Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

 

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (วิ.เด็ก)

***มาตรา 4

เด็ก à บุคคลอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

เยาวชน à บุคคลอายุเกิน 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

ข้อสังเกต

  • ถ้าต่ำกว่า 7 ปี หรือ 7 ปีพอดี จะไม่ใช่เด็กตาม พ.ร.บ.นี้ จะนำ พ.ร.บ.นี้มาใช้บังคับไม่ได้
  • แม้จะบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสถ้ายังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์ ก็ถือว่าเป็นเยาวชน
  • คำว่าเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.นี้ ใช้ในส่วนอาญาแต่ในส่วนแพ่งจะใช้คำว่าผู้เยาว์

คดีธรรมดา หมายถึง คดีอื่น ๆ นอกจากคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

ผู้อำนวยการสถานพินิจ หมายรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจาก ผอ. สถานพินิจให้ปฏิบัติราชการแทน

**มาตรา 5 คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กทำผิด ให้ถืออายุเด็กในวันที่การทำผิดได้เกิดขึ้น

ฎีกาที่ 3179/2533, 3666/2531 ถืออายุของเด็กหรือเยาวชนในวันกระทำความผิดเป็นเกณฑ์ (คดีอาญา)

ข้อสังเกต

  • แต่ในคดีแพ่งถือวันยื่นฟ้องว่าขณะวันที่ยื่นฟ้องเป็นผู้เยาว์หรือไม่

มาตรา 6 ให้นำพระธรรมนูญศาล ป.วิ.พ. ป.วิ.อ. มาใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัวเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้ง กับ พ.ร.บ.นี้

มาตรา 7 ให้ ทม.1, ยธ.1, เสมา1, สธ.1 รักษาการตาม พ.ร.บ.นี้

*****มาตรา11 ศาลเยาวชนและครอบครัวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีดังต่อไปนี้

    1. คดีอาญา ที่มีข้อหาเด็ก, เยาวชน ทำผิด
    2. คดีอาญา ที่ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาได้โอนมาตาม มาตรา 61 วรรค 1
    3. คดีครอบครัว คดีแพ่ง ที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกระทำการใด ๆ ในทางศาล เกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตาม ป.พ.พ.
    4. คดีที่ศาลจะต้องพิจารณาหรือสั่งเกี่ยวกับตัวเด็กและเยาวชนตามกฎหมายให้เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลเยาวชนและครอบครัว

ข้อสังเกต

  • ตาม (1) คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กทำผิดต้องพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชนและครอบครัวคือในท้องที่นั้นมีศาลเยาวชนด้วย แต่ถ้าท้องที่นั้นไม่มีศาลเยาวชนก็คงต้องไปดูถิ่นที่อยู่ของเด็ก ถ้าไม่มีก็คงต้องดำเนินคดีที่ศาลธรรมดา
  • ตาม (2) เกี่ยวโยงมาตรา 61 วรรค 1 ที่บัญญัติว่าเพื่อประโยชน์แห่ง พ.ร.บ.นี้ บุคคลใดอายุยังไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์ กระทำความผิดและเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ถ้าศาลนั้นพิจารณาโดยคำนึงถึงร่างกาย สติปัญญา สุขภาพ ภาวะแห่งจิตและนิสัย แล้วเห็นว่าบุคคลนั้นยังมีสภาพเช่นเดียวกับเด็กหรือเยาวชน ก็ให้มีอำนาจสั่งให้โอนคดีไปพิจารณาในศาลเยาวชนและให้ถือว่าบุคคลนั้นเป็นเด็กหรือเยาวชน
  • ตาม (3) อันดับแรกต้องเป็นคดีแพ่ง และต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ถ้าไปบังคับตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในจังหวัด ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล ก็จะไม่ใช่คดีครอบครัว

Y สรุปแนวคำวินิจฉัย “คดีครอบครัว”

      1. คดีซึ่งพิพาทกันตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ซึ่งได้แก่

                    - คดีเกี่ยวด้วยการหมั้น ของหมั้น สินสอด

                    - คดีเกี่ยวด้วยการสมรส รวมทั้งสิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาไม่ว่าทางใด ๆ ซึ่งพิพาทกันตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 5 ทั้งหมด

    • คดีเกี่ยวด้วยสิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตร ไม่ว่าทางใด ๆซึ่งพิพาทกันตาม บรรพ 5

ข.คดีซึ่งพิพาทกันตาม ป.พ.พ. บรรพ 1 อันเกี่ยวด้วยสถานะความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ตามมาตรา 21-28, 32, 43, 44

ค.คดีซึ่งพิพาทกันตาม ป.พ.พ. บรรพ 6 อันเกี่ยวกับสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัวหรือส่วนได้เสียของครอบครัวตามมาตรา 1610, 1611, 1687 และ 1692

  • แนวคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาเรื่อง คดีครอบครัว

[ "คดีครอบครัว"

*คำวินิจฉัยที่ 1/40 คดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนฯ คือ คดีที่เกี่ยวกับการสมรสรวมทั้งสิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่าง สามี ภริยา พ่อ แม่ ลูก ไม่ว่าในทางใด ๆ ซึ่งพิพาทกันตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 รวมทั้งคดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคลอันเกี่ยวกับครอบครัว, ส่วนได้เสียของผู้เยาว์ซึ่งพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 21-28, 32, 33, 44, 1610, 1611, 1687, 1692 เป็นคดีครอบครัวทั้งสิ้น

คำวินิจฉัยที่ 2/35, 4/37 กรณีศาลสั่งให้อีกฝ่ายเป็นคนไร้, เสมือนไร้และตั้งตนเองเป็นผู้อนุบาล, ผู้พิทักษ์ เป็นคดีครอบครัวเพราะมีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาเกี่ยวกับอำนาจการจัดการทรัพย์สิน

คำวินิจฉัย ที่ 5/37, 6/37 บิดามารดากับบุตรร้องขอให้อีกฝ่ายเป็นคนไร้ความสามารถและตั้งตนเองเป็นผู้อนุบาล เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัย ที่ 14/38, ยช.4/42 พี่สาวร้องขอให้น้องชายที่บรรลุนิติภาวะและพ่อแม่ตายไปแล้ว ให้เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งพี่สาวเป็นผู้อนุบาล เป็นคดีครอบครัว เพราะมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่ ตลอดจนสถานะและความสามารถของบุคคลในครอบครัวอันต้องบังคับตาม บรรพ 1 มาตรา 28

คำวินิจฉัย ที่ 13/38, 27/40 แม่ร้องขอให้ศาลสั่งให้หญิงหม้ายเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและขอเป็นผู้พิทักษ์ เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัย ที่ 26/40 ภริยาโดยชอบขอให้ศาลสั่งให้สามีเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ทั้งขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องมีอำนาจทำนิติกรรมขายที่ดินของสามีมาด้วย เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัย ที่ 10/39, ยช.26/42 คดีฟ้องเกี่ยวกับการสมรส เช่นฟ้องว่าการสมรสเป็นโมฆะ เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัย ที่ 13/40, 14/40 ฟ้องว่าอีกฝ่ายผิดสัญญาหมั้นถือว่าพิพาทเกี่ยวกับการสมรสจึงเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัย ที่ ยช.5/41 การจดทะเบียนหย่าเป็นคดีเกี่ยวกับการสิ้นสุดแห่งการสมรสที่พิพาทกันตามบรรพ 5 เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 6/35 สามีหรือภริยาฟ้องอีกฝ่ายให้เพิกถอนการสมรสโดยอ้างว่าเป็นโมฆียะ เพราะเหตุถูกข่มขู่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 14/40,25/40,33/40, ยช.4/41, ยช.12/41, ยช.14/41, ยช.19/42, ยช.22/42, ยช.23/42, ยช.29/42 กรณีสามีหรือภริยาฟ้องเรียกค่าเสียหาย, ค่าทดแทนจากหญิง, ชายอื่นที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาของตน แม้จะเป็นการเรียกจากคนภายนอกก็ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 11/36, 12/36 สามี, ภริยา, บุตรที่ศาลตั้งเป็นผู้อนุบาล ร้องขอให้ศาลอนุญาตให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของผู้ไร้ความสามารถเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 11/37, 4/38, ยช.6/40, ยช.8/40, ยช.11/41, ยช.14/41, ยช.21/41, ยช.26/41, ยช.9/42, ยช.33/42,ยช.6/43, ยช.8/43, ยช.14/43, ยช.1/44, ยช.14/44 ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่คู่สมรสได้ทำไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 แม้จะฟ้องคนภายนอกเข้ามาด้วยก็ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 34/40, 35/40, 36/40, ยช.1/41, ยช.18/41, ยช.22/41, ยช.2/42, ยช.16/42, ยช.21/42, ยช.28/42, ยช.4/44, ยช.12/44 ฟ้องให้โอนที่ดินอันเป็นสินสมรส แม้จะเป็นการขอให้บังคับตามข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าก็ถือว่าเป็นคดีครอบครัว เพราะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสามีและภรรยาในทางทรัพย์สิน

คำวินิจฉัยที่ ยช.2/41, ยช.7/41, ยช.6/42, ยช.20/42, ยช.10/44 , ยช.23/44 ฟ้องมีข้อโต้เถียงว่าเป็นสินสมรสหรือไม่ ก็ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.11/42, ยช.12/42 คดีมีประเด็นว่าใครเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นกรณีที่ฟ้องเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและบุตรตามบรรพ 5 เป็นคดีครอบครัว

ในการขอให้เพิกถอนชื่อออกจากสูติบัตร นายทะเบียนมีอำนาจแก้ไขได้ถือว่าคดีมีมูลเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 5 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งฯ มาตรา 6

คำวินิจฉัยที่ ยช.7/42, ยช.13/42 ฟ้องขอให้ให้สามีชำระหนี้ที่ภริยาได้จ่ายไปซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน แต่มีข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าที่ว่า สามียอมชดใช้หนี้สินทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว จึงเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.1/40 ฟ้องเรียกบุตรคืนโดยอ้างว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566,1567(1) ตามบรรพ 5 ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 2/40, 11/42 ฟ้องให้หย่าขาดจากกันและให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร รวมทั้งแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.13/42 ฟ้องขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย โดยอาศัยเหตุละเมิด มิใช่คดีครอบครัวแต่ ในฟ้องส่วนนี้สืบเนื่องมาจากการที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโดยอ้างว่าที่ดินเป็นสินสมรสเป็นฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกันกับการขอแบ่งสินสมรส ถือได้ว่ามูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 5

คำวินิจฉัยที่ 12/40 ฟ้องเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสที่คู่สมรสอีกฝ่ายจัดการไปเพียงฝ่ายเดียวโดยมิได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.31/42 ฟ้องว่าผิดสัญญาหมั้นและเรียกค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437,1439,1440 ว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.32/42 ร้องขอทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.2/43 ฟ้องว่าอีกฝ่ายจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาดและมีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความเสียหาย หายนะให้แก่สินสมรสขอเป็นผู้มีอำนาจจัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484 ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.10/43 ฟ้องให้ไปจดทะเบียนใส่ชื่อลงในที่ดินสินสมรสเป็นการฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1475 ว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.6/44 พิพาทเกี่ยวกับการหมั้นและการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437, 1439, 1440, 1443, 1444ว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 5/40, ยช.16/41, ยช.18/42 โจทก์ตั้งรูปคดีเข้ามาว่าคู่สมรสอีกฝ่ายโอนสินสมรสไปให้คนภายนอกโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์แม้โจทก์จะฟ้องคนภายนอกขอให้เพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์โดยมิได้ฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายเข้ามาเป็นจำเลยด้วย ประเด็นแห่งคดีก็ยังคงมีว่าทรัพย์สินที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.6/42, ยช.9/41, 18/40 คดีที่สามีหรือภริยาฟ้องขับไล่คู่สมรสอีกฝ่ายให้ออกจากบ้านโดยอ้างว่าบ้านเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ซึ่งต้องบังคับตามมาตรา 1471 (1) เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 5/35, 2/36,16/40, ยช.10/41, ยช.11/43, ยช.12/44 ฟ้องแบ่งสินสมรส เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 24/40, 10/40,ยช.9/44 ถ้าเป็นฟ้องแบ่งสินสมรส แม้ฟ้องหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วก็ยังถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 3/40, 4/40,7/40, 9/40, , 31/40,ยช.2/42, ยช.17/44 ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูของตนหรือของบุตรผู้เยาว์จากอีกฝ่าย เป็นคดีครอบครัว แม้จะเป็นการฟ้องเรียกตามสัญญาก็ตาม

คำวินิจฉัยที่ 7/38 ฟ้องหย่าโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 5/36,30/40, 32/40, ยช.7/43, ยช.24/44 สามีภริยาฟ้องเรียกสินส่วนตัวจากอีกฝ่ายหรือจากบุตร เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 14/36 ฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตรตาม ป.พ.พ. เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 19/39 การขอคืนของกลางถ้าศาลเยาวชนสั่งริบต้องขอคืนต่อศาลเยาวชนเพราะเป็นศาลที่มีคำสั่งให้ริบ

คำวินิจฉัยที่ ยช.25/41, ยช.10/42, ยช.26/44 การที่ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนจากฝ่ายหญิงตามสัญญา สินสอดของโจทก์เรียกคืนได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1437 วรรค 3, 4 เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.2/44 ฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยเป็นชู้ร่วมปรเวณีกับภรรยาโจทก์ อันเป็นการฟ้องเรียกค่าทดแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1523 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติตามบรรพ 5 เป็นการเฉพาะทั้งเป็นคดีที่กระทบต่อสิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาหาใช่คดีละเมิดธรรมดาไม่ จึงถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.15/44 โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของจำเลยฟ้องขับไล่จำเลยโดยอ้างว่าเป็นผู้ทรงสิทธิในการเช่านา ปัญหาจึงมีว่าสิทธิในการเช่านาและจำเลยทะละเมิดแก่โจทก์ แต่สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรส ดังนั้นจึงเกิดข้อโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ในความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จำเลย ซึ่งเป็นสามีภรรยาว่าผู้ใดมีอำนาจจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1476 อันเป็นบทบัญญัติในบรรพ 5 จึงถือว่าเป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.21/44 โจทก์ไม่ได้เป็นสามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ได้ทำบันทึกข้อตกลง ตกลงจะชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู และจะไปจดทะเบียนรับรองบุตรให้ มีกรณีที่ต้องตามมาตรา 1555 รวมอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติในบรรพ 5 จึงถือว่าเป็นคดีครอบครัว

[ "ไม่เป็นคดีครอบครัว"

คำวินิจฉัยที่ 10/36, ยช.3/41, ยช.5/43 ยช.15/43 กรณีสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันไม่ใช่เป็นการฟ้องแบ่งสินสมรส ไม่ใช่คดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 7/37 ฟ้องหย่าโดยอาศัยสัญญาหย่าโดยความยินยอม ไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 1/35, 18/36 ผู้เยาว์ฟ้องผู้จัดการมรดกให้โอนที่ดินที่เจ้ามรดกให้แก่ตนก่อนตาย, ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 4/35, 3/38 ฟ้องผู้เยาว์และพ่อแม่เรียกค่าเสียหายในข้อหาผู้เยาว์ทำละเมิด ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับส่วนได้เสียของผู้เยาว์ตามที่ ป.พ.พ. คุ้มครอง ไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 15/36, 2/37, ยช.23/41 ฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมกับผู้เยาว์ ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว, สถานะทางกฎหมาย, ส่วนได้เสียของผู้เยาว์ที่ ป.พ.พ. คุ้มครอง ไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 3/36, 4/36, ยช.8/41,ยช.29/41, ยช.9/43, ยช.8/44, ยช.13/44 ขอให้ศาลสั่งว่าเป็นคนสาบสูญ ไม่ใช่คดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 19/40, ยช.1/43, ยช.3/44 ขอจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 48 ไม่ใช่คดีครอบครัว แม้ผู้ร้องจะเป็นภริยาของผู้ไม่อยู่ก็ตาม

คำวินิจฉัยที่ ยช.6/41 คดีพ่อแม่ฟ้องบุตร ขอคืนการให้เพราะประพฤติเนรคุณ ไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 1/37, 10/37 ผู้เยาว์ร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 17/36, 1/38 การฟ้องคดีโดยอาศัยมูลละเมิดไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ 14/25, ยช.14/42, ยช.15/42, ยช.24/42 คดีที่ใช้กฎหมายอิสลามไม่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนไม่เป็นคดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.11/41 ฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมการให้ แต่โจทก์มิได้มีนิติสัมพันธ์ในทางครอบครัวอันเป็นการเพิกถอนนิติกรรมทั่วๆไป จึงไม่ใช่คดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.30/42 ฟ้องนายอำเภอซึ่งเป็นนายทะเบียนว่าการจดรับบุตรบุญธรรมที่จดไปไม่มีผลสมบูรณ์ขอให้เพิกถอน เห็นไดว่าโจทก์ไม่ได้มีนิติสัมพันธ์ในทางครอบครัวกับจำเลยทั้งจุดประสงค์ในการฟ้องเพื่อไม่ให้ อ.ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งเป็นมรดกเท่านั้น จึงไม่ใช่ฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/33 จึงไม่ใช่คดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.15/43 คดีฟ้องขอให้โอนที่ดินคืนโดยอ้างว่าการรับโอนที่ดินเกิดเนื่องมาจากกลฉ้อฉล การโอนเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 จึงไม่ใช่คดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.16/44 โจทก์ซึ่งเป็นผู้อนุบาลของ ธ. ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโดยอ้างว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้ทำนิติกรรมโดยรู้อยู่แล้วว่า ธ.เป็นโรคสมองเสื่อม ถือว่าเป็นกรณีที่ผู้อนุบาลใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 29 และมาตรา 175(2) อันเป็นการเพิกถอนนิติกรรมทั่วๆไป จึงไม่ใช่คดีครอบครัว

คำวินิจฉัยที่ ยช.2/45โจทก์ฟ้องว่าได้หย่าขาดจากกันแล้วแต่จำเลยยังคงใช้นามสกุลของโจทก์อยู่ กรณีเป็นการโต้แย้งสิทธิหน้าตามพ.ร.บ.ชื่อบุคคลมาตรา 12,13,18 จึงไม่ใช่คดีครอบครัว

มาตรา 12 กรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนหรือศาลยุติธรรมอื่น ให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาให้เป็นที่สุด

ข้อสังเกต

  • คำว่าศาลยุติธรรมอื่น = ศาลชั้นต้นเท่านั้น (คำวินิจฉัยที่ ยช.5/44)
  • คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชน ศาลชั้นต้นหรือศาลฎีกาไม่มีอำนาจชี้ขาดเพราะเป็นอำนาจเฉพาะประธานศาลฎีกาเท่านั้น (ฎีกาที่ 3308/38)

มาตรา 14 ในระหว่างการพิจารณาของศาล แม้จำเลยจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ หรือเกิน 20 ปีบริบูรณ์หรือบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส ให้ศาลนั้นคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปจนเสร็จสำนวน

*มาตรา 15 กรณีที่ปรากฏภายหลังว่าข้อเท็จจริงในเรื่องอายุหรือการบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสของบุตรที่เกี่ยวข้องจะผิดไปหรือศาลอื่นรับพิจารณาพิพากษาโดยขัดมาตรา 13 (ถ้าศาลเยาวชนเปิดแล้วห้ามศาลอื่นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนไว้) ซึ่งถ้าปรากฏเสียแต่ต้นจะเป็นเหตุศาลนั้น ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาข้อบกพร่องดังกล่าวไม่ทำให้การพิจารณาพิพากษาของศาลในคดีธรรมดาและศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนเสียไป

ถ้าข้อเท็จจริงตามวรรคหนึ่ง ปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาไม่ว่าศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา ให้ศาลนั้นโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป

ฎีกาที่ 1210/2537 จำเลยอายุ 15 ปีเศษขณะทำผิด แต่ข้อเท็จจริงเรื่องอายุไม่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น แต่ปรากฏในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาและได้โอนไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ถือว่าเป็นการโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาตามมาตรา 15 แล้ว จึงไม่ต้องโอนไปยังศาลเยาวชนฯ

ฎีกาที่ 4578/39 จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่ามีอายุ 19 ปี แจ้งศาลว่ามีอายุ 19 ปี โจทก์และศาลชั้นต้นจึงเข้าใจว่าจำเลยมีอายุ 19 ปี ในชั้นอุทธรณ์ปรากฏว่าจำเลยอายุ 16 ปีเศษ ศาลอุทธรณ์ต้องโอนคดีไปให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิจารณา มิใช่ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำวินิจฉัยที่ ยช.12/43 ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นในระหว่างการพิจารณาไม่ว่าศาลชั้นต้น อุทธรณ์ ฎีกา ให้ศาลนั้นโอนคดีไปยังศาลที่มีอำนาจเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป

มาตรา 16 ในศาลเยาวชนทุกศาลให้มีผู้พิพากษาและผู้พิพากษาสมทบ ตาม ยธ.1 กำหนด

มาตรา 18 ในศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ให้มีอธิบดี 1 คน รอง 2 คน เลขานุการ 1 คน ถ้า ร.ม.ต. เห็นว่ามีความจำเป็นจะให้มีรองอธิบดีมากกว่า 2 คนก็ได้

ในศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดให้มีหัวหน้าศาล 1 คน กรณีตั้งแผนกเยาวชนและครอบครัวให้มีหัวหน้าแผนก 1 คน และเพื่อประโยชน์แห่ง พ.ร.บ.นี้ให้หัวหน้าแผนกมีฐานะเสมือนหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด

ข้อสังเกต

  • ปัจจุบันรองอธิบดีมี 3 คน

มาตรา 19 เมื่ออธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลางว่างลง, ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองทำการแทน ถ้ารองมากกว่า 1 คน ให้ผู้มีอาวุโสสูงสุดทำการแทน ถ้ารองอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ในรองที่อาวุโสถัดลงมาทำการแทน

เมื่อหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด, หัวหน้าแผนกว่างลง, ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้พิพากษา ผู้อาวุโสสูงสุดในศาล, แผนกนั้นทำการแทน ถ้าอาวุโสสูงสุดไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้อาวุโสถัดลงมาทำการแทน

กรณีไม่มีผู้ทำการแทนตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้ ยธ.1 สั่งให้ผู้พิพากษาศาลใดศาลหนึ่งเป็นผู้ทำการแทนก็ได้

**มาตรา 24 ภายใต้บังคับ มาตรา 25 ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษา ไม่น้อยกว่า 2 คนและผู้พิพากษาสมทบอีก 2 ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ ส่วนการทำคำพิพากษาหรือคำสั่งถ้าจะต้องทำโดยองค์คณะพิจารณาหลายคนคำพิพากษานั้นต้องบังคับตามเสียงข้างมากขององค์คณะ กรณีมีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้นำพระธรรมนูญศาล ป.วิ.อ. ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวใดจะต้องมีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะหรือไม่เป็นไปตามมาตรา 109

ข้อสังเกต

  • ในคดีอาญาใช้ ป.วิ.อ. มาตรา 184(คือต้องยอมเห็นด้วยกับฝ่าที่เป็นคุณแก่จำเลย)
  • ในคดีแพ่งใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 140 หรือใช้พระธรรมนูญศาลมาตรา 29 ประกอบ 31(3)
  • องค์คณะคดีครอบครัวทั่วไป à อาชีพ ๒ คน และสมทบ ๒ คน( มาตรา ๑๖+๒๖) ซึ่งอย่างน้อย ๑ คนต้องเป็นหญิง (มาตรา ๒๔)
  • องค์คณะคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสีย à อาชีพ ๒ คน ส่วนสมทบจะมีหรือไม่ให้ศาลถามคู่ความก่อนเริ่มพิจารณาว่าประสงค์ให้มีผู้พิพากษาสมทบหรือไม่ ( มาตรา ๒๔+๑๐๙)
  • องค์คณะคดีอาญา à อาชีพ ๒ คน (มาตรา ๗๐กำหนดเรื่องเจ้าของสำนวน)และสมทบ ๒ คน (มาตรา ๒๔)

            *มาตรา 109 ในการกำหนดองค์คณะตามมาตรา 24 วรรค 2 ถ้าศาลเห็นว่าคดีครอบครัวใดที่ศาลจะพิจารณาพิพากษา เป็นคดีที่ผู้เยาว์ไม่มีผลประโยชน์, ส่วนได้เสียก่อนเริ่มพิจารณาคดี ให้ศาลสอบถามคู่ความ ว่าประสงค์ให้มีผู้พิพากษาสมทบหรือไม่ ถ้าคู่ความ 2 ฝ่ายหรือฝ่ายใดไม่ประสงค์ให้มีผู้พิพากษาสมทบให้ผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 2 คน เป็นองค์คณะได้

ในระหว่างการพิจารณาที่ไม่มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่าคดีนั้นเป็นคดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์, ส่วนได้เสียให้ศาลกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะ แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระบวนพิจารณาที่ดำเนินไปแล้ว

ข้อสังเกต

  • ในวรรคแรกถ้าคู่ความไม่ประสงค์ให้มีผู้พิพากษาสมทบศาลต้องกำหนดให้มีแต่ผู้พิพากษาธรรมดาเท่านั้น
  • ในวรรคสองถ้าศาลยังคงเพิกเฉยไม่จัดให้มีผู้พิพากษาสมทบร่วมพิจารณาด้วยแล้วการพิจารณาหลังจากนั้นย่อมไม่ชอบ

*มาตรา 25 คดีซึ่งอยู่ในอำนาจอธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง รองอธิบดี หัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หัวหน้าแผนก ผู้พิพากษาศาลเยาวชน คนใดคนหนึ่ง ตามพระธรรมนูญศาล มาตรา 21, 22 ถ้าอธิบดี หัวหน้าศาล หัวหน้าแผนก เห็นว่าในการพิจารณาคดีนั้น มีเหตุสมควรสั่งให้ผู้พิพากษาสมทบคนใดนั่งพิจารณาร่วมกับผู้พิพากษาศาลเยาวชนก็ได้ หรือจะสั่งให้ผู้พิพากษาศาลเยาวชนคนใดร่วมเป็นองค์คณะด้วยก็ให้มีอำนาจสั่งได้และให้องค์คณะเช่นว่านี้มีอำนาจตามมาตรา 22 (5), (6) ตามพระธรรมนูญศาล

ข้อสังเกต

  • มาตรา 21, 22 = มาตรา 24, 25 ตามพระธรรมนูญใหม่
  • มาตรา 22 (5), (6) = มาตรา 25 (4), (5) ตามพระธรรมนูญใหม่

มาตรา 30 วรรค 2 ผู้พิพากษาสมทบที่นั่งพิจารณาคดีใดจะต้องพิจารณาคดีนั้นจนเสร็จเว้นแต่เจ็บป่วยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นในกรณีเช่นว่านี้ ให้อธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง หัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด หัวหน้าแผนกจัดให้มีผู้พิพากษาสมทบอื่น เข้าปฏิบัติหน้าที่แทน

มาตรา 49 ห้ามมิให้จับกุมเด็ก ซึ่งต้องหาว่ากระทำผิด เว้นแต่เด็กจะได้ทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีผู้เสียหายชี้ตัวและยืนยันให้จับหรือมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าร้องทุกข์ไว้แล้วหรือมีหมายจับ ตาม ป.วิ.อ.

การจับกุมเยาวชน ให้เป็นไปตาม ป.วิ.อ.

ข้อสังเกต

  • การจับเยาวชนใช้ ป.วิ.อ. มาตรา 78 เหมือนจับผู้ใหญ่

*มาตรา 50 ภายใต้บังคับเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดีอาญาเมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดและคดีนั้นจะต้องได้รับการพิจารณาพิพากษาในศาลเยาวชน ให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมหรือควบคุมเด็กหรือเยาวชน แจ้งการจับกุมไปยัง ผอ.สถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอยู่ในเขตอำนาจ ตลอดจนบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กหรือเยาวชนนั้นอาศัยอยู่โดยไม่ชักช้า ในกรณีเช่นว่า พนักงานสอบสวนจะต้องถามปากคำให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่เด็กหรือเยาวชนนั้นมาถึงที่ทำการ เมื่อถามปากคำแล้วให้ส่งตัวเด็กหรือเยาวชนไปยังสถานพินิจ ผอ.จะควบคุมเด็กหรือเยาวชนไว้หรือจะปล่อยชั่วคราวโดยมอบตัวเด็กหรือเยาวชนแก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือคนที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ด้วย โดยมี, ไม่มีประกัน, มีประกันและหลักประกันก็ได้หรือจะมอบตัวไว้กับบุคคล, องค์กรที่เห็นสมควรก็ได้

เมื่อมีคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ให้ผอ.สั่งโดยพลัน หากไม่เห็นสมควรให้รีบส่งคำร้องขอพร้อมความเห็นไปให้อธิบดีศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง, หัวหน้าศาล, หัวหน้าแผนก เพื่อพิจารณาสั่ง คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดแต่ไม่ต้องตัดสิทธิที่จะยื่นขอใหม่

ส่วนการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนต่อไปตาม ป.วิ.อ. แม้ว่าจะมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอายุของเด็กหรือเยาวชนก็ตาม

ข้อสังเกต

  • ผ.อ.มีอำนาจตามมาตรา ๓๔ (๓)
  • มาตรานี้จะขัด ร.ธ.น. มาตรา 239 ว.2 ?
  • ดู ป.วิ.อ. มาตรา 37, 38 คือถ้าเปรียบเทียบได้ก็ไม่ต้องส่งตัวไปสถานพินิจ

**มาตรา 51 เมื่อมีการจับกุมเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่าทำผิด ให้พนักงานสอบสวนรีบสอบสวนเพื่อให้อัยการฟ้องต่อศาลเยาวชนฯ ให้ทันภายใน 30 วันนับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นถูกจับกุม

ในกรณีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 5 ปี จะมีปรับหรือไม่ก็ตาม หากเกิดความจำเป็นไม่สามารถฟ้องต่อศาลให้ทัน 30 วัน ให้พนักงานสอบสวนหรืออัยการยื่นฟ้องขอผัดฟ้องอีกครั้งละไม่เกิน 15 วัน แต่ต้องไม่เกิน 2 ครั้ง (30 วัน)

ในกรณีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกเกิน 5 ปี เมื่อศาลสั่งอนุญาตให้ผัดฟ้องครบ 2 ครั้งแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรืออัยการขอผัดฟ้องต่อไปอีก โดยอ้างเหตุจำเป็นศาลจะอนุญาตได้ต่อเมื่อได้แสดงถึงเหตุจำเป็นและนำพยานมาเบิกความประกอบจนเป็นที่พอใจแก่ศาล กรณีนี้ศาลมีอำนาจอนุญาตให้ผัดฟ้องต่อได้อีก 2 ครั้ง ๆ 15 วัน (30 วัน)

ในการพิจารณาคำร้องขอผัดฟ้อง เด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาจะตั้งที่ปรึกษากฎหมายเพื่อแถลงข้อคัดค้าน, ซักถามพยานได้

มาตรานี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบแห่งท้องที่นอกเขตศาลเยาวชนเป็นผู้สอบสวน แต่พนักงานสอบสวนเช่นว่านั้นจะต้องรีบดำเนินการสอบสวนและส่งสำนวนสอบสวนพร้อมความเห็นไปยังอัยการเพื่อฟ้องให้ทันภายใน 30 วัน นับแต่วันถูกจับกุม เว้นแต่ความผิดที่มีอัตราโทษอย่างสูงให้จำคุกเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 5 ปี ให้ขยายระยะเวลาเป็น 60 วัน นับแต่ถูกจับกุมและความผิดที่มีโทษอย่างสูงให้จำคุกเกิน 5 ปี ให้ขยายระยะเวลาเป็น 90 วันนับแต่วันที่ถูกจับกุม

ข้อสังเกต

  • มาตรา 51 วรรค 1 ในการนับ 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับเป็นวันที่ 1 ทันทีไม่ว่าจะถูกจับเวลาใด
  • ในการขอผัดฟ้องคดีเด็กจะไม่มีการขอฝากขัง
  • ที่ปรึกษากฎหมายตามมาตรานี้ = ทนายความ

ฎีกาที่ 8406/2540, 903/2541, 2257/2541 ในกรณีที่ท้องที่ที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนไม่มีศาลเยาวชนและคดีนั้นต้องฟ้องต่อศาลเยาวชนแล้ว อัยการก็มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเยาวชนได้ แม้จะพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ถูกจับกุมโดยอัยการหรือพนักงานสอบสวนไม่ต้องขอผัดฟ้อง แต่ถ้าในท้องที่นั้นมีศาลเยาวชนอยู่ในเขตอำนาจแล้ว แม้จะมีศาลเยาวชนอื่นที่มีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดนั้นด้วยตามมาตรา 58 ก็ตาม กรณีจะนำมาตรา 51 วรรคห้ามาใช้บังคับหาได้ไม่

มาตรา 52 กรณีเด็กหรือเยาวชนผู้ต้องหาหลบหนีจากการควบคุมในระหว่างสอบสวนมิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเข้าในกำหนดเวลาตามมาตรา 51

*มาตรา 53 ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาตามมาตรา 51 เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด

*มาตรา 58 คดีอาญาที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนทำผิดให้ศาลเยาวชนซึ่งมีเขตอำนาจในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นอยู่ปกติ มีอำนาจพิจารณาคดี แต่ถ้า

    1. ในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นที่อยู่ปกติไม่มีศาลเยาวชนแต่มีศาลเยาวชนในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนทำผิด ให้ศาลซึ่งความผิดเกิดในเขตมีอำนาจพิจารณา
    2. มีศาลเยาวชนทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นอยู่ปกติและในท้องที่ที่เด็กหรือ เยาวชนกระทำความผิด เพื่อประโยชน์แก่เด็กหรือเยาวชนให้ศาลท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนทำความผิดมีอำนาจรับพิจารณาได้ด้วย
    3. ถ้าไม่มีศาลเยาวชน ทั้งในท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนมีถิ่นอยู่ปกติและท้องที่ที่เด็กหรือเยาวชนทำความผิด ให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ. มีอำนาจพิจารณา

ข้อสังเกต

  • ถิ่นที่อยู่ปกติของเด็กหรือเยาวชน = ถิ่นที่เด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่จริง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นคนละแห่งกับภูมิลำเนาตามกฎหมาย
  • “เพื่อประโยชน์” = ประโยชน์ในการสืบเสาะ,รวบรวมพยาน ตามมาตรา 60
  • มาตรานี้เป็นอำนาจศาลเกี่ยวกับคดีอาญาเท่านั้น หากเป็นคดีครอบครัวตามมาตรา 11(3) ย่อมไม่อยู่ในบังคับของมาตรานี้ และตามพ.ร.บ.นี้ก็ไม่มีบัญญัติไว้จึงต้องใช้มาตรา 6 ที่ให้นำ ป.วิ.พ.มาใช้

ฎีกาที่ 1328/2523 จำเลยเป็นเยาวชนย้ายจากเขตจังหวัดธนบุรีมาอยู่ที่นนทบุรีตั้งแต่ยังเด็ก แต่ยังไม่ได้แจ้งย้ายทะเบียน ต่อมาจำเลยทำงานรับจ้างเป็นกระเป๋ารถสองแถวแต่อยู่กินหลับนอนกับนายจ้างที่จังหวัดนนทบุรี แม้มารดาจำเลยจะแจ้งย้ายทะเบียนอยู่ในเขตกรุงเทพ แต่จำเลยไปเยี่ยมมารดาทุกอาทิตย์ บางครั้งนอนค้างก็เป็นเพียงไปเยี่ยมมารดาเป็นครั้งคราวเท่านั้น ดังนั้นถิ่นที่อยู่ปกติของจำเลยจึงอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี (ผช.ปี2528)

มาตรา 59 ถ้าเด็กหรือเยาวชน ทำความผิดอาญาร่วมกับบุคคลซึ่งมิใช่เด็กหรือเยาวชน ให้แยกฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนถ้าโจทก์ยื่นฟ้องไปแล้วต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา แต่ต่อมาความปรากฏต่อศาลว่า จำเลยเป็นเด็กหรือเยาวชน ถ้าเห็นสมควรให้ศาลมีอำนาจโอนคดีเด็กหรือเยาวชนไปพิจารณายังศาลเยาวชนตามมาตรา 58 แต่ถ้าเห็นว่าไม่สมควรโอนให้ศาลมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ. นี้ แก่จำเลยที่เป็นเด็กหรือเยาวชนได้

ข้อสังเกต

  • วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ. นี้ อยู่ในมาตรา 104-107

*มาตรา 62 กรณีมีการโอนคดีจากศาลเยาวชนไปยังศาลอื่นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 26 จะโอนไปยังศาลที่ใช้วิธีพิจารณาต่างกับศาลเยาวชนไม่ได้

ข้อสังเกต

  • ศาลที่จะรับโอนจะต้องเป็นศาลเยาวชนฯหรือศาลแผนกคดีเยาวชนฯของศาลจังหวัดเท่านั้น

ฎีกาที่ 471/2498 คดีที่ศาลเยาวชนฯรับไว้พิจารณาแล้วจะขอโอนไปยังศาลธรรมดาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 26ไม่ได้

มาตรา 63 ในกรณีที่เด็กหรือเยาวชนต้องหาว่าทำผิดเมื่อ ผอ.สถานพินิจ พิจารณาโดยคำนึงถึง อายุ ความประพฤติ การศึกษา ภาวะแห่งจิต นิสัย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนแล้ว เห็นว่าเด็กหรือเยาวชนอาจกลับตัวเป็นคนดีได้โดยไม่ต้องฟ้องและเด็กหรือเยาวชนยอมที่จะอยู่ในความควบคุมของสถานพินิจด้วยแล้ว ให้ ผอ.สถานแจ้งความเห็นไปยังอัยการ ถ้าอัยการเห็นชอบให้มีอำนาจสั่งไม่ฟ้อง คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุด

การควบคุมเด็กหรือเยาวชนในสถานพินิจให้มีกำหนดเวลาตาม ผอ.เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 2 ปี

มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับแก่การทำผิดที่มีโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป

ข้อสังเกต

  • มาตรานี้ยังไม่เคยได้ใช้บังคับ
  • การฟ้องคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เป็นอำนาจ ผอ.

*มาตรา 64 ห้ามผู้เสียหายฟ้องคดีอาญา ที่มีข้อหาว่าเด็กหรือเยาวชนทำผิดต่อศาลเยาวชนและครอบครัว เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ผอ.สถานพินิจที่เด็กหรือเยาวชนอยู่ในเขตอำนาจ

เมื่อ ผอ. ได้รับการร้องขอแล้วให้ดำเนินการสอบสวนว่าคดีมีมูลสมควรอนุญาตหรือไม่แล้วแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ

กรณี ผอ. ไม่อนุญาต ผู้เสียหายจะร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้ในกรณีนี้ให้ศาลเรียก ผอ.มาสอบถามแล้วสั่งตามที่เห็นสมควร คำสั่งศาลนี้ให้เป็นที่สุด

เมื่อศาลเยาวชนได้รับฟ้องของผู้เสียหายแล้วให้ ผอ.ดำเนินการตามมาตรา 55 ตามควรแก่กรณี

ฎีกาที่ 629/2501 การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องจึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจาก ผอ.สถานพินิจก่อน

มาตรา 65 ก่อนศาลเยาวชนจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องให้ศาลแจ้ง ผอ.ทราบก่อนถ้า ผอ.พิจารณาตามมาตรา 63 แล้วเห็นว่า เพื่อสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กหรือเยาวชน สมควรให้มีการควบคุมความประพฤติของเด็กหรือเยาวชน ให้เสนอต่อศาล ถ้าศาลเห็นสมควรให้มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมประพฤติได้และให้นำมาตรา 100, 101 มาใช้โดยอนุโลม

ข้อสังเกต

  • การถอนฟ้องต้องดู ป.วิ.อ. มาตรา 35 ประกอบ
  • ใช้ได้เฉพาะในศาลชั้นต้นจะนำมาใช้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้

มาตรา 69 เมื่อศาลเยาวชนได้รับฟ้องคดีให้ศาลแจ้งให้ ผอ.และแจ้งบิดามารดาเด็กหรือเยาวชน

ทราบถึงวันและเวลานั่งพิจารณาของศาลโดยไม่ชักช้า

มาตรา 73 การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนให้ทำเป็นการลับ

มาตรา 77 การพิจารณาคดีเด็กหรือเยาวชนที่เป็นจำเลยไม่ต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ. โดยเคร่งครัด และให้ใช้ถ้อยคำที่จำเลยสามารถเข้าใจได้โดยง่าย

มาตรา 83 คดีเด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลยจะมีทนายแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อทำหน้าที่ทำนองเดียวกับทนายได้ กรณีไม่มีที่ปรึกษากฎหมายให้ศาลแต่งตั้งให้เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการและศาลเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดี

 

ข้อสังเกต

  • มาตรานี้ห้ามเฉพาะจำเลย

*มาตรา 104 ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กมีอำนาจใช้วิธีการสำหรับเด็กแทนการลงโทษอาญาหรือวิธีเพื่อความปลอดภัยได้ดังนี้

    1. เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีเพื่อความปลอดภัย ตามมาตรา 39 (1) ป.อ. เป็นกักและอบรม ในสถานพินิจตามเวลาที่ศาลกำหนด แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์
    2. เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจ สถานศึกษา สถานฝึกและอบรม สถานแนะนำทางจิต แต่ต้องไม่เกินกว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์
    3. เปลี่ยนโทษปรับเป็นคุมประพฤติ โดยกำหนดเงื่อนไขข้อเดียวหรือหลายข้อตามาตรา 100 ด้วยก็ได้ หลักเกณฑ์และวิธีกักและอบรมให้เป็นไปตามกฎกระทรวง

กรณีศาลพิจารณาความหนักเบาแห่งพยานแล้วเห็นว่าควรกักหรือควบคุมตัวตาม (1), (2) ต่อไปหลังจากเด็กหรือเยาวชนมีอายุครบ 24 ปีบริบูรณ์แล้ว ให้ศาลระบุในคำพิพากษาให้ส่งตัวไปไว้ในเรือนจำตามเวลาที่ศาลกำหนด

ข้อสังเกต

  • เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุดเป็นวิธีการซึ่งศาลธรรมดาจะนำไปใช้ไม่ได้ แต่มียกเว้นในมาตรา59 เท่านั้น
  • มาตรานี้กฎหมายให้อำนาจศาลเยาวชนฯ เปลี่ยนเฉพาะโทษจำคุกกับโทษปรับเท่านั้น (โทษประหาร, กักขัง, ริบทรัพย์ ตาม ป.อ. เปลี่ยนไม่ได้)

*มาตรา 106 คดีอาญาศาลเยาวชน จะพิพากษาให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษก็ได้ แม้ว่า

    1. เด็กหรือเยาวชนได้เคยรับโทษจำคุก, โทษอื่นมาก่อนแล้ว
    2. โทษจะลงแก่เด็กหรือเยาวชนเป็นโทษอย่างอื่นนอกจากจำคุก
    3. ศาลจะกำหนดโทษจำคุกเกินกว่า 2 ปี

ข้อสังเกต

  • ถ้าคดีผู้ใหญ่เคยรับโทษจำคุกมาแล้วตาม ป.อ. มาตรา 56 จะรอการลงโทษ, รอการกำหนดโทษไม่ได้
  • โทษปรับก็รอได้, โทษกักขังก็รอได้

มาตรา 107 กรณีต้องโทษปรับ ถ้าเด็กไม่ชำระค่าปรับ ห้ามศาลสั่งกักขังแทนค่าปรับ แต่ให้ศาลส่งไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมในสถานพินิจ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี

ข้อสังเกต

  • มาตรานี้ ไม่ห้ามศาลที่จะไปยึดทรัพย์สินแทนค่าปรับ

*มาตรา 121 คดีที่ศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์, ศาลอุทธรณ์ภาค ได้อย่างคดีธรรมดา เว้นแต่กรณีที่ศาลเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างใดต่อไปนี้

    1. กำหนดให้ใช้วิธีตามมาตรา 74 (1) และ (5) แห่ง ป.อ.
    2. กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 104 เว้นแต่กรณีที่การใช้วิธีสำหรับเด็กและเยาวชนเป็นการพิพากษาให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดเกิน 3 ปี
    3. กำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามมาตรา 105 เว้นแต่การกักและอบรมมีกำหนดขั้นสูงเกิน 3 ปี

ข้อสังเกต

  • อุทธรณ์ได้ปกติตามหลัก ป.วิ.อ.
  • ตาม (1) นั้น มาตรา 74 (1) = ว่ากล่าวตักเตือนแล้วปล่อยตัวไป (5) = ส่งเด็กไปยังโรงเรียนสถานฝึกอบรม ตามศาลกำหนดแต่ไม่เกินกว่าอายุ 18 ปี
  • กรณีตามมาตรานี้จะต้องห้ามอุทธรณ์เว้นแต่จะเข้ามาตรา 122

ฎีกาที่ 1071/2496 คดีที่ศาลเยาวชนพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ทุกคดีเว้นแต่เป็นข้อยกเว้น คดีนี้จำเลยอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำผิดดังฟ้อง ไม่ใช่อุทธรณ์ในคดีศาลใช้ดุลพินิจให้ส่งไปควบคุมไว้ในสถานพินิจเพราะฉะนั้นคดีจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

ฎีกาที่ 1236/2510 คดีอาญาของศาลเยาวชนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง โดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจนั้นถือว่าศาลมิได้ลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 218

ฎีกาที่ 1967/2515 คดีอาญาของศาลเยาวชนแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ทั้งหมดและกำหนดโทษที่ศาลขั้นต้นวางมา เป็นการแก้มากแต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจนั้นถือไม่ได้ว่าพิพากษาลงโทษจำคุกเกิน 1 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

ฎีกาที่ 265/2514 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปยังสถานพินิจตาม ป.อ.มาตรา 74 (5) จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนแปลงดุลพินิจย่อมเป็นฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 121 และ 124

ฎีกาที่ 306/2527 คดีที่ศาลเยาวชนพิพากษาหรือมีคำสั่งนั้นจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา121 เฉพาะคดีที่ศาลใช้ดุลพินิจเปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็ก บางประการเท่านั้นมิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

ฎีกาที่ 306/2521 คดีที่ศาลเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้นจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลได้ใช้วิธีการเปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีเพื่อความปลอดภัยเป็นการใช้วิธีการสำหรับเด็กบางประการเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจของศาล มิได้ห้ามคู่ความอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด

ฎีกาที่ 1491/2540 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยจำคุก 4 ปี และเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมมีกำหนด 3 ปี นับแต่วันพิพากษาตามาตรา 104 (2) คดีถึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อที่เกี่ยวกับการใช้วิธีการสำหรับเด็ก เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กรอการลงโทษแก่จำเลย คดีจึงต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 124 ทั้งคดีไม่อาจมีการอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เพราะหากกฎหมายประสงค์จะให้มีการอนุญาตก็ชอบที่บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งและกรณีก็ไม่อาจนำมาตรา 221 ตาม ป.วิ.อ. มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้

ฎีกาที่ 4796/2541 ศาลเยาวชนพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมที่สถานพินิจ จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้เปลี่ยนโทษเป็นการรอการลงโทษ เป็นการฎีกาในกรณีที่ศาลเยาวชนได้มีคำพิพากษากำหนดวิธีการสำหรับเด็กตามมาตรา 121 (2) จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา 124

ฎีกาที่ 4984/2541 กรณีตามมาตรา 121 (2) ที่ศาลเยาวชนส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจตาม ป.อ. มาตรา 74 (5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมเท่านั้น ส่วนการที่คู่ความจะกาในข้อเท็จจริงอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ.

*มาตรา 122 คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 121 ถ้าอธิบดี หัวหน้าศาล เห็นว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค และอนุญาตให้อุทธรณ์ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป

ข้อสังเกต

  • มาตรานี้จะใช้กับคดีที่ต้องห้ามตามมาตรา 121 เท่านั้น แต่ถ้าต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. จะมาใช้มาตรานี้ไม่ได้
  • มาตรานี้ไม่ใช้ในคดีแพ่งและคดีครอบครัว ในคดีแพ่งต้องใช้หลักการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223-246 มาใช้บังคับ

*มาตรา 124 คดีที่ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งให้ฎีกาไปยังศาลฎีกาตามวิธีพิจารณาเหมือนคดีธรรมดา เว้นแต่ต้องห้ามตามมาตรา 121

  ข้อสังเกต

  • ใช้หลักการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247-252 มาใช้บังคับ

ฎีกาที่ 1185/2496, 1491/40, 7427/41 แม้อธิบดีรับรองให้ฎีกาได้ก็ไม่เป็นฎีกาที่ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยให้

 

P มาตราที่น่าสนใจ

มาตรา 2*,4,5*,6*,9,10,11*,12,(13,59),14,15*,24*,25*,26,49,50,51,52,,3,55,57,58,59,60,61,62*,63,64*,65*,

67,68,70,73,77*,81*,83,94*,95*,96*-100*,101,104*-106*,109*,116,117,118*,119,120,121*,122*,124*

P มาตราที่เคยออกสอบ

(เนติ) มาตรา 59,106,64,11(3),5,11(1)

(ผู้ช่วยฯ) มาตรา 11(3),5,58,15,121,104(2),24,109,100,101,118

 

ขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบครับ ผู้รวบรวม....นายพิพัฒน์ กิจเสถียรพงษ์ นิติศาสตรบัณฑิต, เนติบัณฑิตไทย