Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

พธูทิพย์ สว่าง
น.บ.,น.บ.ท. 
  
      
                                            

กฎหมายรัฐธรรมนูญ

คำนำ

เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญนับเป็นกฎหมายที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่เป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และยังเป็นรากฐานที่มาของกฎหมายอื่นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปี 2540 ไทยเริ่มมีการปฏิรูปการเมือง จนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนประกาศใช้บังคับ ซึ่งจัดว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่ในเอกสารชุดนี้ จึงมุ่งเน้นในการศึกษาเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นหลัก

หลักทั่วไป

ความหมายของ “รัฐธรรมนูญ” (Constitution)

สังเกต คำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อวิชาที่ศึกษารัฐธรรมนูญ (Constitution Law)

ส่วนคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เป็นชื่อเฉพาะของกฎหมายประเภทหนึ่ง (Constitution)

เช่น ใช้คำว่า มาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ อย่าใช้คำว่า มาตรา 6 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ความหมายอย่างกว้าง

หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชน (เน้นที่เนื้อหาสาระของกฎหมาย ครอบคลุมไปถึงรูปแบบของรัฐ,องค์กรที่ใช้อำนาจ ตลอดจนสิทธิเสรีภาพ)

ความหมายอย่างแคบ

หมายถึง กฎเกณฑ์ที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ ขององค์กรที่ใช้อำนาจสูงสุดต่อกันหรือต่อประชาชนและกฎเกณฑ์อื่น ซึ่งบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ที่มีการจัดทำและแก้ไขเพิ่มเติมแตกต่างจากกฎหมายธรรมดา(เน้นที่รูปแบบที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร)

ถาม เวลาที่วินิจฉัย ว่าอะไรเป็นกฎหมายที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ ใช้ความหมายอย่างกว้างหรือแคบ

ตอบ ใช้อย่างแคบ เป็นหลัก

เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

คำปรารภในรัฐธรรมนูญข้อความตอนท้ายของย่อหน้าที่ 2 มีความว่า “…สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญ เป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ใหประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมือง ให้มีเสรีภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ…”

คำปรารภเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็น เจตนารมณ์ของรัฐธรมนูญ ซึ่งจะช่วยในการตีความรัฐธรรมนูญในภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่มาตรา 1-336 อย่าตีความรัฐธรรมนูญสวนเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ

สรุป เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในภาพรวม

๑.ทำการเมืองให้เป็นการเมืองของพลเมือง โดยขยายสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค และการมีส่วนร่วม

๒.ขจัดการทุจริตทุกประเภท

๓.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

บทมาตราที่เกี่ยวข้องกับเจตนารมณ์ทั้ง 3 ประการ

1. - ขยายการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพ (หมวด 1 มาตรา 1-5 ,หมวด 3 และหมวด 4)

-ขยายการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง

-รับรู้ (มาตรา 58 พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540)

-แสดงความคิดเห็น (มาตรา 46,56,57,59)

-ตัดสินใจ (มาตรา 46,56,170)

-ตรวจสอบ (มาตรา 62,304)

2.ป้องกันการทุจริต ใช้ 2มาตรการเด็ด

-มาตราการที่ 1 ป้องกันก่อนเข้าสู่ตำเเหน่ง----à มาตราการการเลือกตั้ง ( มาตรา 68 )

-มาตราการที่ 2 ป้องกันเเละปราบปราม -----------à การเเสดงบัญชีทรัพย์สิน เเละหนี้สิน ตั้งเเต่มาตรา 291 ถึงมาตรา 296 , ดูมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตพ.ศ 2542

3.ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ เเละประสิทธิภาพ มี 3 มาตรการ คือ

-การห้าม ส.ส เป็นรัฐมนตรี ( มาตรา 204, 118 ( 7) )

-มาตราการในรัฐธรรมนูญ มาตรา 173

-การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีทำยากกว่ารัฐมนตรี ( มาตรา 185)

 

ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

ขอบเขต

๑.เหตุที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

๒.ผลจากความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

๓.อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมือง

๑.เหตุที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

    1. เพราะรัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาคม (เชิงอุดมการณ์ )
    2. เพราะกระบวนการในการจัดทำรัฐธรรมนูญต่างจากกฎหมายธรรมดาที่รัฐสภาตราขึ้น ซึ่งการจัดรัฐธรรมนูญจะมีกระบวนการพิเศษ เช่น เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมไม่ทางตรงก็อ้อม (เชิงกระบวนการ)
    3. เพราะอำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางการเมืองเเละรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจออกกฎหมายธรรมดา เเต่เป็นอำนาจที่เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญ , เป็นอำนาจที่สูงล้นพ้นไม่มีสิ่งใดอยู่เหนือเเละผูกมัดได้ กล่าวง่ายๆ คือ เป็นผู้สร้างรัฐธรรมนูญ เเล้วรัฐธรรมนูญ ก็ไปจัดตั้งองค์กรทางการเมืองทุกองค์กรอีกลำดับหนึ่ง (เชิงที่มา)
    4. เพราะรัฐธรรมนูญตัวก่อตั้งระบอบการเมืองเเละองค์กรทางการเมืองทุกองค์กรขึ้น ตลอดจน การรับรองเเละคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลเเละการจัดเเบ่งเเยกการใช้อำนาจอธิปไตย ( เชิงเนื้อหา)

๒.ผลจากความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

2.1 ผลตามมาตรา 6 ที่ว่า “ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ “

2.2 การเเก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญย่อมกระทำได้ยาก เเละต้องกระทำโดยวีธีการพิเศษยิ่งกว่ากฎหมายธรรมดา ( มาตรา 313)

รัฐธรรมนูญในฐานะที่มาสูงสุดของความชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 3 “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี เเละศาล ตามบทบัญญัติเเห่งรัฐธรรมนูญนี้ “

มาตรา 27 “ สิทธิเเละเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดเเจ้ง โดยปริยาย หรือโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครอง เเละผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล เเละองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายเเละตีความกฎหมายทั้งปวง”

หลัก - มาตรา 3 เเละ มาตรา 27 เเสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญสร้างหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเเละความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรทุกองค์กรที่รัฐธรรมนูญตั้งขึ้นไม่ว่าจะเป็นประมุขของรัฐ องค์กรนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ หรือองค์กรอื่นๆ ทั้งปวงที่เป็นของรัฐ (รัฐธรรมนูญ ใช้บังคับระหว่างรัฐกับบุคคล หรือ ระหว่างรัฐกับรัฐ ไม่ใช้ ระหว่างบุคคลกับบุคคล )

ตัวอย่างหลักความชอบด้วยกฎหมายและกฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติ

หลัก - องค์กรนิติบัญญัติต้องปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญเเละกฎหมายทั้งในเนื้อหาเเละรูปเเบบเเละกระบวนการ ของการใช้อำนาจ

เช่น มาตรา 6 คำว่า”บทบัญญัติ “ นั้นเเปลว่า เนื้อความ ดังนั้น เนื้อความของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติ คือ โดยพระมหากษัตริย์ โดยคำเเนะนำเเละยินยอมของรัฐสภา จะมีเนื้อความอันเป็นบทบัญญัติขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ เเละเรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลจะกระทำได้ก็เเต่โดยอาศัยบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย (มาตรา 29 ) เเละจะนำเอาจารีตประเพณีไปจำกัดสิทธิของบุคคลไม่ได้

อะไร? เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย

เนื่องจากหากไม่ใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมาย หลักคือ จะใช้มาตรา 262 หรือมาตรา 264 ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยไม่ได้

กฎหมายรัฐธรรมนูญตามความหมายของรัฐธรรมนูญ

เเยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ

  1. กฎหมายตามนัยของมาตรา 6
  2. ที่บัญญัติว่า “ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ “

    หลัก - เเสดงให้เห็นว่า กฎหมายทุกชนิดทุกลำดับไม่ว่าจะเป็นกฎหมายใด หรือกฎ หรือระเบียบ ข้อบังคับใด ไม่ว่าจะมาจากองค์กรใดๆ ก็ตาม จะออกมาขัดหรือเเย้งกับรัฐธรรมนูญไม่ได้

  3. กฎหมายตามนัยของมาตรา 262 เเละ 264

มาตรา 264 บัญญัติว่า “ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายบังคับเเก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 เเละยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวเเละส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเละไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว”

หลัก - “บทบัญญัติเเห่งกฎหมาย” ในมาตรา 264 หมายความเฉพาะบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ออกหรือตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เท่านั้น ได้เเก่

  1. ตัวรัฐธรรมนูญเอง (มาตรา 6 )
  2. พระราชบัญญัติเเละพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (มาตรา 92 , 93 )
  3. พระราชกำหนด (มาตรา 218 วรรคเเรก , 220 )
  4. กฎมนเฑียรว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ (มาตรา 22 )

ดังนั้น สิ่งอื่นนอกจากนี้ จึงมิใช่กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ เเต่เป็นกฎเกณฑ์เเห่งกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้เพราะออกโดยอำนาจเเห่งกฎหมาย เช่น มาตรา 221

จำเบื้องต้น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติองค์กรท้องถิ่น ซึ่งเป็นกฎหมายของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่กฎหมายในความหมายรัฐธรรมนูญ

สรุป -

หากมีกรณีพิพาทว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้พิจารณาว่า

๑.กฎหมายที่พิพาทนั้นมีศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติ หรือ ๒. ต่ำกว่าพระราชบัญญํติ

    ถ้าเข้า ๑. ----------------------à เป็นอำนาจ ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยพิจารณา

    ถ้าไม่เข้า๑. ------------------à ไม่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยพิจารณา

    ศักดิ์สูงกว่าพระราชบัญญัติ คือ

  1. รัฐธรรมนูญ
  2. กฎมณเฑียรบาล
  3. พระราชบัญญัติเเละพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  4. พระราชกำหนด

 

ศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ คือ

  1. พระราชกฤษฎีกา
  2. กฎกระทรวง กฎทบวง ประกาศกระทรวง ประกาศทบวง
  3. กฎเเละประกาศขององค์กรอื่นๆ
  4. ระเบียบข้อบังคับ
  5. กฎเกณฑ์เเห่งกฎหมายที่ออกโดยองค์กรกระจายอำนาจ
  6. มติคณะรัฐมนตรี
  7. หนังสือเวียนเเละเเนวทางที่ออกโดยผู้บังคับบัญชาในฝ่ายปกครอง

ตัวอย่างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

คำวินิจฉัยที่ 4/2542 ธนาคารฯ ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้พร้อมทั้งดอกเบี้ยของต้นเงิน จำเลยคดีนี้ต่อสู้ว่าประกาศธนาคารโจทก์ที่ออกตามความในประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารโจทก์ปฎิบัติเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลดลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 มีข้อความขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ เเละขอให้ศาลจังหวัดสงขลาส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารโจทก์ เป็นประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารเเห่งประเทศไทย ดังนั้น ประกาศของธนาคารโจทก์ฉบับดังกล่าวจึงไม่ใช่ประกาศของทางราชการ เเละไม่ใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับวินิจฉัยให้ได้ ส่วนประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารโจทก์ปฎิบัติ เรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 เป็นการออกข้อกำหนดโดยผู้ว่าการธนาคารเเห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่ใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 การที่ผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยดังกล่าว ซึ่งศาลยุติธรรมจะนำมาใช้บังคับเเก่คดี เป็นประกาศที่ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะรับวินิจฉัยให้ได้ ให้ยกคำร้อง

หมายเหตุ - คำวินิจฉัยนี้ เป็นคำวินิจฉัยที่สำคัญ เพราะเป็นบรรทัดฐานที่ศาลรัฐธรรมนูญนำมาอ้างในคำวินิจฉัยอื่นๆอีกมากต่อมา

คำวินิจฉัยที่ 5/2542 ศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ส่งข้อโต้เเย้งของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเซีย เรื่องการกำหนดดอกเบี้ย ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ปฎิบัติในการกู้ยืมเงินเเละรับเงินจากประชาชน เเละพระราชบัญญํติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ 2523 ในส่วนที่เกี่ยวกับการให้สถาบันการเงินเรียกอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ขัดต่อมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เป็นเรื่องความเสมอภาคของบุคคลเเละการไม่เลือกปฎิบัติ ศาลเเพ่งกรุงเทพใต้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ทั้งๆที่ ถ้าเป็นประกาศของสถาบันการเงินหรือประกาศเเห่งประเทศไทย ส่งไม่ได้ตามมาตรา 264 เเต่ปัญหาที่ว่า พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินขัด

รัฐธรรมนูญ ต้องส่ง

คำวินิจฉัยที่ 9/2542 ศาลจังหวัดหล่มสักส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลดลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 เป็นประกาศที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 ซึ่งเเก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ 2522 มาตรา 14 เเละพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ 2523 ซึ่งเเก้ไขเพิ่งเติมโดยพระราชบัญญัติดอกเบี้ยให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ 2535 มาตรา 4 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 เเละมาตรา 30 หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นเเรกในปัญหาที่ว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยขัดต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 หรือไม่ ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยว่า ประกาศที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจะขัดหรือฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นเอง ดังนั้นประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลดลงวันที่ 20 ตุลาคม 2536 ขัดเเย้งต่อพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ 2505 เเก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ 2522 หรือไม่นั้น เป็นปัญหาที่ ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย

ส่วนประเด็นหนึ่งที่ว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยที่ออกตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย ให้ยกคำร้องเพราะเคยวินิจฉัยเเล้วดังปรากฎตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2542

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเรื่องทำนองนี้ยังมีอีกมาก เช่น คำวินิจฉัยที่ 12 ถึง 35/2542 คำวินิจฉัยที่ 38 ถึง 40/2542 คำวินิจฉัยที่ 41/2542 คำวินิจฉัยที่ 42 ถึง 42/2542 ซึ่งอ้างคำวินิจฉัยที่ 4/2542 เเละ 5/2542

ลักษณะของศาลรัฐธรรมนูญ

  1. มีลักษณะเป็นศาล ไม่เป็นองค์กรทางการเมือง ซึ่งมีลักษณะในการวินิจฉัยความเป็นศาลคือ

-เรื่องที่เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ ต้องมีข้อโต้เเย้ง

-เป็นเรื่องที่คู่กรณีหยิบยกขึ้น ศาลหยิบยกเองมิได้

-มีวิธีพิจารณาตามมาตราฐาน 5 ประการ ในมาตรา 269 วรรค 2

-คำวินิจฉัยมีผลผูกพัน

( ข้อสังเกต! คำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ยกเว้นหลักผูกพันเฉพาะ คู่ความในคดีตามตามป.วิ.พ มาตรา 145 คือ ผูกพันทั้งหมด ยกเว้นเฉพาะคำพิพากษาอันถึงที่สุด )

ในเรื่องของการมีข้อโต้เเย้ง ส่วน ใหญ่เป็นเรื่องของกรณีตามรัฐธรรมนุญ มาตรา 266 *

มาตรา 266 “ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย”

อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่โดยสรุป ดังนี้

  1. วินิจฉัยในเรื่องปัญหาระหว่างองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญให้องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภา เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

"องค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ" หมายถึง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 คือ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี เเละศาลต่างๆ กับองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ เเละกำหนดอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการเเผ่นดินรัฐสภา คณะกรรมการป้องกันเเละปรามปราบการทุจริตเเห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ ซึ่งไม่รวมถึงองค์กรที่รัฐธรรมนูญให้จัดตั้งขึ้น

คำวินิจฉัยที่ 2/2541 รมต.มหาดไทยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอำนาจหน้าที่ของตำรวจชั้นผู้ใหญ่เกี่ยวกับการออกหมายค้น ตาม ป.วิ.อ มาตรา 92 วรรค 2 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 266 หมายถึง องค์กรที่มีบทบาทหนัาที่ ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเเละรัฐธรรมนูญ มาตรา 201 วรรค 1 ได้กำหนดตัวบุคคลเเละอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศไว้ องค์กรฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า รมต. มหาดไทยหรือกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานหนึ่งของฝ่ายบริหาร หาใช่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญเเต่อย่างใดไม่ กระทรวงมหาดไทยจึงไม่อาจร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 266

คำวินิจฉัยที่ 4/2541 ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับวาระการดำรงตำเเหน่งของสมาชิกสภาเทศบาล ตามที่สมาคมสันติบาตเทศบาลเเห่งประเทศขอ โดยเนื่องมาจาก พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 มาตรา 16 ให้สมาชิกสภาเทศบาลอยู่ในตำเเหน่งได้คราวละ 5 ปี เเต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 285 ให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ซึ่งสมาคมสันนิบาตเทศบาลเเห่งประเทศไทย เห็นว่าต้องถือตาม พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 มาตรา 16 แต่คณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่าต้องถือตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 285

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.บ ระเบียบบริหารราชการเเผ่นดิน พ.ศ 2534 มาตรา 70 บัญญัติ ว่า “ ให้จัดระเบียบบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ …….( 2) เทศบาล …” ดังนั้น เทศบาลจึงเป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นตามหมวด 9 ของรัฐธรรมนูญ เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาเทศบาลว่า จะมีวาระตามที่กำหนดในมาตรา 16 วรรคหนึ่ง เเห่ง พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 หรือวาระตามที่กำหนดในมาตรา 285 วรรค 5 เเห่งรัฐธรรมนูญ จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เเละโดยที่ปัญหาดังกล่าวประธานรัฐสภาได้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญ จึงรับไว้พิจารณา พ.ร.บ เทศบาล พ.ศ 2496 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 285 วรรคห้า ไม่มีผลบังคับตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ

NOTE - 1) การส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 266 นั้น ต้องมีข้อโต้เเย้งเกิดขึ้น ไม่ใช่ กรณีที่เป็นเพียงข้อหารือหรือ ข้อสงสัยทางกฎหมาย ( คำวินิจฉัยที่ 8/2542 )

มาตรา 266 ไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการที่จะไม่รับเรื่องไว้พิจารณาเพราะไม่เป็นสาระเหมือนกับมาตรา 264

หลักเกณฑ์การควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญในส่วนของมาตรา 264

มาตรา 264 “ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายบังคับเเก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้น ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 เเละยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว เเละส่งความเห็นเช่นว่านั้น ตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ เห็นว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว “

หลักเกณฑ์โดยรวมของมาตรา 264

  1. ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี
  2. ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้ง
  3. มีข้อโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งรัฐธรรมนูญ
  4. ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น

วิเคราะห์หลักเกณฑ์ได้ดังนี้

  1. ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี
    1. เป็นบทกฎหมายที่ศาลจะใช้ในการวินิจฉัยคดี หรือ บทกฎหมายที่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทเเห่งคดี
    2. คำวินิจฉัยที่ 3/2544 จำเลยที่ 3ในคดีอาญา ข้อหามีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรต่างประเทศปลอม อันตนได้มาโดยรู้ว่าเป็นของปลอมเเละข้อหาร่วมกันฉ้อโกง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4 (2) เเละมาตรา 14(1)-(5) ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ปฎิบัติต่อผู้ต้องขังที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดได้เช่นเดียวกับผู้ต้องขังที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเเล้ว ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 4 มาตรา 30 เเละมาตรา 33 ก่อนศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย จำเลยที่ 3 ถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามเเดนกลับไปประเทศญี่ปุ่น

      ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเเล้วเห็นว่า เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ได้อยู่ประเทศไทย เนื่องจากส่งตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นแล้ว การพิจารณาคำร้องจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยที่ 3 ประกอบกับการที่ จำเลยที่ 3 อ้างว่า พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4(2) เเละมาตรา 14( 1) –(5) ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 มาตรา 30 และมาตรา 33 นั้น ปรากฎว่าจำเลยที่ 3 ได้ถูกฟ้องในข้อหาร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรต่างประเทศปลอมเเละร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์ผู้อื่น ซึ่งเป็นความผิดตามมาตราประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น เมื่อศาลยุติธรรมมิได้ใช้ พ.ร. บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 บังคับเเก่คดีตามคำร้องนี้เเล้ว พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4(2) เเละมาตรา 14(1) –(5) จึงมิใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดีตามคำร้องนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง

    3. ต้องเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล กล่าวคือ ยังไม่ถึงที่สุด
    4. คำพิพากษาฎีกาที่ 623/2543 คดีขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน เป็นเรื่องที่พนักงานอัยการขอให้ศาลมีคำสั่งให้ขังพันตำรวจตรีบัสลุล ฮูด้า ซึ่งต้องหาว่าฆ่าประธานาธิบดีบังคลาเทศ ไว้เพื่อดำเนินการส่งข้ามเเดนไปดำเนินคดีที่ประเทศบังคลาเทศ ตาม พ.ร.บ ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน พ.ศ 2472 มาตรา 3,4,6,12,15 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพาษายืน (คดีถึงที่สุดตามพ.ร.บ ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน พ.ศ 2472 มาตรา 17 )

      ในระหว่างรอการส่งตัวข้ามแดน จำเลยยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ พร้อมทั้งยื่นคำร้องว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ใช้บังคับเเก่จำเลยขัดต่อรัฐธรรมนูญ ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ศาลชั้นต้นยกคำร้องทั้งสองฉบับ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกา เฉพาะในปัญหาว่า การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจรณาวินิจฉัยเป็นการมิชอบ

      ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง เเละวรรคท้าย “ ….แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การที่ศาลจะส่งความเห็นเช่นว่านั้นเพื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ต้องเป็นคดีที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว หาใช่กรณีคดีถึงที่สุดเเล้ว เเต่อย่างใดไม่ เเละหากคดีถึงที่สุดเเล้วย่อมไม่มีประโยชน์ ที่จะส่งคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป เพราะเเม้ส่งไปเเละศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ ก็มิอาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว คดีนี้ปรากฎว่า คดีได้ถึงที่สุดเเล้วตาม พ.ร.บ ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน พ.ศ 2472 โดยจำเลยมิได้ร้องขอให้ศาล ส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงถือได้ว่า กรณีล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยอ้างว่าคดีถึงที่สุด เพราะยังมีการร้องขอให้พิจารณาใหม่ ตามมาตรา 247 เเห่งรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย มาเป็นเหตุที่ทำให้เห็นว่าคดีของจำเลยยังคงได้รับการพิจารณาอยู่ในศาล เพื่อเป็นข้ออ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุด เเต่เเท้จริงเเล้ว คดีของจำเลยถึงที่สุด เหลือเพียงการส่งจำเลยข้ามเเดนเท่านั้น การยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีของจำเลยดังกล่าว หามีผลให้คดีถึงที่สุดแล้วกลับกลายเป็นคดีที่ยังไม่ถึงที่สุดอีกครั้งหนึ่งไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะส่งความเห็นเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

      NOTE - มีคำวินิจฉัยที่ 34-53 /2543 ที่ศาลรับพิจารณาให้ เเม้คดีถึงที่สุด เเล้ว เเต่ยังมีกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้นในชั้นบังคับคดี

    5. ใช้ได้กับทุกชั้นศาล
    6. คำวินิจฉัยที่ 11/2544 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานมีเฮโรอีนในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ 2522 มาตรา 15 วรรค สอง มาตรา 66 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 15 ปี จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ 2522 มาตรา 15 วรรค สอง บัญญัติว่า “ การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งเเต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย “ บทบัญญัติดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 36.9 กรัม ไว้ในครอบครองเช่นนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีนดังกล่าวในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว จำเลยทั้งสองจะอ้างหรือนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดตามฟ้อง จำเลยทั้งสองฎีกา โดยในฎีกาโต้แย้งว่าพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ 2522 มาตรา 15 วรรค สอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 หรือไม่

    7. คู่ความไม่มีอำนาจส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้เองโดยตรง (ให้ศาลเท่านั้น)

คำวินิจฉัยที่ 5/2541 เป็นคดีที่นางอุบล บุญญชโลธร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยว่า การที่พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีไม่ยอมส่งเอกสารสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนเเละพนักงานอัยการในการสั่งฟ้องคดีนางอุบลในข้อหาบงการฆ่านายเเสงชัย สุนทรวัฒน์ ทั้งในส่วนที่อัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดไปเเล้ว กับในส่วนที่รื้อฟื้นสั่งฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 241 วรรคสี่ หรือไม่ กับขอให้วินิจฉัยว่าการที่ศาลจังหวัดนนทบุรีไม่ส่งปัญหาเดียวกันนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญตามคำขอของนางอุบลเป็นการชอบหรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง หมายความว่า ศาลเท่านั้น เป็นผู้ส่งความเห็นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย มิได้ให้สิทธิผู้ร้องหรือคู่กรณีเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงได้ เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเเล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาว่าขัดหรือเเย้งต่อบทบัญญัติเเห่งมาตรา 241 วรรคสี่ ประกอบมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทยได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่รับคำร้องไว้พิจารณา

สรุป

หลักเกณฑ์ที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี

  1. ต้องเป็นบทกฎหมายที่ศาลจะใช้ในการพิจารณาวินิจฉัยคดี
  2. คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
  3. ใช้กับทุกศาลเเละทุกชั้นศาล
  4. คู่ความไม่มีสิทธิส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญได้เองโดยตรง
2.ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6
  • ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นเองโดยที่ไม่จำเป็นต้องให้มีบุคคลใดร้องขอ
  • คู่ความมีสิทธิโต้เเย้งได้ว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่มีข้อพิพาทนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างในเวลาใดๆ ก็ได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ( เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเเละศีลธรรมอันดีของประชาชน

อย่าลืมว่า ถ้าเป็นคดีที่อยู่ในศาลเเล้ว การส่งความเห็นหรือข้อโต้เเย้ง ศาลเท่านั้นที่มีอำนาจส่ง คู่ความจะส่งเองไม่ได้ ( คำวินิจฉัยที่ 5/2541 ) เเต่ถ้ายังไม่เป็นคดีกันที่ศาล อาจยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการเเผ่นดินรัฐสภาได้อีกทางหนึ่ง

    1. เป็นบทบังคับศาลว่า เมื่อคู่ความโต้เเย้ง ศาลต้องส่ง เเม้ว่าศาลจะเห็นว่าไม่ขัดก็ตามเเละไม่ว่าศาลนั้นจะเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหารก็ตาม
    2. ถ้าเป็นกรณีคำร้องเคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 264 ศาลไม่จำต้องส่งให้ก็ได้
      1. เป็นบรรทัดฐานที่ศาลยุติธรรมสร้างขึ้นมาเอง เเต่จำกัดเฉพาะคำร้องที่เคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบของมาตรา 264 เท่านั้น
      2. ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตามลำดับชั้นศาล ในคำสั่งของศาลที่ไม่รับคำร้องของตน หรืออาจยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ โดยบรรยายคำร้องให้เข้าองค์ประกอบของมาตรา 264 ไม่ถือเป็นการร้องซ้ำ เพราะไม่ใช่ประเด็นข้อพิพาทในคดี
      3. เเม้ตัวบทมาตรา 264 วรรคสอง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจไม่รับคำโต้เเย้งที่ไม่เป็นสาระไว้พิจารณา เเต่ไม่ตัดอำนาจศาลยุติธรรมที่จะพิจารณาความถูกต้องของคำร้องก่อน

คำวินิจฉัยที่ 623/2543 เเม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคสองระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ที่ไม่เป็นสาระเเก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม เเต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง หรือไม่ ย่อมต้องเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม ซึ่งมีอำนาจปรับบทกฎหมายเเละตีความบทกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับบทกฎหมายว่า กฎหมายใดขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นเเละศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณา เพราะคดีถึงที่สุดเเล้ว ล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 วรรคหนึ่ง จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำโดยชอบ ( มี ฎ. 8569/2542 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน )

สรุป

ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้ง

  1. เป็นบทบังคับศาลเมื่อคู่ความโต้เเย้งศาลต้องสั่ง ไม่ว่าศาลจะเห็นว่าขัดหรือไม่ขัดก็ตาม
  2. กรณีคำร้องเคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 264 ศาลไม่จำต้องส่ง
  3. มีข้อโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
    1. ถ้ามีข้อโต้เเย้งว่า กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่เข้ากรณี ม. 264
    2. บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามมาตรา 264 มี 2 ประเภท คือ
    3. -บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ

      -บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้

    4. ข้อโต้เเย้งว่า บทกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ไม่อยู่ในอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ
    5. การกระทำของบุคคลขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ไม่อยู่ในกรณีมาตรา 264

    คำวินิจฉัยที่ 909/2541 เป็นกรณีจำเลยในคดีเเพ่งที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ชำระหนี้เเก่โจทก์ ระว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยยื่นคำร้องขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการทำร้ายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยเเละละเมิดสิทธิเสรีภาพของจำเลย เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ

    ศาลฎีกามีคำสั่งว่า กรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่จะต้องส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264

    หมายเหตุ - รวมถึงการกระทำของนิติบุคคล , คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเองด้วย ที่ไม่อยู่ในกรณีตามมาตรา 264

    คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/2541 เป็นคดีจำเลยในคดีเเพ่ง เรื่อง พ.ร.บ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 2 ประเด็น ประเด็นเเรกอ้างว่า มีคำพิพากษาฎีกา 2 ฉบับ ผู้พิพากษาลงชื่อไม่ครบองค์คณะ เเม้ประธานศาลฎีกาจะบันทึกรับรองว่าผู้พิพากษานั้นได้ร่วมประชุมปรึกษาเป็นองค์คณะ เเละเเจ้งเหตุที่ไม่ได้ลงนามว่าไปดำรงตำเเหน่งที่อื่นบ้าง เกษียณอายุราชการบ้าง ก่อนที่จะลงนามในคำพิพากษา เเต่ประธานศาลฎีกาไม่ได้จดเเจ้งระบุข้อความให้ชัดเจนว่า “ เเละมีความเห็นพ้องด้วยคำพิพากษานั้น “ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 141 วรรคสอง บังคับให้ต้องระบุไว้ด้วย คำพิพากษาทั้งสองฉบับดังกล่าว จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 233 เเละประเด็นที่สองอ้างว่า ศาลจังหวัดนนทบุรีนำพ.ร.บ ควบคุมการเช่านา พ.ศ 2517 ซึ่งถูกยกเลิกเเล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง มาใช้บังคับเเก่คดี เป็นการไม่ปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 233

    ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประเด็นเเรกเป็นการโต้เเย้งการดำเนินการของศาลฎีกาว่าปฎิบัติไม่ถูกต้องตามป.วิ.พ มาตรา 141 วรรคสอง มิได้โต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลใช้บังคับเเก่คดีคือ ป.วิ.พ มาตรา 141 วรรคสอง ว่าขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นที่สองเป็นการโต้เเย้งว่า ศาลใช้กฎหมายฉบับที่ไม่ถูกต้อง มิได้เป็นการโต้เเย้งว่ากฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกัน ทั้งสองกรณีจึงไม่เป็นการโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดีต้องด้วยมาตรา 6 ตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง

    คำวินิจฉัยที่ 9/2543 เป็นเรื่องจำเลยในคดีเเพ่ง ขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า การที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) คิดดอกเบี้ยกรณีผิดนัดในอัตราร้อยละ 18 ร้อยละ 19 ร้อยละ 20.25 เเละร้อยละ 21.50 ต่อปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ร้องเเละตัวเเทนผู้บริโภคเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 50 เเละมาตรา 57 หรือไม่

    ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการขอให้พิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำของบุคคลหรือนิติบุคคล มิใช่พิจารณาวินิจฉัยว่า บทบัญญัติเเห่งกฎหมายใดขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้ยกคำร้อง

  4. ต้องยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น
  • ดู มาตรา 264 ประกอบ 268 ที่ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันทุกองค์กร

คำวินิจฉัยที่ 10/2542 ปัญหาว่า พ.ร.บ ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเมือง (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ 2535 ในส่วนที่เกี่ยวกับการเรียกอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 30 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเเล้วในคำวินิจฉัยเเล้วในคำวินิจฉัยที่ 5/2541 จึงไม่รับวินิจฉัย

สรุป

ต้องยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น

1. เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร (ม. 268)

2.ไม่รวมถึงคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ

5.ผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

    รัฐธรรมนูญมาตรา 264 วรรคท้ายบัญญัติว่า “ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด “ เเสดงว่า

    1. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเสร็จเด็ดขาด
    2. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลย้อนหลัง
    3. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญใช้ได้ในคดีทั้งปวง
    4. คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องไม่กระทบยกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว ( ดู มาตรา 147 ป.วิ.พ )
    5. มีผลผูกพัน รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล เเละองค์กรอื่นของรัฐ ( ม. 268 )

คำพิพากษาฎีกา ที่ 623/2543 การที่ศาลจะส่งความเห็นว่าบทบัญญัติของกฎหมายขัดหรือเเย้งกับรัฐธรรมนูญไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264 วรรคหนึ่ง นั้นต้องเป็นกรณีที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาของศาล จึงให้รอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราว หาใช่กรณีคดีถึงที่สุดเเล้วเเต่อย่างใดไม่ เพราะหากคดีถึงที่สุดเเล้วย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคำร้องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เเละเเม้ศาลจะรับวินิจฉัยให้ ก็มิอาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาอันถึงที่สุดเเล้วตามมาตรา 264 วรรคท้าย

6.การดำเนินการของศาลที่จะส่งขอโต้เเย้งหรือความเห็น

รัฐธรรมนูญ มาตรา 264 วรรคท้าย บัญญัติให้ เมื่อศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดีขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว เเละส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

สรุป - ศาลที่ส่งเรื่องจะต้องหยุดดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวงไว้ ในระหว่างที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลก็จะใช้บทบัญญัตินั้นมิได้ เเต่ถ้าหากไม่ขัด จึงจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

ส่งเรื่อง---------------------------à stop ---ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย-------à 1. จบ

2. ดำเนินกระบวนการต่อไป

 

ตัวอย่างของบทบัญญัติที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าบทบัญญํติของกฎหมายตามความในมาตรา 264 และไม่รับวินิจฉัย

ประกาศธนาคารพานิชย์เเละบริษัทเงินทุนต่างๆ

ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลที่ไม่รับวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า ประกาศดังกล่าวไม่ใช่ประกาศของทางราชการ เเละไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้ได้

  • ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ธนาคารพานิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอก

เบี้ยเเละส่วนลด , เรื่อง การกำหนดบริษัทเงินทุนปฎิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน เเละการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้

ศาลรัฐธรรมนูญให้เหตุผลที่ไม่รับวินิจฉัยทำนองเดียวกันว่า ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยดังกล่าว เป็น

ประกาศที่ออกโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเเละมีผลใช้บังคับได้ เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เเต่ประกาศดังกล่าวมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิจฉัย

ประกาศกระทรวงการคลัง

เช่น เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากได้จากผู้กู้ยืม พ.ศ 2535

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่า ประกาศดังกล่าวออกโดยรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเเละโดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย และมีผลบังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่กฎหมายให้อำนาจไว้ เเต่ประกาศดังกล่าวมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 จึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย

ข้อบังคับหรือคำสั่งต่างๆ

เช่น ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา พ.ศ 2523 ข้อ 2.5 ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมตำรวจเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนเเละมีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับคดีได้ทุกคดี เเละคำสั่งเเต่งตั้งพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ซึ่งจำเลยโต้เเย้งว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 241 วรรคหนึ่ง

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลทำนองเดียวกันว่า เป็นคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเเละใช้บังคับได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายดังกล่าวให้อำนาจไว้ มิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามมาตรา 264

การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ

รัฐธรรมนูญกำหนดการควบคุมอำนาจของรัฐ ดังนี้

  1. การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินเเละหนี้สิน
  2. คณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งกฎหมาย
  3. การถอดถอนจากตำเเหน่ง
  4. การดำเนินคดีอาญา กับผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง

คดีพิเศษในศาลรัฐธรรมนูญ

ศึกษาในส่วนของคดีของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ตามรัฐธรรมนูญเเยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง
  2. คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

( ในส่วนนี้จะกล่าวเฉพาะ ข้อ 1. )

คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลฎีกาเเผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

1. คดีอาญา (มาตรา 308 , พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางกรเมืองพ.ศ 2542 มาตรา 9 (1) ,(2) )

  • กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป. อาญา
  • กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่นๆ

2. คดีร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของเเผ่นดิน

  • กรณีร่ำรวยผิดปกติ ( ม. 308 , พ.ร.บ ฯ มาตรา 9 (1) (2) )
  • กรณีมีทรัพย์สินขึ้นผิดปกติ ( ม. 291 , 294 วรรคสอง , พ.ร.บ ฯ มาตรา 9 (4)

ขยาย

  1. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง ความผิดในประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 2 หมวด 2 ตั้งเเต่มาตรา 147- 166
  2. ความผิดต่อตำเเหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น เช่น ความผิดตาม พ.ร.บ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ
  3. “ ร่ำรวยผิดปกติ “ หมายความว่า การมีทรัพย์สินมากผิดปกติหรือมีเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ หรือมีหนี้ลดลงมากผิดปกติ หรือได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควร สืบเนื่องมาจากการปฎิบัติตามหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ( พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันเเละปรามปราบการทุจริต พ.ศ 2542 มาตรา 4 )
  4. “ ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ “ หมยความว่า การที่มีทรัพย์สินในบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินเเละหนี้สินที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ยื่นเมื่อพ้นตำแหน่งมีการเปลี่ยนเเปลงไปจากบัญชีแสดงทรัพย์สินเเละหนี้สินที่ได้ยื่นเมื่อเข้ารับตำแหน่งในลักษณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติหรือหนี้สินลดลงผิดปกติ ( พ.ร.บ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันเเละปรามปราบการทุจริตเเห่งชาติ มาตรา 4 )

NOTE - คดีที่กรรมการ ป.ป.ช ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อ หน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ก็อยู่ในอำนาจพิจารณาของศษลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นกัน

บุคคลที่อาจถูกดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

คดีอาญา

คดีร่ำรวยผิดปกติ

คดีทรัพย์สินเพิ่มผิดปกติ

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรี

รัฐมนตรี

รัฐมนตรี

ส.ส ,ส.ว

ส.ส,ส.ว

ส.ส,ส.ว

ข้าราชการการเมืองอื่น

ข้าราชการการเมืองอื่น

ข้าราชการการเมืองอื่น

ผู้ที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน( ม. 308,พ.ร.บฯม. 9(1)(2)

ผู้ที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน (ม. 308 , พ.ร.บ ฯม. 9(1)(2)

ผู้บริหารท้องถิ่นเเละสมาชิก สภาท้องถิ่นตามที่กฎหมายบัญญัติ ( ม.291 , 294 )