีกา แต่ถ้าคดีขึ้นไปถึงศาลอุทธรณ์ ฎีกาแล้ว ใช้ 185,213 ยกฟ้องได้

    -รวมคดีแล้วใช้ 213 ได้ แต่ถ้าแยกคดีแล้วใช้ 213 ไม่ได้

    -ปวิอ มาตรา 213 ใน จะเหมือน ปวิพ มาตรา 245 แต่ ในทางแพ่งใช้ว่าการชำระหนี้ที่แบ่งไม่ได้

  5. 245 (ใช้กรณีศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต ประหารชีวิต ยืนตามศาลชั้นต้น แต่ถ้ามีเรื่องริบทรัพย์ต้องระวัง)

252 (คดีอาญาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม คดีอาญาทุกเรื่องที่ขอต้องทำเป็นคำร้อง)

คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

-ถ้าพนักงานอัยการฟ้องไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล(และในศาลแขวงก็ไม่ต้องคำนึงทุนทรัพย์)

-ถ้าราษฎรฟ้องเองต้องเสียค่าขึ้นศาลตามปกติ(ในศาลแขวงต้องคำนึงทุนทรัพย์) -ถ้าราษฎรขอเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล (ศาลแขวงต้องคำนึง

ทุนทรัพย์ เกินสามแสนจะขอร่วมส่วนแพ่งไม่ได้)

หมายเหตุ วิ.อาญาข้อ 7 เพิ่มฎีกาน่าสนใจ

1496/43 ชุด3 หน้า8 จับทันทีแม้เข้าไปในอู่รถเกรงว่าจะย้ายของกลางหนี ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมาย 92(4)

3502/42 ชุด5 หน้า12 มี 2 ประเด็น ประเด็นแรก ปวิอ มาตรา 87ประเด็นสอง ร.ธ.น 233,237,241,243,245

ประเด็นแรก แม้ปรากฎภายหลังว่าผู้ต้องหาถูกขู่เข็ญให้รับสารภาพมาก่อนก็ไม่มีผลให้คำสั่งอนุญาตให้ฝากขังของศาลที่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นไม่ชอบไม่ ส่วนคำรับสารภาพจะฟังได้หรือไม่ต้องไปว่ากันในชั้น

พิจารณา ประเด็นสอง คำร้องที่อ้างว่าการกระทำของ พนักงานสอบสวน ขัด ร.ธ.น. ไม่ใช่การโต้แย้งว่ากฎหมายใดขัด ร.ธ.น. และแม้ตอนท้ายของคำร้องจะอ้างว่ากฎหมายที่ให้อำนาจศาลขัด ร.ธ.น. แต่ก็มิได้กล่าวอ้างว่าขัดตรงไหน

4239-40/42 แม้พนักงานสอบสวนจะขอตัวผู้ต้องหาไปขังที่กองปราบเพื่อชี้ตัวผู้ต้องหา แต่พนักงานสอบสวนก็ได้อ้างต่อศาลด้วยว่าการสอบสวนยังไม่เสร็จ จึงสามารถนำตัวผู้ต้องหาไปนอกพื้นที่เพื่อทำการตรวจค้นตามหมายค้นได้

270/43 ศาลออกหมายค้นแล้วกระบวนการยุติ ผู้คัดค้านขอไต่สวนไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเสียหายก็ไปฟ้องละเมิด

กลับไปหน้าเดิม