Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

 

สาระสำคัญหลักกฎหมายวิชารัฐธรรมนูญ

 

พธูทิพย์ สว่าง

นบ. (จุฬาฯ) , นบท.

สาระสำคัญตาม มาตรา 264

เราสามารถเเยกพิจารณาเบื้องต้น เป็น 2 กรณี คือ

  1. กฎหมายตามนัยของมาตรา 6 ที่บัญญัติว่า “ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บท
  2. บัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้มิได้”

  3. กฎหมายตามนัยของมาตรา 262 เเละ มาตรา 264

มาตรา 264 “ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายบังคับเเก่คดี ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่

ความโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 เเละยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้นให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว เเละส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง เเละไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุด “

หลัก หากเป็นกรณี มาตรา 264 คงต้องพิจารณา คำว่า “ บทบัญญัติเเห่งกฎหมาย ให้ได้ เสียก่อนว่า เรื่องที่โต้เเย้งนั้น เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมายหรือไม่ หาก มิใช่บทบัญญัติเเห่งกฎมายเสียเเล้วก็มิสามารถส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 264 ได้

บทบัญญัติเเห่งกฎหมายตามมาตรา 264 ได้เเก่

  1. รัฐธรรมนูญ (ม. 6)
  2. พระราชบัญญัติเเละพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  3. กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
  4. พระราชกำหนด

เหตุผลที่คำวินิจฉัยส่วนใหญ่ใช้ คือ “ ระเบียบดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 “

“ คำสั่งดังกล่าวมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ จึงไม่เป็นบทบัญญัติ เเห่งกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาวินิฉัย”

 

หลักเกณฑ์ต่างๆ ตามมาตรา 264

  1. เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย
  2. ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นบังคับเเก่คดี
  3. ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้ง
  4. มีข้อโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
  5. ยังไม่มีคำวินจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนเกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น

 

  1. เป็นบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย
  2. หากพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติขององค์กรท้องถิ่น

    ฯลฯ ที่มีศักดิ์ต่ำกว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมาย ถือเป็นกฎหมายของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่กฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ

    คำวินิจฉัยที่ 4/2542 เรื่องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของธนาคารพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เเละ ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติในเรื่องดอกเบี้ยเเละส่วนลด ลงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ 2536 ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 6 หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศของธนาคารพาณิชย์ เป็นประกาศของธนาคารพาณิชย์ มิใช่ประกาศทางราชการ ส่วนประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยนั้นมิได้ออกโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ มีผลใช้บังคับได้เท่าที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่พระราชบัญญัตให้อำนาจไว้ จึงไม่เป็นกฎหมายตามความหมายของรัฐธรรมนูญ

  3. ศาลจะใช้บทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้น บังคับเเก่คดี
    1. เป็นบทบัญญัติที่ศาลจะใช้ในการวินิจฉัยคดีหรือ เกี่ยวกับข้อพิพาทเเห่งคดี
    2. คำวินิจฉัยที่ 3/2544 จำเลยที่ 3 ในคดีอาญา ข้อหามีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนาบัตรต่างประเทศปลอม อันตนรู้อยู่เเล้วว่าเป็นของปลอมเเละข้อหาฉ้อโกง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 มาตรา 4(2) เเละ 14(1) – (5) ซึ่งให้อำนาจเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ศาลยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดได้เช่นเดียวกับผู้ต้องขังศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดเเล้ว ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 เเละ มาตรา 30 , 33

      ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อ ศาลยุติธรรมมิได้ใช้ พ.ร.บ ราชทัณฑ์ พ.ศ 2479 บังคับเเก่คดีตามคำร้องเเล้ว พ.ร.บ ราชทัณฑ์ฯ จึงมิใช่บทบัญญัติเเห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดี กรณีจึงไม่ต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 264

    3. ต้องเป็นคดีที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล กล่าว คือยังไม่ถึงที่สุด
    4. คำวินิจฉัยที่ 623 /2543 ศาลวินิจฉัยว่า หากคดีถึงที่สุดเเล้ว ย่อมไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกต่อไป เพราะเเม้ส่งไปเเละศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ ก็ไม่อาจกระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้ว

      อย่างไร ก็ตาม มีคำวินิจฉัยที่ 34-53 /2543 ที่ศาลรับวินิจฉัยให้เเม้คดีถึงที่สุดเเล้วเเต่ยังมีกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้นในชั้นบังคับคดี

      ศาลวินิจฉัยว่า “ตาม ป.วิ.พ ม. 148 (1) เเละ 302 เเสดงว่า ในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งยังมีการวินิจฉัยชี้ขาดได้ ตาม ม. 286 วรรคหนึ่ง (3) จึงเป็นบทบัญญัติที่ศาลจะใช้บังคับเเก่คดี เเละคดีนี้ไม่ว่าศาลจะรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิฉัยอย่างไร คำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดเเล้วก็มิได้ถูกกระทบกระเทือน เพราะจำเลยยังคงต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษา

    5. ใช้ได้กับทุกศาลเเละทุกชั้นศาล
    6. คู่ความไม่มีสิทธิส่งเรื่องไปศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง (คำวินิจฉัย คดี นางอุบล )

     

  4. ศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้เเย้ง
    1. เป็นบทบังคับศาลว่า เมื่อคู่ความโต้เเย้ง ศาลต้องส่ง เเม้ว่าศาลจะเห็นว่าไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ตาม

    คำวินิจฉัยที่ 5/2541 ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 264 หมายความว่า ให้ศาลเท่านั้นเป็นผู้ส่งความเห็นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัยมิได้ให้สิทธิผู้ร้องหรือคู่กรณีเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง

    ( คำวินิจฉัยดังกล่าว เป็นกรณีที่อยู่ในศาลเเล้ว หากถ้ายังมิได้มีคดีความกันในศาล คู่ความอาจส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการเเผ่นดินของรัฐสภาได้ )

    ถ้าเป็นกรณีคำร้องเคลือบคลุมหรือไม่เข้าองค์ประกอบมาตรา 264 ศาลไม่จำต้อง ส่ง เเละผู้ร้องมีสิทธิ์อุทธรณ์ฎีกาได้ตามลำดับชั้นศาล ในคำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องของตน หรืออาจยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

    คำวินิจฉัยที่ 623/2543 เเม้ รัฐธรรมนูญ ม. 264 ว. 2 ระบุให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้พิจารณาว่าคำโต้เเย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่ง ที่ไม่เป็นสาระเเก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ตาม เเต่ในกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเข้าเหตุตามมาตรา 264 ว. 1 หรือไม่ ย่อมเป็นหน้าที่ของศาลยุติธรรม การที่ศาลชั้นต้นเเละศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่รับคำร้องของจำเลยไว้พิจารณา เพราะคดีถึงที่สุด ล่วงเลยเวลาที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 264 ว. 1 จึงเป็นอำนาจที่จะกระทำได้

     

  5. มีข้อโต้เเย้งว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายนั้นขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
    1. ถ้ามีข้อโต้เเย้งว่า กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่เข้า ม. 264
    2. โต้เเย้งว่า บทบัญญัติเเห่งกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ไม่เข้า ม. 264
    3. โต้เเย้งว่าการกระทำของบุคคล หรือการกระทำของศาล ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็มิใช่ม. 26 4
  6. ต้องยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น
    1. เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ตาม ม.268
    2. ไม่รวมถึงคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ

 

สาระสำคัญ ของมาตรา 198

เป็นการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญโดยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ซึ่ง เเยกออกเป็น 2 กรณี คือ

  1. หากผู้ตรวจการเเผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่าบทบัญญัติเเห่งกฎหมายในความหมายของรัฐธรรมนูญ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการเเผ่นดินของรัฐสภาจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
  2. หากผู้ตรวจการเเผ่นดินของรัฐสภาเห็นว่า กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำใดของบุคคลตามมาตรา 197 (1) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการเเผ่นดินของรัฐสภาจะเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครอง (ดู พ.ร.บ จัดตั้งศาลปกครองเเละวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ 2542 มาตรา 43 เเละ มาตรา 3

 

ข้อสังเกต ผู้ตรวจการเเผ่นดินของรัฐสภาจะส่งเรื่องในกรณีที่ยังไม่ได้มีกรณีหรือข้อพิพาทกันในศาล

 

สาระสำคัญของมาตรา 266

เป็นเรื่องปัญหาเกี่ยวกับองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ โดยเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบให้มีการดำเนินการต่างๆขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

มาตรา 266 มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
  2. เป็นกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ
  3. องค์กรนั้นหรือประธานรัฐสภาเป็นผู้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย

 

  1. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
    1. คำวินจฉัยที่ 2/2541 ได้ให้ความหมายของ “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” ว่า เป็นองค์กรที่มีบทบาทเเละอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น
    2. ตัวอย่าง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง , สภาผู้เเทนราษฎร , วุฒิสภา , คณะรัฐมนตรี , คณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามการทุจริตเเห่งชาติ , ศาลยุติธรรม , ศาลปกครอง , คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, คณะกรรมการตรวจเงินเเผ่นดิน

    คำวินิจฉัยที่ 63/2543 พิจารณาเเล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช เป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีขึ้นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 297 มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 301 จึงเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีขึ้นเเละบัญญัติอำนาจหน้าที่ไว้ในรัฐธรรมนูญ

    คำวินิจฉัยที่ 2/2541 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนหนึ่งในหน่วยงานหนึ่งของฝ่ายบริหาร หาใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญเเต่อย่างใด กระทรวงมหาดไทยจึงไม่อาจร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ได้

    ( ราชการส่วนกลาง , ราชการส่วนภูมภาค, ส่วนท้องถิ่น พรรคการเมือง ไม่ถือว่าเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ )

  2. มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ
    1. องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจกระทำการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่เพียงใด
    2. เป็นเรื่องของการที่องค์กรตามรัฐธรรมนูญตั้งเเต่สององค์กรขึ้นไป มีปัญหาโต้เเย้งกันว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่งได้ใช้อำนาจล่วงล้ำ หรือกระทบกระเทือนอำนาจหน้าที่ของอีกองค์กรหนึ่ง
    3. ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตนเอง
    4. ต้องไม่เป็นเรื่องที่ขัดเเย้งหรือความเห็นเเตกเเยกออกเป็น 2 ฝ่าย ภายในองค์กรตนเอง

( คำวินจฉัยที่ 8/2542 ความเห็นที่เเตกต่างกันไม่ใช่กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ )

 

สาระสำคัญของมาตรา 262

เป็นการเสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก่อนมีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย กล่าวคือ เป็นการควบคุมมิให้ร่างกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาขัดต่อรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากการที่มีการควบคุมหลังมีการประกาศใช้กฎหมาย ซึ่งเป็นการควบคุมในกรณีที่มีปัญหาว่ากฎหมายนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีการโต้เเย้งผ่านทางศาลที่พิจารณาคดี หรือ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นผู้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

หลักเกณฑ์ มาตรา 262

  1. ช่วงเวลาการตรวจสอบ
  • เมื่อร่างพระราชบัญญัติประกอบหรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาเห็นชอบเเล้ว หรือถือว่าให้ความเห็นชอบเเล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย
  1. ผู้เสนอ
  • ส.ส หรือ ส.ว หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ทั้งสองสภา เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติมี
    1. ข้อความขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
    2. ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติเเห่งรัฐธรรมนูญ

ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้เเทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภาเเล้วเเต่กรณี

  • ส.ส หรือ ส.ว หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มี
    1. ข้อความขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
    2. ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติเเห่งรัฐธรรมนูญ

ให้เสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

- นายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติ หรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ มีข้อความหรือกระบวนการตราขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ ให้ส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เเละเเจ้งให้ประธานสภาผู้เเทนราษฎร เเละประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า

  1. การขัดรัฐธรรมนูญนั้น มี 2 กรณี
    1. ข้อความขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ
    2. กระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติเเห่งรัฐธรรมนูญ
  2. ผลของคำวินิจฉัย

4.1 ข้อความที่ขัดหรือเเย้งต่อรัฐธรรมนูญ - ถ้าเป็นสาระสำคัญ = ตกทั้งฉบับ

  • ถ้าไม่เป็นสาระสำคัญ = ตกเฉพาะข้อความนั้น
    1. กระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้อง = ตกไปทั้งฉบับ

 

 

สาระสำคัญของมาตรา 218 , 219

เป็นเรื่องที่พระราชกำหนดไม่เป็นไปตามมาตรา 218 วรรคหนึ่งของรัฐธรรมนูญ

ปกติเเล้วการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชกำหนดโดยศาลรัฐธรรมนูญนั้น อาจเกิดขึ้นได้ 2 กรณี

1. กรณีทั่วไป คือ การควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตามที่ศาลเป็นนผู้เสนอในมาตรา 264 หรือผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นผู้เสนอตามมาตรา 198

2.กรณีพิเศษ คือ มาตรา 219 ที่เป็นเรื่องการโต้เเย้งว่าพระราชกำหนดไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 218 วรรคหนึ่ง

หากพิจารณา ตามมาตรา 218 เเล้วเงื่อนไขในการออกพระราชกำหนด นั้นประกอบด้วย 2 เงื่อนไข คือ

  1. การตราพระราชกำหนดต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกัน คือ
  • รักษาความปลอดภัยของประเทศ
  • รักษาความปลอดภัยสาธารณะ
  • รักษาความมั่นคงในทางเศษฐกิจของประเทศ
  • ป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
  1. คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้

 

หลัก คือ ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้เฉพาะว่าพระราชกำหนดตราขึ้นถูกต้องตามเงื่อนไขใน ข้อที่ 1. ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง เท่านั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยเงื่อนไขประการที่ 2 ได้ ที่ว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้หรือไม่ ( คำวินิจฉัยที่ 1/2541 )