Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

 

  • สรุปแนวฎีกาที่น่าสนใจ 

คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๙๙๑/๔๕ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗ ใช้กับกรณีที่ผู้เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น มิอาจใช้แก่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความนั้นภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒ แต่เมื่อได้ความว่าผู้คัดค้านมีภูมิลำเนาที่แน่นอน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องงดส่งสำเนาคำร้องให้แก่ทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดเนื่องจากเชื่อตามที่ผู้ร้องแถลงซึ่งไม่เป็นความจริงโดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านเสียก่อน ตามมาตรา ๒๑ (๒) จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายนี้ในเรื่องการส่งคำคู่ความ เมื่อผู้คัดค้าน เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะยกขึ้นพิจารณาอีก ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดตามที่เห็นควร

(มี คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๐-๓๒๑/๓๖,๓๔๗๖/๓๘วินิจฉัยไว้แนวเดียวกัน)

******คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๙/๔๓ จล.ทั้งสองเป็นหุ้นส่วนรวมกันสร้างบ้านพักรับรอง จล.๒ ในฐานะตัวแทนของจล.๑ ได้ตกลงกับ จ. ณ ที่ทำการบริษัท จ. (ที่มูลคดีเกิด) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง ให้ จ. ติดต่อซื้ออุปกรณ์จากบริษัท ล. ในนามของ จ. เพื่อนำไปสร้างบ้านพักรับรอง แล้วจล.๒ จะชำระเงินให้บริษัท ล. ในนามของ จ. หากบริษัท ล.เรียกเก็บเงินค่าสินค้าและค่าเสียหายที่จล.๒ สั่งซื้อในนาม จ. และ จ.ได้ชำระเงินให้แก่บริษัท ล.ไป จล.๒ จะชดใช้คืนจึงได้มีการติดต่อเปิดเครดิตกับบริษัท ล. โดยทางโทรศัพท์และโทรสาร ซึ่งบริษัท ล. ตกลงด้วย แม้บริษัท ล. จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่ อุตรดิตถ์แต่ข้อตกลงในการเจรจาตกลงเปิดเครดิตในการซื้อสินค้าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีคู่สัญญาสามฝ่าย คือ จ. จล.ทั้งสองโดยจล.๒เป็นตัวแทนของจล.๑ และฝ่ายบริษัท ล. โดยการทำข้อตกลงเพื่อเปิดเครดิตได้ติดต่อกันทางโทรศัพท์และโทรสารระหว่างอุตรดิตถ์และลำปาง ดังนั้นมูลคดีในการก่อให้เกิดสัญญาสามฝ่ายเกี่ยวกับการทำข้อตกลงในการเปิดเครดิตจึงเกี่ยวเนื่องกันทั้งในเขตอำนาจศาลจังหวัดอุตรดิตถ์และศาลจังหวัดลำปาง (ตามมาตรา ๕) ศาลอุตรดิตถ์จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
+มาตรา ๑๘

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๓๓/๔๕ จล.ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับคำให้การของจล.เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นคำให้การได้ศาลต้นยกคำร้อง จึงมีผลเท่ากับไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การกรณีจึงไม่จำต้องสั่งไม่รับคำให้การจล.อีก คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนของคำสั่งไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ มิใช่คำสั่งไม่รับคำให้การอันจะถือว่าเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามมาตรา ๑๘ ฉะนั้นจึงถือว่าคำสั่งนี้เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา ๒๒๖ (๑)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๕๙/๔๔ ตามพ.ร.บ.ทนายฯมาตรา ๓๓ ห้ามผู้ที่มิได้จดทะเบียนเป็นทนายหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายว่าความในศาลร่วมทั้งเรียงฟ้อง,เรียงคำให้การ การที่ จล. ยื่นคำให้การระบุว่า ส.ทนายจล.เป็นผู้เรียงและพิมพ์แต่มิได้ยื่นใบแต่งหรือหลักฐานแสดงว่า ส.เป็นทนายจึงยังไม่ชัดเจนว่าคำให้การของจล.ชอบหรือไม่ การที่ศาลมีคำสั่งให้จล.แสดงหลักฐานการเป็นทนายจึงเป็นการสั่งเพื่อตรวจคำให้การของจล. หาได้ให้ส่งเอกสารตามที่กฎหมายต้องการ ตาม มาตรา ๑๘ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบแล้ว เมื่อจล.ไม่แสดงหลักฐานการเป็นทนายของ ส . ภายในเวลาที่ศาลกำหนดจึงถือว่าคำให้การของจล.ทั้ง สองเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจเป็นคำให้การที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๘/๔๔ ประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ติดอากรมาตรา ๑๘ ไม่ได้บังคับว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารที่ต้องแนบมากับคำฟ้องดังนั้นแม้ในขณะที่ จ . ยื่นฟ้องจะไม่มีหนังสือมอบอำนาจแนบมาก็ไม่ทำให้ฟ้อง จ. ไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมายเพียงแต่ว่าเมื่อใด จ. อ้าหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานต้องติดอากรและขีดฆ่าศาลจึงจะรับฟังเป็นพยานในคดีได้ เมื่อ จ.อ้างในคำฟ้องว่ามอบอำนาจให้ บ.ฟ้องแทนซึ่งต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไปการที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโดยไม่ให้โอกาสสืบพยานก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๓๙๘/๔๒ จำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญญาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอ ฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งให้ฎีกาและคำร้องขอฟ้องฎีกา อย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่งต่อมา ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อ เท็จจริง ศาลชั้นต้นจึงสั่งในคำฟ้องฎีกาว่า ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ นั่งพิจารณาคดีมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่รับรองฎีกา ให้ยกคำร้องแล้ว จึงไม่รับฎีกาของจำเลยส่วนคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งว่าผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีไม่รับรองให้ฎีกาในปัญญาข้อเท็จจริงแล้ว จึงไม่ จำต้องไต่สวน ดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคน อนาถา ชอบแล้ว เพราะเมื่อเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ได้ ก็ชอบที่สั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดย ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อนเมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของ จำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ศาลชั้นต้นยัง ไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้น ดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาล ฎีกาจึงอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) (2) ประกอบด้วย มาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องได้ (สั่งตัวคำฟ้องก่อนสั่งคำร้องอนาถากรณีจึงไม่ชอบ)

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๐๔/๔๕ การที่ศาลจะอนุญาตให้อุท.อย่างคนอนาถาได้ตามมาตรา ๑๕๖ ต้องประกอบด้วยผู้ขอเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะอุท.หากศาลต้นเห็นว่าคดีไม่มีเหตุสมควรก็ย่อมยกคำร้องอนาถาได้โดยไม่จำต้องไต่สวนอนาถา สำหรับเหตุอันสมควรที่จะอุท.ได้หรือไม่อาจตรวจดูได้จากฟ้องอุท.ที่ต้อยื่นมาพร้อมกับคำร้องอนาถาซึ่งเป็นอำนาจตามามาตรา ๑๘ เมื่อศาลต้นเห็นว่าคำฟ้องอุท.ของ จ .มีข้อความก้าวร้าวศาล ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้แก้ไขฟ้องหรือทำมายื่นใหม่ได้โดยไม่ต้องสั่งคำร้องขออนาถาก่อน

***คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๒๔/๔๔ จ.ฟ้องขอให้จล.รับชำระเงินจาก จ. ห้าล้านห้าแสนบาทโดยกล่าวอ้างว่า จ.ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่ แก่จล.ห้าล้านห้าแสนบาทแต่จล.เรียกให้ชำระหนี้ หกล้านห้าแสนบาทซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมากจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่ว่า จ.ยังติดค้างหนี้จล.อยู่เท่าใด แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงคำให้การชำระหนี้ของ จ.ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิของ จ.ได้แน่นอนว่าต้องชำระเท่าใดอันทำให้ จ.สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่เห็นว่าถูกต้อง ณ สำนักงานวางทรัพย์ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้อง จ.ย่อมหลุดพ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๓๑ เมื่อ จ.มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องฟ้องศาล จ.ไม่มีอำนาจฟ้อง

การตรวจคำฟ้องศาลต้นต้องปฏิบัติตาม มาตรา ๑๗๒ ซึ่งบัญญัติว่าให้ศาลตรวจฟ้องแล้วสั่งให้รับไว้ ให้ยกเสีย ให้คืนไปตาม มาตรา ๑๘ คำว่า “ให้ยกเสีย”จึงเป็นการยกฟ้องของ จ.นั้นเองศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อนดังนั้นเมื่อ จ. ฟ้องโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณี จ. ไม่มีอำนาจฟ้องการที่ศาลต้นยกฟ้องทันทีโดยไม่มีคำสั่งรับฟ้องก่อนจึง

ชอบแล้ว

การที่ศาลพิเคราะห์ฟ้องแล้ว นำข้อเท็จจริงในฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับฟ้อง จ. และยกฟ้องเป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามมาตรา ๑๓๑(๒) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องศาลต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามาตรา ๑๘ จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมแก่ จ. ตามมาตรา ๑๕๑

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๗๓๓/๔๓ เมื่อฟ้องและท้ายฟ้องของ จ.ไม่อาจพิพากษาให้ได้ศาลต้นก็ชอบที่จะยกฟ้อง จ.เสียในชั้นตรวจคำฟ้องตาม ๑๓๑ (๒) การที่ศาลต้นสั่งไม่รับฟ้องและคืนค่าขึ้นศาลให้ทั้งหมดจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาสมควรแก้ให้ต้องโดยพิพากษายกคำสั่งศาลต้นและคำพิพากษาศาลอุท.และให้ยกฟ้อง จ.

+ ร้องสอด

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๔๔/๔๕ ผู้ร้องซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ ในการที่ จ.ขอรับเงินที่จล.นำมาวางศาลชอบที่จะร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาได้ตามมาตรา ๕๗(๑) และคำร้องขอรับเงินตามคำพิพากษาของผู้ร้องถือได้ว่าเป็นคำร้องสอดที่ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาตามาตรา ๕๗(๑) ศาลชอบที่จะรับคำร้องไว้เพื่อดำเนินการไต่สวนและวินิจฉัยถึงข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องในชั้นบังคับคดีให้ตามรูปคดีต่อไป

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๙๑/๔๕ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ เมื่อศาลอุท. พิพากษาว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์และผู้ร้องนำคำพิพากษาไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน ย่อมถือได้ว่าเป็นการดำเนินการชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ผู้ร้องย่อมจะเกิดความเสียหายแก่ผู้คัดค้านได้ ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตามมาตรา ๕๗(๑) การที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก จึงสามารถยื่นคำร้องขอพิสูจน์ในชั้นนี้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ร้อง คำพิพากษาศาลอุท.ไม่ผูกพันผู้ร้องตามมาตรา ๑๔๕(๒) โดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๙๓๕/๔๐ การที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านในคดีก่อนก็เพราะจำเลย ซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีก่อนนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอ เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนเป็นชื่อจำเลย เป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะมี ความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นทั้งถูกโต้แย้ง สิทธิ โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอเข้าไปในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เมื่อโจทก์ไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อน ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์เป็นบุคคลภายนอกสามารถ พิสูจน์ในชั้นบังคับคดีได้ว่าโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้น ในคดีก่อนที่แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) โดยไม้ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ คำร้องขอของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นคำฟ้อง แม้ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ แต่โจทก์ก็ยัง ฎีกาคดีก่อนจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้อง ขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่พิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้เช่าจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับ คดีก่อนว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือของจำเลย ฟ้องโจทก์นี้จึงต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1)

คำพิพากษาฎีกาที่ 3011/40 แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อศาล ชั้นต้นจะมีผลจนกว่าจำเลยที่ 2 จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ จนครบถ้วนก็ตาม แต่ที่ดินที่จำเลยที่ 2 นำมาเป็นหลักประกันนั้นศาลชั้น ต้นเพียงแต่มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานที่ดินมิให้ทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ ดินดังกล่าวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ที่ดินดังกล่าวยังมิได้ ถูกยึดหรืออายัดตามบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.หรือกฎหมายอื่น จึงไม่ต้องห้ามมิให้กรมสรรพากรยึดที่ดินดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 กรมสรรพากรย่อมมีอำนาจยึดที่ดินของจำเลยที่ 2 นำมาเป็น หลักประกันไว้ต่อศาลออกขายทอดตลอดเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีได้ การที่ผู้ร้อง ซื้อที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่กรมสรรพากรขายทอดตลอดดังกล่าวและ ได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะจะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินมิอาจดำเนินการให้ได้เพราะ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งห้ามมิให้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว ผู้ร้องซึ่งมีสิทธิ เรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ได้สั่งห้ามทำ นิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่ง ที่ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่ผู้ร้องซื้อมาจากการขายทอดตลาดได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ไม่มีเหตุตามกฎหมายใดในการที่จะไม่เพิกถอนคำสั่ง ห้ามทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๒๒/๔๒ ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่าผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถคันพิพาทและได้ฟ้อง จ.และ จล.เป็นคดีแพ่งขอให้บังคับ จ.และจล.ในคดีนี้จดทะเบียนโอนรถให้ผู้ร้อง ดังนั้นผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง บังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อพิพาทกับคู่ความเดิมเป็นการร้องสอดเข้ามาตามมาตรา ๕๗(๑) จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่งและคำร้องสอดดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา ๑(๓) ปรากฏว่าก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ผู้ร้องได้ยื่นฟ้อง จ.และจล.ในคดีนี้เป็นจล.ต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่าผู้ร้องอ้างว่าได้ซื้อและครอบครองรถคันพิพาทขอให้จดทะเบียนโอนรถให้ผู้ร้องอันเป็นประเด็นเดียวกันกับคดีนี้เมื่อคดีที่ฟ้องไว้ก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาจึงห้ามผู้ร้องยื่นฟ้องเรื่องเดียวกันนี้อีกตามมาตร ๑๗๓(๑) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาจึงเป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาฎีกาที่ 5716/39 การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1) ถือเป็นคำฟ้อง ผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ โจทก์ เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดี ระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง โดยมิได้จำหน่ายคดีเกี่ยว กับโจทก์ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการ พิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อน สำหรับโจทก์ ผู้ร้องสอดทั้งสองคงมีอำนาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาฎีกาที่ 583/38 จำเลยที่ 8 เป็นสาขาของจำเลยที่ 7 โจทก์ไม่มีพยานหลักฐาน ใดมาแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 8 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 8 จึง มิได้เป็นนิติบุคคลอันอาจถูกฟ้องให้รับผิดตามกฎหมายได้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 เป็นข้าราชการของโจทก์ มีหน้าที่ต้องนำเช็คสั่ง จ่ายในนามของจำเลยทั้งสามไปขอเบิกเงินจากธนาคารจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็น สาขาของจำเลยที่ 7 และนำเงินไปมอบโจทก์ จำเลยทั้งสามได้ดูลายมือชื่อ ด้านหลังเช็คและไปขอเบิกเงินจากจำเลยที่ 8 จำเลยที่ 11 พนักงานของ จำเลยที่ 7 ได้ตรวจดูบัตรประจำตัวของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีได้ตรวจดูข้อความในเช็ค ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายกับผู้รับ เงิน และเห็นว่าถูกต้องตลอดจนไม่เข้าข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 7 จะไม่จ่ายเงิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 991 และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ทำให้จำเลยที่ 7 หมด หน้าที่และอำนาจที่จะจ่ายเงินตามเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 992 จำเลยที่ 10 จึงอนุมัติให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 ไป ถือว่าจำเลยที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามควรแก่หน้าที่แล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะ ยักยอกเงินไป แต่ความเสียหายของโจทก์ก็มิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อ ของจำเลยที่ 7 ที่ 9 ถึงที่ 11

จำเลยที่ 1 ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญา ในข้อหาเจ้าพนักงาน ยักยอกทรัพย์ เป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อคดีถึงที่สุดโดย ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 กับให้คืนหรือใช้เงินที่ยักยอกไป คำพิพากษา ดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ส่วนแพ่งซึ่งเป็นเจ้าของเงินเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เพราะถือว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์นำคดีมา รื้อร้องฟ้องจำเลยที่ 1 อีกตาม ป.พ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาฎีกาที่ 3528/41 ป.รัษฎากรกำหนดให้ตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องจากสหกรณ์ ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์ แต่หนังสือค้ำประกันพิพาท เป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร แม้โจทก์ซึ่งเป็น สหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือ ค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ.2511 มาตรา 9 เมื่อหนังสือค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์ มิได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์จึงไม่อาจนำมาใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้โจทก์ได้ขอ อนุญาตนำหนังสือค้ำประกันดังกล่าวไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรซึ่งมีผล ทำให้เป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 117 ก็ไม่ทำ ให้ผลเปลี่ยนแปลงไปเพราะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่นำเอกสารนั้นมา ใช้อ้างเป็นพยานหลักฐานก่อนศาลชั้นต้นตัดสิน เมื่อโจทก์กระทำหลังจาก ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิ ได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ เงินที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปเป็นเงินจำนวนเดียวกันกับที่พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหายักยอกทรัพย์โดยมีคำขอทางแพ่งให้ จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ด้วย และ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ตามขอแล้ว การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับ ผิดชำระเงินจำนวนเดียวกันจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาล ในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาฎีกาที่ 4615/43 เมื่อพนักงานอัยการจังหวัดพัทลุงฟ้องจำเลยเป็น คดีอาญาฐานยักยอกเงินค่าภาษีอากรจำนวนเดียวกับคดีนี้ และ มีคำขอให้จำเลยคืนเงินค่าภาษีอากรที่ยักยอกไปแม้โจทก์ซึ่งเป็น ผู้เสียหายในคดีอาญาจะมิได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอันเป็นสิทธิ เรียกร้องที่เกิดจากมูลความผิดอาญาฐานยักยอกเงินค่าภาษีอากร จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีอาญาดังกล่าว ส่วนดอกเบี้ยในระหว่างผิด นัดแม้พนักงานอัยการจังหวัดพัทลุงจะมิได้มีคำขอให้คดีอาญา แทนโจทก์ แต่ก็เป็นดอกผลที่เกิดจากเงินต้น จึงอาศัยและพึง ฟ้องมาในคราวเดียวกันกับเงินต้น จึงต้องห้ามคำฟ้องในส่วน เงินต้นด้วย

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๐๘๐/๔๔ จ. ฟ้องว่าจล. ยักและฉ้อเงินไปจาก จ. ขอให้บังคับจล.ใช้เงินคืนพร้อมดอกเบี้ยแต่ปรากฏว่าอัยการได้เป็น จ.ฟ้องคดีอาญารวมสามคดีในข้อหายักและฉ้อ จ.ซึ่งเป็นผู้เสียหายให้คืนทรัพย์หรือใช้ราคาให้ จ. ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่อัยการฟ้องแทน จ. จ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญาด้วย เมื่อศาลในคดีส่วนอาญารับคำขอส่วนแพ่งไว้พิจารณามีผลตาม มาตรา๑๗๓(๑) ต้องห้าม จ.ฟ้องจล.ให้รับผิดในจำนวนเงินนี้ต่อศาลอีก

+ มาตรา ๑๗๔,๑๗๕

คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๔๓/๔๕ ตามมาตรา ๑๗๔(๒) ไม่ได้หมายความว่าเมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้ จ. ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว จ. เพิกเฉย จะเป็นทิ้งฟ้องเสมอไปจะต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆไป การที่ จ.ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยาน แม้ จ. จะเพิกเฉย ก็ไม่ใช่กรณีที่ถือว่า จ. ทิ้งฟ้อง ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป

การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของ จ. เพียงแต่ถ้าจล.ยื่นคำให้การแล้ว ตามาตรา ๑๗๕ วรรค (๑) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยไม่ฟังจล.ก่อน ดังนั้นการที่ จ. ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จล.๑ เป็นเหตุให้ศาลต้นไม่อาจสอบถามจล.๑ได้นั้นศาลต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจล.๑เสียได้ แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจล.๒ไม่ได้เพราะมาตรา ๑๗๕ จ.อาจถอนฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ดังนั้นคำร้องขอถอนฟ้องของ จ. ที่เกี่ยวกับจล.๒ ศาลต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจล.๑ ที่ศาลต้นไม่มีอำนาจสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของ จ. เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุทิ้งฟ้อง

+ มาตรา ๑๗๙,๑๘๐

คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๒๓๖/๔๕ มาตรา๑๗๙มิได้บัญญัติว่าข้อความที่ขอแก้ไขคำให้การจล.ใหม่นั้นจะต้องเกี่ยวกับคำให้การหรือข้ออ้างเดิมของจล.คงห้ามเฉพาะคำฟ้องเท่านั้นดังนั้นการที่จล.ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรืไม่ก็ได้ ปรากฏว่าจล.แก้ไขคำให้การว่า จ.ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบฯโดยยื่นภายหลังจากวันสืบพยานของ จ. ซึ่งจล.ทำได้ไม่ต้องห้ามตามาตรา ๑๘๐ แต่การที่จล.เคยยื่นคำให้การว่า จ.เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถที่ทำสัญญาประกันภัย ส่วนคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมกลับมีข้อความว่า จ. ไม่ใช่เจ้าของรถในขณะทำสัญญาประกันภัย จ. ไม่มีส่วนได้เสียในรถจึงไม่มีอำนาจฟ้องเท่ากับจล.ปฏิเสธว่า จ.ไม่ใช่เจ้าของรถที่เอาประกัน ดังนั้นคำให้การกับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจล.จึงขัดแย้งกันกลายเป็นคำให้การที่มิได้ปฏิเสธข้ออ้างของ จ. โดยชัดแจ้ง เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา ๑๗๗ วรรค ๒ ทำให้ไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จ.มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ศาลจึงไม่อนุญาตให้แก่ไขเพิ่มเติมคำให้การตามคำร้องดังกล่าวได้