Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

วิแพ่ง มาตรา 1-296

วิแพ่งภาค 1 มาตรา 1-169 มีมาตราที่ขีดเส้นใต้เป็นมาตราที่สำคัญ

1(3),(5),(10),3,4-5,7,18,21,23,24,27,40,42,55,57,58,59,78,79,

132,138,142-148,155-156

มาตราที่สำคัญรองลงมา

20,31,33,34,43,67,70,74,75,76,77,87,102,131,133,137,149

เรื่องที่สำคัญ

เขตศาล

กรณีคำฟ้อง

กรณีคำร้อง

1. ดูก่อนว่าเข้า ม.7 หรือไม่

1. ดูก่อนว่าเข้า ม.7 หรือไม่

2. ดูว่าเข้า ม.4 ทวิ, ตรีหรือไม่

2. ดูว่าเข้าม.4 จัตวา, เบญจ, ฉหรือไม่

3. เข้า ม.4(1),5,3

3. เข้า ม.4(2),5,3

อำนาจฟ้อง

1. ดูว่ามีกฎหมายให้สิทธิไว้หรือไม่ หรือการใช้สิทธิทางศาลมีกฎหมายหรือไม่

2. มีใครมาขวางการใช้สิทธิหรือยัง ถ้าตีตนไปก่อนไข้จะไม่มีอำนาจฟ้อง

3. ให้พิจารณาว่าเป็นถ้าโต้แย้งสิทธิ เป็นคำฟ้อง หรือการใช้สิทธิ เป็นคำร้องขอ

ข้อบกพร่อง (ม.56)

1. ใบมอบอำนาจลืมประทับตรา, ใบแต่งลืมลงชื่อหรือลืมยื่น แก้ไขได้ ใช้ ม.56

2. พ่อแต่งงานกับแม่ภายหลังหรือ ผู้เยาว์อายุครบ 20 ปี ถือว่าสมบูรณ์ไม่ต้องแก้ไข

3. ใบมอบอำนาจไม่ลงชื่อกรรมการบริษัท, ทนายความขาดต่อใบอนุญาต เป็นเรื่อง

     อำนาจฟ้องตาม ม.55 แก้ไขไม่ได้ต้องยกฟ้อง

ร้องสอด

    1. การจะเป็น(1)(2)ให้ดูว่าผู้ร้องสอดใช้สิทธิของใคร ถ้าใช้สิทธินอกจากคำฟ้อง
    2. คำให้การจะเป็น(1)

    3. ผู้ร้องสอดตาม(1) ใช้สิทธิได้ 2 กรณีคือ ก่อนพิพากษา กับชั้นบังคับคดี แต่(2)
    4. ต้องก่อนพิพากษา

    5. ร้องสอดตาม

-ม.57 (1) ถือเป็นคำคู่ความ และผู้ร้องสอดมีสิทธิเต็มที่เสมือนเป็นคดีใหม่

-ม.57 (2) ถือเป็นคำคู่ความและห้ามผู้ร้องสอดใช้สิทธินอกเหนือหรือขัดกับคู่ความ

เดิมกล่าวคือ ถ้าคู่ความเดิมให้การแล้วผู้ร้องสอดจะให้การนอกเหนือหรือฟ้องแย้งไม่

ได้, ถ้าคู่ความเดิมขาดนัดยื่นคำให้การศาลจะยกคำร้องสอด

                    -ม.57 (3) คำขอให้เรียกคนนอกไม่ถือเป็นคำคู่ความ แต่ผู้ร้องสอดมีสิทธิเหมือน (1)

คู่ความร่วม

1. ถ้ามี “ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี” ก็เป็นคู่ความร่วมกันได้

2. เมื่อเป็นคู่ความร่วมได้แล้วก็ดูว่า “มูลความแห่งคดีแบ่งแยกจากกันได้หรือไม่”

            -ถ้าหนี้แบ่งได้ คู่ความก็จะไม่แทนกัน การคิดทุนทรัพย์การอุทธรณ์ฎีกาต้องแยก

            -ถ้าหนี้แบ่งไม่ได้ (กรรมสิทธิรวม ลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำฯ) คู่ความก็จะแทนกัน

การจำหน่ายคดี

ดูมาตรา 132 ต้องท่องให้ได้ การที่ศาลจำหน่ายคู่ความสามารถฟ้องใหม่ได้ภาย

ในอายุความ

ห้ามพิพากษาเกินคำฟ้อง

ม 142 ห้ามพิพากษาเกินคำฟ้องยกเว้น (1)-(6) (142(5) เป็นเรื่องดุลยพินิจของศาล)

ข้อยกเว้น กรณีศาลพิพากษาขับไล่ตามสัญญายอมจะใช้ ม.142 (1) ขับไล่บริวาร ไม่ได้

คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก

ม 145 คำพิพากษาไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ยกเว้น ม.142(1),245(1),274,145(1)(2)

ฎีกาน่าสนใจ 649/39 การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมจากการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ต้องฟ้องคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นจำเลยร่วม ถ้าฟ้องจำเลยคนเดียวหรือถอนฟ้องจำเลยบางคนออกไปศาลจะยกฟ้อง เพราะถึงแม้ศาลจะพิพากษาให้ก็ไม่สามารถเพิกถอนนิติกรรมที่ฉ้อฉลได้เพราะผลจาก ม.145

ฟ้องซ้ำ (ม.148) ฟ้องซ้อน (ม.173 วรรคสอง (1)) กระบวนพิจารณาซ้ำ (ม.144)

1.ก่อนอื่นดูว่าคดีเดิมคำพิพากษาถึงที่สุดหรือยัง ถ้าถึงที่สุดดู ม.148, ถ้ายังไม่ถึงที่สุดใช้

ม.144,173

2.ถ้าคำพิพากษาคดีเดิมถึงที่สุดและครบองค์ประกอบตาม ม.148 ก็เป็นฟ้องซ้ำ ถ้าไม่ครบไม่ต้องห้าม
        -คำพิพากษาถึงที่สุดหรือไม่ดู ม.147
        -คู่ความเดียวกันหรือไม่ และไม่ว่าจะสลับเป็นโจทก์หรือจำเลยฟ้องก็เป็นฟ้องซ้ำ (ทายาท, ผู้สืบสิทธิ์, เจ้าของรวม, สามีภรรยาในสินสมรส, ตัวแทนในฐานะตัวการ ถือเป็นคู่ความเดียวกัน ยกเว้นแม้เป็นคนเดียวกันฟ้องแต่ถ้าคนละฐานะก็ถือว่าเป็นคนละคู่ความ)
(อัยการตาม ป วิ อ มาตรา 43 ถือว่าฟ้องแทนผู้เสียหายถือเป็นคู่ความเดียวกัน)
        -ฟ้องใหม่ในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุเดียวกัน
            +ที่ดินแปลงเดียวกัน ข้อสัญญาเดียวกันในสัญญาฉบับเดียวกัน
            +เหตุเดียวกัน สิทธิที่มีอยู่ก่อนฟ้องไม่ฟ้องให้หมดเป็นฟ้องซ้ำ
            +แต่ถ้าสิทธิเกิดขึ้นหลังฟ้องแม้เหตุเดียวกันก็ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
            +คดีเดิมฟ้องหย่าด้วยเหตุอย่างหนึ่ง คดีใหม่ฟ้องหย่าด้วยอีกเหตุหนึ่งไม่เป็นฟ้องซ้ำ
        -คดีเดิมต้องมีการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วจึงจะเป็นฟ้องซ้ำ
            +ถ้าคดีเดิมศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุม, ฟ้องบกพร่อง, ไม่มีอำนาจฟ้องหรือศาลจำหน่ายคดีเพราะถอนฟ้อง ทิ้งฟ้อง หรือขาดนัดพิจารณา ทั้งหมดนี้ฟ้องใหม่ได้ภายในอายุความเดิม
            +แต่ถ้าคดีเดิมศาลยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ, ศาลงดสืบ  พยาน, ไม่ได้ยื่นบัญชีพยาน, พยานหลักฐานฟังไม่ได้, ยกฟ้องตาม ม.198 ทวิ วรรคท้าย ถือว่าวินิจฉัยเนื้อหาคดีแล้ว

3.ถ้าคำพิพากษาในคดีเดิมยังไม่ถึงที่สุดให้ดูว่ามีคำพิพากษาหรือศาลคำสั่งของศาลชั้น
ต้นหรือยัง
        -ถ้ายังไม่มี ให้ดู ม.173 มาตราเดียว ซึ่งจะห้ามแต่โจทก์เท่านั้น (รวมจำเลยฟ้องแย้ง
ด้วย) หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยสามารถนำคดีไปฟ้องใหม่
ได้ แต่ถ้าคดีใดมีคำพิพากษาจะทำให้อีกคดีหนึ่งเป็นกระบวนพิจารณาซ้ำทันทีโดยไม่คำนึงว่าใครฟ้องก่อน
        -ถ้ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว ให้ดูว่ามีการอุทธรณ์ ฎีกาหรือไม่
            +ถ้าไม่มี ใครไปดำเนินการในระหว่างเวลายื่นอุทธรณ์ ฎีกา จะเป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ
            + ถ้ามีการอุทธรณ์ฎีกา จะถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีมาโดยตลอด ระยะเวลาในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ฎีกา ก็จะถือว่าเป็นเวลาที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีด้วยดังนั้น
                        -หากโจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่จะเป็นทั้งฟ้องซ้อนและเป็นกระบวนพิจารณาซ้ำด้วย
                        -หากจำเลยนำคดีไปฟ้องใหม่จะไม่เป็นฟ้องซ้อนแต่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ

อนาถา

1. จำเลยดูแค่ว่ายากจนหรือไม่ ถ้าเป็นโจทก์ต้องดูว่าฟ้องมีมูลหรือไม่ด้วย ถ้าเป็นโจทก์อุทธรณ์ต้องดูว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ฎีกาหรือไม่

2. ม.156 วรรคสอง การสาบานเป็นเรื่องเฉพาะตัวทำแทนไม่ได้ ยกเว้นผู้แทนโดยชอบธรรมเท่านั้น

3. ม.156 วรรคสาม การอนุญาตทั้งหมดจึงจะเป็นที่สุด

4. ม.156 วรรคสี่ขอพิจารณาใหม่ไม่เป็น ม.144แต่จะขอพิจารณาใหม่ได้เฉพาะเรื่องยากจนเท่านั้น

5. แต่ถ้าขอ ม.156 วรรคสี่ ไปแล้วศาลไม่อนุญาตมาขอ ม.156 วรรคสี่อีกอย่างนี้เป็น ม.144

6. ระยะเวลาตาม ม.156 ว 4 ถือระยะเวลาตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงิน

7. การขอ ม.156 ว4 หรือ ว5 ต้องเลือกทางใดทางหนึ่งและเมื่อเลือกทางใดแล้วก็เลือกอีกทางไม่ได้

8. การสั่งตาม ม.156 ว4 ถ้าศาลสั่งยกคำร้องไม่ต้องไต่สวน

9. ม.156 ว5 จะเป็นที่สุดหรือใช้กำหนด 7 วันต่อเมื่อเป็นการสั่งในเนื้อหาอนาถา ถ้าศาลชั้นต้นสั่งจำหน่ายคดีเพราะทิ้งคำร้องหรือยกคำร้องเพราะไม่สาบานเป็นการสั่งนอกเนื้อหา ฎีกาได้ภายใน 1 เดือน

10. เงินที่ขออนาถาไม่ได้คือเงินตาม ม.253,257,263, ค่าส่งหมาย, เงินตามตาราง 4 ท้ายวิแพ่ง

ม.23,24,27

1. ม.23 ใช้ทุกชั้นศาล ก่อนหมดเวลาอ้าง พฤติการณ์พิเศษ หลังพ้นเวลาอ้าง เหตุสุดวิสัย

2. ม.24 ใช้เฉพาะศาลชั้นต้น ต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเท่านั้น และต้องเป็นคุณแก่ผู้ขอ

3. ม.27 ใช้ทุกชั้นศาล แม้ศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ก็ใช้ได้ และ ม.27 ว.1 ไม่มีกำหนดเวลา

ม.18,21
   
ม.18 ว.2 ศาลต้องสั่งสองครั้ง ครั้งแรก ต้องสั่งคืนไปให้แก้ไขก่อน จะไม่รับฟ้องเลยไม่ได้เช่น ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ ถ้าไม่วางจะสั่งไม่รับอุทธรณ์เลยไม่ได้ แต่ค่าธรรมเนียมใช้แทนตาม ม.229 ถ้าไม่วางศาลยกฟ้องได้ทันที
    ม.21(1) ถ้ากฎหมายไม่กำหนดให้ทำเป็นคำร้อง หรือทำเป็นหนังสือ ก็ทำด้วยวาจาได้
    ม.21(2) คำร้อง คำขอ ทั่ว ๆ ไป ศาลต้องสำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งและให้โอกาสอีกฝ่ายคัดค้านเสมอ มิฉะนั้นศาลจะสั่งไม่ได้
    ม.21(3) คำขอฝ่ายเดียว ศาลจะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ก็ได้ คำขอฝ่ายเดียวโดยเคร่งครัดห้ามศาลฟังคู่ความอีกฝ่าย (ม.173,254(1),(4),276,297-8)

การส่งหมาย

        1. ม.70 ตามหลักกฎหมายการนำส่งคำฟ้องเป็นหน้าที่ของศาล แต่ 70 ว.2 ศาลอาจสั่งให้โจทก์เป็นผู้นำส่งได้ ซึ่งในทางปฏิบัติศาลก็จะสั่งให้โจทก์เป็นผู้นำส่ง ถ้าโจทก์ไม่นำส่งก็เป็นทิ้งฟ้อง 174(1)

        2.“รอฟังคำสั่งอยู่ ไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว” ถ้อยคำดังกล่าวจะมีผลทางกฎหมายต่อเมื่อ
ศาลได้สั่งภายในวันนั้น ถ้าศาลสั่งวันรุ่งขึ้น ก็ไม่ถือว่ารอฟังคำสั่งแล้ว

ฎีกาน่าสนใจเพิ่มเติม 2145/42(ชุด4 หน้า9),467/41,2827/41(ม148),2994/43(ชุด2 หน้า4),8995/42(ชุด4หน้า18),

มาตรา 4 922/42,269/42(ชุด2 หน้า9) 269/43 (สัญญาเปิดเครดิต 3 ฝ่าย ผ่าน 3 จังหวัด ทุกจังหวัดถือเป็นที่มูลคดีเกิด)
มาตรา 
    132 3098/38
    42 1010/39 
    144 3744/38
    55 1054/20,4514/31,3574/42 
    145 2563/41,4979-82/39
    57-58 7488/41 148 1817/42,3899/33,2481/39
    4 จัตวา1448/43 ชุด2 หน้า16 (มรดกพระ ยกคำพิพากษาศ.ต้น ศ.อุทธรณ์ สั่งใหม่เป็นไม่รับคำร้องขอ)
    57  4344/41 (ร้องสอดว่าจำเลยและโจทก์โต้แย้งสิทธิเป็น 57(1) แต่มาขอหลัง 2 ปี ศ.ไม่อนุญาต)
    156  3398/42 (ยกคำร้องอนาถาได้โดยไม่ต้องไต่สวน ชอบแล้ว แต่สั่งไม่รับฎีกาเลยไม่ชอบ เพราะศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับ ต้องกำหนดเวลาวางเงินก่อน สั่งยกย้อน) 3503/42 (การอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องอนาถาในชั้นฎีกา ต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา การอุทธรณ์ไปศาลอุทธรณ์ไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ จึงไม่ชอบ เป็นปัญหาความสงบฯ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งของศาลอุทธรณ์) (อนาถาต้องหมายถึงไม่มีอันจะกิน)(……./…. อนาถาเป็นเรื่องเฉพาะตัว แม้เป็นคู่ความร่วม) (แต่อนาถาแล้วตายลง แม้คู่ความที่เข้าแทนที่คู่ความมรณะจะไม่อนาถาก็ยังอนาถาอยู่)
    18,23 5966/39 สั่งตาม 23 อย่างเดียว ไม่สั่งคำคู่ความเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา 226) 3896/34 สั่งตาม 23 และสั่งไม่รับฎีกาด้วย เป็นคำสั่งเกี่ยวเนื่องกับการไม่รับฎีกาเป็น 252)2160/42 ศ.ต้นไม่รับอุทธรณ์เพราะไม่วางเงิน 229 จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศ.อุทธรณ์ยืน
จำเลยฎีกาได้ เพราะไม่ใช่ 236 เพราะไม่ได้สั่งในเนื้อหา แต่ศ.ฎีกาวินิจฉัยว่าการไม่วางเงินตาม 229 ยกอุทธรณ์ทันทีชอบแล้ว ไม่ต้องกำหนดเวลาเหมือน 18)2889/40,2174/43 การอุทธรณ์ คำสั่งศ.ต้นที่งดสืบพยาน ไม่ว่าจะเป็น 24 หรือไม่ เท่ากับเป็นการให้ศาลอุทธรณ์ยกคำพิพากษาศ.ต้น และให้สืบพยานต่อไป จึงต้องวางเงิน 229 เมื่อไม่วางยกอุทธรณ์ทันที ชอบแล้ว ไม่ต้องกำหนดเวลาเหมือน 18)
    148  482/43 ชุด2 หน้า17 คดีแรก ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ ถึงทีสุดแล้ว จำเลยมาฟ้องเป็นคดี ใหม่ว่าสัญญากู้ปลอม เป็นฟ้องซ้ำ ถือว่ารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นเดียวกัน)1272/43 148(3) ใช้กับคำร้องขอครอบครองปรปักษ์

วิแพ่งภาค 2 มาตรา 170-222 มีมาตราที่ขีดเส้นใต้เป็นมาตราที่สำคัญ
172-181, 182,183,183ทวิ,184,188
(การพิจารณาคดีโดยขาดนัด ม.197 ถึง 207 ที่ผ่านมาออกทุกครั้ง)
เรื่องที่สำคัญ
การพิจารณาโดยขาดนัด

    1. ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแยกจากกันโดยเด็ดขาด ไม่ซ้อนกัน เช่นกรณีขาดนัดยื่นคำให้การ แม้โจทก์ไม่มาศาลวันนัดสืบพยานก็ไม่ขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะยกฟ้องตาม 198ทวิ ว.ท้าย (แต่ทั้งนี้พิจารณาเป็นรายคู่กรณี)

                2. การขออนุญาตยื่นคำให้การหรือขอพิจารณาคดีใหม่จะขอได้เพียงครั้งเดียวยกเว้นเป็นการขาดนัดคนละประเภท

 

ขาดนัดยื่นคำให้การ

ขาดนัดพิจารณา

1. เงื่อนไข

ม.197,198

ม.200-205

2. การสืบพยาน

ม.198 ทวิ

ม.206 ว.1,2(นำ198ทวิมาใช้)

3.ทางแก้ก่อนพิพากษา

  1. ม.199 ว.1 ไม่จงใจ ให้ย้อนพิจารณา
  2. ม.199 ว.2 จงใจ มีสิทธิ์แค่ถามค้าน

3) ม.199 ว.3 ขออนุญาตได้รอบเดียว

1)ม.206 ว.3 ไม่จงใจ ให้ย้อนพิจารณา

2)ม.206 ว.4 จงใจ ใช้ 206 ว.4 (1)-(3)

3)ม.206 ว.3,4 ขออนุญาตได้รอบเดียว

4.ทางแก้หลังพิพากษา

  1. ทางแรก อุทธรณ์คำพิพากษา
  2. ทางสอง ขอพิจารณาคดีใหม่199 ทวิ-เบญจ

1)เหมือนกัน

2)เหมือนกัน โดย ม.207

5. ถ้าศาลจำหน่ายคดี

ตาม ม198 ว.2 โจทก์ต้องฟ้องใหม่หรืออุทธรณ์คำพิพากษา

1)ขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้

2)อุทธรณ์คำพิพากษาไม่ได้ ม.203

แต่โจทก์มีสิทธิฟ้องใหม่ได้

มาตรา 172-181

ม.172 คำฟ้องต้องประกอบด้วย ข้ออ้าง สภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ถ้าไม่ครบเป็นฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องใหม่ได้ และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ม. 173 ว2

1) ห้ามโจทก์เท่านั้น (จำเลยฟ้องแย้งผู้ร้องขัดทรัพย์, ผู้ร้องสอด ถือเป็นโจทก์)

2) ต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เป็นโจทก์จำเลยเดียวกันในฐานะเดียวกัน

3) ในเรื่องเดียวกัน

4) คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา (ถ้ามีการอุทธรณ์ ระยะเวลาระหว่างยื่นอุทธรณ์ถือว่าเป็นเวลาที่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาด้วย)

5) ใช้กับคดีอาญา อัยการขอใช้ราคาถือว่าเป็นการขอแทนโจทก์ โจทก์ฟ้องเป็นฟ้องซ้อน

6) ฟ้องซ้อน ฟ้องซ้ำ กระบวนพิจารณาซ้ำ เป็นปัญหาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

 

ม.174

    1) 174 (1) ใช้กรณีเริ่มต้นคดีเท่านั้น (การไม่นำส่งหมายเรียกแก้คดีร้องขัดทรัพย์ เป็น
174(1) กรณีส่งหมายข้ามเขต เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าส่งไม่ได้ ไม่เป็น 174(1)
    2) 174 (2) ใช้ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา
    3) การทิ้งฟ้องจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการรับฟ้องแล้ว
    4) ถ้าไม่มีหน้าที่หรือกฎหมายระบุลงโทษเสียสิทธิ์ไว้แล้ว ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง เช่น 183 ทวิ
    5) คำฟ้องที่แยกได้เป็นส่วน ๆ อาจทิ้งฟ้องเฉพาะส่วนได้
    6) การทิ้งฟ้องเป็นดุลพินิจของศาล ศาลจะไม่จำหน่ายคดีตาม 132(1) ก็ได้
    7) ผลของการทิ้งฟ้อง(1) ไม่คืนค่าขึ้นศาล (2) อายุความไม่สะดุดหยุดลง (3) ผลตาม 176
    8) ถ้ามีฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งไม่ตกไปเพราะมีโจทก์เดิมอยู่

ม.175

    1) ถ้าถอนฟ้อง ก่อนจำเลยยื่นคำให้การทำเพียงคำบอกกล่าว บังคับศาลต้องอนุญาต
    2) ถ้าถอนฟ้องหลังจำเลยยื่นคำให้การทำเป็นคำร้อง และถ้าศาลอนุญาตต้องฟังจำเลยก่อน
    3) ฟ้องแย้ง, คำร้องขัดทรัพย์, คำร้องขอ, คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่, คำร้องสอด, อุทธรณ์,ฎีกาสามารถถอนฟ้องได้ ในกรณีอุทธรณ์, ฎีกาดูว่าจำเลยยื่นคำแก้อุทธรณ์, ฎีกาหรือยัง
    4)ผล
            (1) ถ้าถอนทั้งหมดจำหน่ายคดีทั้งเรื่อง ถอนบางคน, บางข้อหา จำหน่ายคดีบางข้อหาไม่กระทบเขตศาลแต่กระบวนพิจารณาของจำเลยที่ถูกถอนถูกลบล้างทั้งหมด
            (2) ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมทั้งหมดหรือบางส่วน
            (3) ลบล้างกระบวนพิจารณาตาม ม.176 ฟ้องใหม่ได้ วิธีการชั่วคราวเป็นยกเลิกไป
            (4) ถ้ามีฟ้องแย้งไม่ตกไป เพราะมีโจทก์เดิมอยู่

ม.177
   
1) จำเลยไม่ให้การเลย ก็ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องสืบหรือไม่ดู 198 ทวิ
    2) จำเลยให้การปฏิเสธลอย หรือให้การว่าปลอมแต่ไม่ให้เหตุผล ถือว่ามีประเด็นอยู่ โจทก์ต้องสืบ แต่จำเลยห้ามนำพยานมาสืบ
    3) จำเลยให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม หรือปฏิเสธคลุม หรือไม่ทราบไม่รับรอง หรือฉ้อฉล หรือขาดอายุความ โดยแสดงเหตุแห่งการปฏิเสธ หรือให้การขัดกัน หรือไม่ให้การถึง ถือว่ารับโจทก์ไม่ต้องสืบ ชนะคดีในประเด็นนั้น
    4) เสียหายหรือไม่ ใช้หลักตาม 2),3) แต่เสียหายเท่าใด มีประเด็นเสมอ แม้จำเลยไม่ให้การ
    5) มีฎีกาที่ขัดกับหลักข้างต้นอยู่ 4 ฎีกา คือ 7047/40,6629/39,6504/39,3379/37

ฟ้องแย้ง
   
1) ฟ้องแย้งต้องมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ ตาม 55
    2) ฟ้องแย้งต้องมีฟ้องเดิมหรือโจกท์เดิมอยู่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องแย้งตกไป เช่น ฎีกาที่ 736/03 บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีอำนาจฟ้องหรือกรณีไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง ฟ้องเคลือบคลุม ฟ้องแย้งไม่ตกไป ถือว่ามีโจทก์เดิมอยู่
    3) ต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม คือต้องเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต้องเป็นสิทธิในสัญญาฉบับเดียวกัน ในเรื่องละเมิดก็ต้องเป็นละเมิดในเรื่องเดิม และต้องในฐานะเดิมของโจทก์ด้วย(ฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข, ฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับการพิจารณาของศาล (เช่น 254), ฟ้องแย้งที่ขัดกัน, ฟ้องแย้งบังคับจำเลยด้วยกัน หรือบังคับบุคคลภายนอก, ฟ้องแย้งเพื่อให้โจทก์เปิดเผยพยานหลักฐาน หรือแสวงหาพยานหลักฐาน ถือว่าไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม)ฎีกาที่ 778/23 เกี่ยวกับฟ้องเดิมบ้างไม่เกี่ยวบ้าง ก็รับฟ้องแย้งเฉพาะที่เกี่ยวกับฟ้องเดิม
    4) เขตศาลฟ้องแย้งใช้ ม.7(1) โดยไม่คำนึงว่าโจทก์อยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่
    5) ทุนทรัพย์ในฟ้องแย้งต้องแยกคิดจากฟ้องเดิม การอุทธรณ์ ฎีกาก็ต้องแยกพิจารณาต่างหากจากฟ้องเดิม

ม.179-181
   
1) แก้คำให้การ 179(3), แก้คำฟ้อง 179(1),(2) และต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
    2) หลักเกณฑ์การขอแก้ไข (1)ทำเป็นคำร้อง (2)ภายในเวลาตาม 180 จะเป็นวันชี้สองสถานได้ต้องมีการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบถ้าไม่มีทั้งวันชี้สองสถานและวันสืบพยาน ก็ให้แก้ไขก่อนมีคำพิพากษา
    3) ข้อยกเว้น ม.180(1) มีเหตุสมควร (2) แก้ไขเล็กน้อย (3) เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย
    4) ถ้าเป็นคำร้องที่ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ศาลอนุญาตและพิพากษาโดยไม่ต้องฟังฝ่ายอื่น(คำร้องที่ทำได้แต่ฝ่ายเดียวหมายถึง คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การหรือกรณีจำเลยยังไม่ได้ยื่นคำให้การ หรือเป็นกรณีคดีไม่มีข้อพิพาท หรือเป็นกรณีคดียังอยู่ในชั้นไต่สวนอนาถา)
5) ถ้าคำร้องขอแก้ไข ไม่สามารถทำได้แต่ฝ่ายเดียวตาม ม.181

-ถ้าสั่งไม่ให้แก้ไข ศาลยกคำร้องได้ทันที ไม่ต้องส่งสำเนาอีกฝ่าย

-ถ้าสั่งยอมรับต้องส่งสำเนาอีกฝ่าย เมื่อพิจารณาแล้วจึงอนุญาตหรือไม่อนุญาต

-ถ้าศาลจะพิพากษาในประเด็นที่ไม่ได้ขอแก้ไข ศาลพิพากษาได้เลย

-ถ้าศาลจะพิพากษาในประเด็นที่แก้ไข ต้องเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายโต้แย้ง

6) ผลของคำสั่งในการแก้ไข
    -ถ้าศาลสั่งให้แก้ไข ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม 226
    -ถ้าสั่งไม่ให้แก้ไข ถือเป็นคำสั่งตาม 228(3) อุทธรณ์, ฎีกาได้ทันที แต่ให้ระวังอย่าไปปะปนกับเรื่องคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ หรือขอขยายระยะเวลาแก้คำฟ้อง คำให้การ ซึ่งทั้งสองกรณีหลังศาลสั่งอย่างไรเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา
    -ถ้าศาลลืมสั่ง ถือว่าศาลไม่อนุญาตให้แก้ ถ้าศาลไปพิพากษาตามที่แก้ คำพิพากษาไม่ชอบ
    -ถ้าศาลไม่อนุญาตให้แก้ไข การยื่นใหม่ไม่เป็นกระบวนพิจารณาซ้ำ เพราะการสั่งไม่อนุญาตไม่ใช่การชี้ขาดในข้อพิพาทแห่งคดีในประเด็นใด

ฎีกาที่น่าสนใจเพิ่มเติม

2864/41 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรับฝากปุ๋ย จำเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ผิดสัญญาจำนำไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

471/41 ฟ้องได้ไม่ฟ้องให้หมดฟ้องซ้อน

6909/43, 3460/41 ชุด4 หน้า 16 ถอนฟ้อง ทิ้งฟ้อง ฟ้องแย้งไม่ตกไป เพราะยังมีโจทก์เดิมอยู่

1586/42 ชุด4 หน้า13 แก้ฟ้องโดยแปลงเพศถือว่าเปลี่ยนตัวจำเลยแก้ไม่ได้ (ถ้าแก้ชื่อแก้ได้)

5520/42 ชุด4 หน้า17 ฟ้องแย้งให้ทำลายสัญญาเงินกู้ ถือเป็นคำให้การ ไม่เป็นฟ้องแย้ง

3319/42 ชุด1 หน้า16 ฟ้องแย้งในเรื่องการคุ้มครองชั่วคราวเรียกค่าเสียหาย ไม่อาจรับฟ้องแย้ง

2995/40 ฟ้อง 3 ข้อหา (หย่า, เรียกค่าอุปการะ, ค่าเลี้ยงชีพ) ไม่วางค่าขึ้นศาลข้อหาไหน ก็เป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในข้อหานั้น จะสั่งทิ้งฟ้องทั้งหมด ไม่ชอบ)

1091/37 คดีแรก ขอ 1382 อ้างนิติเหตุ คดีสองอ้างสัญญาเป็นนิติกรรม ไม่เป็นฟ้องซ้อน

3317/40 คดีแรก ขอให้ปฏิบัติตามสัญญา คดีสองขอค่าเสียหายตามสัญญา ไม่เป็นฟ้องซ้อน

5716/39 ร้องสอดตาม 57(1) ถือว่าโจทก์เดิมและจำเลยเดิมเป็นจำเลยของผู้ร้องสอด ถ้าศาลจำหน่ายคดีเฉพาะผู้ร้องสอดกับจำเลยเดิม ถ้าผู้ร้องสอดไปฟ้องโจทก์เดิมและจำเลยเดิมเป็นคดีใหม่จะเป็นฟ้องซ้อนเฉพาะกับโจทก์เดิมเท่านั้น)

122/42, 1935/40, 2116/40 ชุด1 หน้า15 ร้องสอดเป็นฟ้องซ้อนหรือกระบวนพิจารณาซ้ำได้

วิแพ่ง (ภาค 3 มาตรา 223-252)  
มีมาตราที่สำคัญคือ 18,223-9,234,236,243,248,249,252

-ดูว่าเข้า ม.223 หรือไม่ ดูว่าคดีถึงที่สุดหรือไม่ ม.147 ฯ, ดูว่าเข้า ม.138,168,188,222 หรือไม่

มาตราที่ถึงที่สุด 14,28136,137,156,203,223 ทวิ,236,252,286,288,290,291,293,296,307,309

-ดูว่าจะอุทธรณ์ไปศาลฎีกาเลยหรือไม่ ถ้าไปศาลฎีกาเลยเข้า ม.223 ทวิหรือไม่

-ดูว่ามีคำพิพากษาหรือยัง
    1.ถ้ามีคำพิพากษาแล้ว ให้ดูว่าอุทธรณ์ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย
        -ถ้าอุทธรณ์ข้อกฎหมาย ดู225 (249) ใน ศ.ชั้นต้น ดูว่ามีประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ใน ศ.อุทธรณ์ ดูว่ามีการอุทธรณ์และแก้อุทธรณ์หรือไม่
        -ถ้าอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ดู224,225 (248,249) ดูว่าคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ คือดูว่าตอนฟ้องเป็นของใคร ฟ้องมาแล้วใครได้ไป ถ้าตอนฟ้องเป็นของจำเลยและถ้าโจทก์ชนะคดีจะกลับมาเป็นของโจทก์จะถือว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์
    2.ถ้ายังไม่มีคำพิพากษา ถ้ามีการอุทธรณ์, ฎีกาคำสั่งก็เป็นการอุทธรณ์, ฎีกาคำสั่ง ระหว่างยังไม่มีคำพิพากษา
        - ให้ดูว่าคำสั่งนั้นเข้าตาม ม.227,228 หรือไม่
        - ถ้าคำสั่งนั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องมีการโต้แย้งตาม ม.226และจะอุทธรณ์ทันทีไม่ได้
        -คำสั่งที่ไม่ใช่ ม.226,227,228 ก็ใช้ ม.223 (เช่น การอุทธรณ์คำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี)

-เรื่องระยะเวลาอุทธรณ์, เงินค่าธรรมเนียม ต้องดู 18,229

-เรื่องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องดู 234,236

-เรื่องทุเลาการบังคับคดีต้องดู 231,264

-เรื่องการสืบพยานเพิ่มเติม ต้องดู 240, ยกย้อนต้องดู 243

-การอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังศาลพิพากษาดู ม.199 เบญจ ว.4

-ม.245 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปถึงคู่ความที่ไม่ได้อุทธรณ์ในกรณีที่การชำระหนี้แบ่งแยกไม่ได้

หมายเหตุ

226 (903/42, 2348/41),227,228,229,234,236

(ให้ระวังเรื่องการวางเงินตาม 18 และ 229 ซึ่งมีข้อแตกต่างกัน)

คำสั่งของ ศ.อุทธรณ์จะเป็นที่สุดตาม 236 ต้องเป็นการสั่งในเนื้อหา มีข้อยกเว้นที่จะฎีกาได้ดังนี้

    1. สั่งเรื่องการวางเงินใช้แทนตาม 229 ฎีกาได้
    2. สั่งไม่อนุญาตให้ขยายเวลาอุทธรณ์ หรือวางเงิน ฎีกาได้
    3. สั่งจำหน่ายคดี ฎีกาได้

887/42 อุทธรณ์ฎีกาไม่ต้องบรรยายคำฟ้อง คำให้การ คำพิพากษา ให้บรรยายเฉพาะที่โต้แย้งคำพิพากษา

1778/43 ถ้ามีการคัดค้านคำร้องหรือมีคู่ความอื่นอุทธรณ์จะขอ 223 ทวิไม่ได้ ศาลจะยกคำร้อง

5023/42 กรณีมีการขอ 223ทวิและศาลสั่งรับอุทธรณ์ถือโดยปริยายว่าศาลอนุญาตคำร้องตาม 223 ทวิด้วย

1442/43 ไม่ได้ให้การในเรื่อง ปพพ ม 1374 ไว้ ถือว่าไม่มีประเด็นฎีกาไม่ได้

1305/43 การโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาจะโต้แย้งล่วงหน้าไม่ได้ (การโต้แย้งในมาตรา 183 ทวิต้องโต้แย้ง 2 ครั้ง

กลับไปหน้าเดิม