Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

ตัวอย่างการตอบข้อสอบ

        กรณีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า………………………………………
 ……………………………………………………………………………………… …………………………………………………………..
        ประมวลกฎหมาย……หลักกฎหมายใจความสำคัญคือ……… (ใส่หลักกฎหมายเฉพาะมาตราหลักของข้อนั้น ๆ)
        ก่อนอื่นจำต้องวินิจฉัยก่อนว่า คำว่า “…………………..” หมายความว่า……………………..
(นำมาจากนิยามตามมาตราที่ให้คำนิยามไว้ หรือมาจากคำพิพากษาฎีกา)

หมายเหตุ 3 ย่อหน้าแรกต้องใช้เวลาไม่เกิน 6 นาที เท่านั้น
“มูลคดี” หมายความว่า ต้นเหตุอันเป็นที่มาของการโต้แย้งสิทธิ ทำให้มีอำนาจฟ้อง
“มูลความแห่งคดี” หมายความว่า เนื้อหาแห่งคดีที่ฟ้องร้องกัน
“ประเด็น” หมายความว่า ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่คู่ความยกขึ้นสนับสนุนคำฟ้อง คำให้การของตน
“ประเด็นข้อพิพาท” หมายความว่า ประเด็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความไม่รับกัน
“คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า คำฟ้องที่บังคับเอากับอสังหาริมทรัพย์
“คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว” หมายความว่า คดีที่เป็นการตั้งสิทธิอันเกิดขึ้น จากความสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องในครอบครัว ไม่รวมหมั้น เพราะยังไม่เป็นครอบครัว
“คำสั่งระหว่างพิจารณา” หมายความว่า คำสั่งที่สั่งก่อนชี้ขาดตัดสินคดี ซึ่งไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง และไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228
“ความเห็นแย้ง” หมายความว่า ความเห็นของผู้พิพากษาฝ่ายข้างน้อยซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา
        ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติ ประการแรกว่า การที่………………….(ย่อข้อเท็จจริงจากข้อสอบ)
ถือว่า…………………...ตามนัยมาตรา…….……ประกอบ………………….(ย่อข้อกฎหมายจากตัวบท)
        ดังนั้น…………………………(ใช้กรณีตอบปัญหาในเชิงปฏิเสธ หรือในรายละเอียดปลีกย่อย)
        ประการสองว่า การที่……………………………(เหมือนย่อหน้าข้างต้น)
        ด้วยเหตุผลดังกล่าว……………………………..(ใช้สำหรับสรุป ถ้ามีเวลาเหลือ)
        อนึ่งกรณีปัญหาได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้ว แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ตรงทีเดียวนัก แต่พอเทียบเคียงได้………………………..(ถ้าจำเลขได้ ก็ใส่เลข ถ้าจำไม่ได้ก็ไม่ต้องใส่)

ข้อสอบจะไม่ถามถ้าท่านเป็นศาลจะสั่งอย่างไร แต่จะถามเพียงว่าถ้าท่านเป็นศาลจะรับวินิจฉัยหรือไม่, หรือถ้าท่านเป็นศาลจะวินิจฉัยในประเด็นใด, ถ้าท่านเป็นศาลจะสั่ง………….ได้หรือไม่, ข้อโต้แย้งฟังขึ้นหรือไม่, ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ อย่างไร, ผิดฐานไหน, จะได้กรรมสิทธิ์หรือไม่, ถ้าท่านเป็นโจทก์จะดำเนินการอย่างไรต่อไป

 กลับไปหน้าเดิม