Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

 

  • ขั้นตอนและกระบวนการในการฟื้นฟูกิจการ (อย่างย่อ)
  • หลักเกณฑ์ในการขอฟื้นฟูกิจการ (มาตรา ๙๐/๓,๙๐/๔)
    1. ลูกหนี้ต้องมีหนี้สินล้นพ้น ( มีหนี้มากกว่าทรัพย์สิน )
    2. ลูกหนี้เป็นหนี้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท และต้องเป็นหนี้ที่แน่นอน
    3. มีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
    4. ลูกหนี้ต้องยังไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด (เพราะถ้าพิทักษ์ทรัพย์แล้วอำนาจในการจัดการต่างจะตกอยู่กับ จพท.) (มาตรา ๙๐/๕)
    5. ยื่นคำร้องฟื้นฟูกิจการโดยสุจริต
    6. ข้อสังเกต

      • “ มีเหตุจำเป็นอันสมควร ” = คือมีความเป็นไปได้ที่จะฟื้นตัวในทางเศรษฐกิจ

      = ความจำเป็นอย่างไรที่ไม่ต้องการให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือลูกหนี้ควรจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ( คือถ้าปล่อยให้เลิกกิจการไปจะกระทบใครหรือไม่ )

       


      คนงาน

       


      กิจการที่เกี่ยวข้อง
          • “ มีช่องทางที่จะฟื้นฟู ” = ได้รับการสนับสนุนจากทางสถาบันการเงินหรือบรรดาเจ้าหนี้

      = ลูกหนี้มีปัญหาอะไร เกิดมาจากอะไร ซึ่งมีอยู่ ๓ กรณี คือ โครงสร้างหนี้,โครงสร้างทุน,โครงสร้างกิจการ

          • ลูกหนี้ที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้นที่จะขอฟื้นฟูกิจการได้
          • ลูกหนี้ต้องยังไม่ถูกเพิกถอนการเป็นนิติบุคคล ( มาตรา ๙๐/๕ )
          • ต้องบรรยายคำร้องตามหลักเกณฑ์ มาตรา ๙๐/๖
          • ต้องเสียค่าขึ้นศาลและต้องวางเงินประกัน ( ตามมาตรา ๙๐/๗ )
          • การฟื้นฟูกิจการเป็นก.ม.ที่ออกมาเพื่อรักษาทรัพย์สินของลูกหนี้ไว้นอกจากรักษากิจการแล้วยังมีกระบวนการในการรวบรวมทรัพย์สินมาไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อให้การฟื้นฟูประสบความสำเร็จต่อไป
            • กระบวนการในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อมาใช้ในการฟื้นฟูกิจการ
              1. รวบรวมทรัพย์สินที่ลูกหนี้ได้โอนไปแล้ว ถ้าการโอนนั้นเป็นการฉ้อฉล, เป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้ให้จพท.เกถอนเพื่อเอาทรัพย์สินกลับมารวมในกองทรัพย์สิน
              2. การติดตามหนี้สินตามสิทธิเรียกร้อง ( คล้ายมาตรา ๑๑๙ พ.ร.บ.ล้มละลาย)
              3. การปฏิเสธสิทธิตามสัญญา (คล้ายมาตรา ๑๒๒ พ.ร.บ.ล้มละลาย )
                • ผลกระทบที่จะรักษากองทรัพย์สินของลูกหนี้เอาไว้นั้นจะเริ่มต้นเมื่อใด ( Automatic Stay) (มาตรา ๙๐/๑๒)

       


      เริ่มต้นให้มีผลตั้งแต่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ
      • ( Automatic Stay) มีผลอย่างไร ? M

       

      ห้ามบุคคลอื่นดำเนินการใดๆต่อลูกหนี้

        1. ห้ามฟ้องให้ลูกหนี้เลิกนิติบุคคล
        2. ห้ามนายทะเบียนจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลที่เป็นลูกหนี้
        3. ห้ามหน่วยงานราชการเพิกถอนใบอนุญาตปรพกอบกิจการของลูกหนี้
        4. *ห้ามฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน,ห้ามเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ,ห้ามฟ้องคดีล้มละลาย
        5. ห้ามบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อทรัพย์สินของลูกหนี้ (ที่บังคับไว้แล้วให้ศาลงดการบังคับไว้)
        6. ห้ามเจ้าหนี้มีประกันบังคับชำระหนี้จากหลักประกันเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
        7. ห้ามเจ้าหนี้บังคับชำระหนี้ได้เองตามก.ม.
        8. ห้ามเจ้าของทรัพย์ในการดำเนินกิจการตาม สัญญาเช่าซื้อ,ซื้อขาย,เช่าทรัพย์,สัญญาอื่น ติดตามเอาคืนทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครองของลูกหนี้ เว้นแต่หลังจากศาลได้สั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วมีการผิดนัดสองงวดติดต่อกันหรือทำผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ
        9. ห้ามลูกหนี้จำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อหนี้นอกจากที่จำเป็นเพื่อดำเนินการค้าตามปกติ
        10. คำสั่งตามวิธีชั่วคราวให้ยึดหรืออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนให้ศาลระงับผลบังคับไว้หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลง
        11. ห้ามผู้ประกอบกิจการสาธารณูปโภคงดให้บริการเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล
          • กระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการ J P
            1. ยื่นคำร้องฟื้นฟู ( เมื่อยื่นแล้วถอนไม่ได้เว้นแต่ศาลอนุญาต ตามมาตรา ๙๐/๘ ) และเสนอผู้ทำแผน
            2. เมื่อศาลรับคำร้องแล้วจะเกิด ( Automatic Stay) ( ตามมาตรา ๙๐/๑๒ )
            3. ศาลจะไต่สวนคำร้องอย่างรวดเร็วโดยไม่เลื่อนเว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย ( ตามมาตรา ๙๐/๑๑ )
    • ถ้าจะคัดค้านคำสั่งรับคำร้องให้ค้านก่อนไต่สวน ๓ วัน ( ตามมาตรา ๙๐/๙วรรค ๓ )
          1. ศาลมีคำสั่ง (ให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกคำร้อง )
            • สั่งยกคำร้อง คดีก็จบแต่สามารถยื่นคำร้องใหม่ได้ ( เพราะไม่มีบทบัญญัติไว้ว่าถ้าศาลยกคำร้องแล้วคดีจะเป็นที่สุด ) และต้องปฏิบัติตาม มาตรา ๙๐/๗๒ ด้วย หรือจะอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องก็ได้ตามมาตรา ๙๐/๗๙ (๑)
            • มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ( จะถอนคำร้องไม่ได้ ตามมาตรา ๙๐/๘)
          2. เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการแล้วศาลจะมีคำสั่ง


            • จะมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ( ตามมาตรา ๙๐/๑๗ ) สั่งตั้งโดยคำสั่งศาลฝ่ายเดียว

             


            ( กรณีที่ลูกหนี้เสนอผู้ทำแผนมาด้วย )
            สั่งตั้งโดยผ่านที่ประชุมเจ้าหนี้( ตามมาตรา ๙๐/ ๑๗,๙๐/๑๘)
                      • สิทธิตามก.ม.ของผู้ถือหุ้นและอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตกแก่ผู้ทำแผน

            ( ตามมาตรา ๙๐/๒๕ )

                      • เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าหนี้ต้องยื่นขอรับชำระหนี้ต่อจ.พ.ท.ภายใน ๑ เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาหรือในน.ส.พ.แล้วแต่ว่าวันใดเป็นวันหลังสุด ( ตามมาตรา ๙๐/๒๖ ) ***( ซึ่งจะมีข้อแตกต่างจากมาตรา ๙๑ คือตามมาตรา ๙๑ มีระยะเวลาในการขอรับชำระหนี้ ๒เดือนและยังอาจจะสามารถ

            ขยายได้อีก ๒ เดือน )

             

            หากไม่ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่ก.ม.กำหนดไว้ เจ้าหนี้ผู้นั้นย่อมหมดสิทธิได้รับชำระหนี้ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการนั้นจะสำเร็จหรือไม่ เว้นแต่ - แผนกำหนดเป็นอย่างอื่น

            - ศาลมีคำสั่งให้เลิกการฟื้นฟูกิจการ ( ตามมาตรา ๙๐/๖๑ )

            • แต่อย่างไรก็ดีเจ้าหนี้มีประกันจะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ก็ได้ ( ตามมาตรา ๙๐/๒๘ )
                      • เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแม้หนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม เว้นแต่หนี้ที่เกิดโดยฝ่าฝืนก.ม.,ศีลธรรมอันดี,ฟ้องบังคับคดีไม่ได้ ( ตามมาตรา ๙๐/๒๗ )

             

            เจ้าหนี้,ลูกหนี้,ผู้ทำแผน อาจขอตรวจอาจขอตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการต่อ จ.พ.ท.ได้ภายใน ๑๔ วันนับแต่พ้นกำหนดยื่นขอรับชำระหนี้ ( ตามมาตรา ๙๐/๒๙ )

            ซึ่งถ้ามีการโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้ให้จ.พ.ท.สอบสวนและมีคำสั่งว่าจะให้เจ้าหนี้รายนั้นออกเสียงในจำนวนหนี้ได้หรือไม่เท่าใด ( ตามมาตรา ๙๐/๓๐ ประกอบมาตรา ๙๐/๒๓ วรรค ๒ ) และให้จ.พ.ท.มีคำสั่ง ( สั่งยกคำขอรับชำระหนี้หรือสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระเต็มจำนวนที่ยื่นขอหรืออนุญาตให้ได้รับชำระบางส่วน ) ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องคัดค้านคำสั่งจ.พ.ท. ต่อศาลได้ภายใน ๑๔ วันนับแต่ทราบคำสั่งจ.พ.ท.( ตามมาตรา ๙๐/๓๒ วรรค ๒ )

            ถ้าไม่มีผู้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้เต็มจำนวนหนี้ตามที่ได้ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้( ตามมาตรา ๙๐/๓๐ ) และจ.พ.ท.มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ได้ เว้นแต่มีเหตุอันสมควรสั่งเป็นอย่างอื่น( ตามมาตรา ๙๐/๓๒ )

                      • เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วให้ศาล
                        • แจ้งคำสั่งนั้นแก่ผู้ทำแผน,จ.พ.ท.,ผู้บริหารของลูกหนี้,ผู้บริหารชั่วคราว ( ตามมาตรา ๙๐/๒๔ )

                        • แจ้งคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า ๒ ฉบับ (ตามมาตรา ๙๐/๒๑ วรรค ๓ ) ( มาตรา ๙๐/๒๔ ประกอบ มาตรา ๙๐/๒๐ วรรค ๔ )
                      • เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้วให้ผู้ทำแผน
                        • เสนอแผนส่งต่อจ.พ.ท.ภายใน ๓ เดือนนับแต่วันโฆษณาตั้งผู้ทำแผนในราชกิจจานุเบกษาและอาจขยายได้ ๒ ครั้งๆละไม่เกิน ๑ เดือน ( สุรปคือต้องทำแผนให้เสร็จสิ้นภายในเวลา ๕ เดือน ) ( ตามมาตรา ๙๐/๔๓ ) โดยต้องมีรายละเอียดของแผนด้วย ( ตามมาตรา ๙๐/๔๒ )
                        • กรณีถ้าศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนคนใหม่ ผู้ทำแผนคนใหม่ต้องเสนอแผนต่อจ.พ.ทภายใน ๔๕ วันนับตั้งแต่ทราบคำสั่งศาล ( ตามมาตรา ๙๐/๕๔ )
                        • อำนาจในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้และบรรดาสิทธิตามก.ม.ของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ให้ตกแก่ผู้ทำแผน( ตามมาตรา ๙๐/๒๕ )
                        • ยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ( ตามมาตรา ๙๐/๓๕ ) ซึ่งถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิด ( ตามมาตรา ๙๐/๘๓ )
                        • มีคำขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรม ( ตามมาตรา ๙๐/๔๐ ) โดยศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ ( ตามมาตรา ๙๐ /๔๑ )
                          • จะมีคำสั่งตั้งผู้บริหารชั่วคราว ( ตามมาตรา ๙๐/๒๐ ) ( กรณียังไม่มีการตั้งผู้ทำแผน )
                            • ผู้บริหารชั่วคราวจะมีอำนาจจนกว่าจะมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ( ตามมาตรา ๙๐/๒๐, ๙๐/๒๑ )
                            • ทำคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ( ตามมาตรา ๙๐/๓๕ ประกอบมาตรา๙๐/๓๖ )
                  1. เมื่อตั้งผู้ทำแผนแล้วกระบวนการต่อไปที่ผู้ทำแผนจะต้องปฏิบัติคือ ทำแผนเสนอให้แก่จ.พ.ท.
                  2. เมื่อทำแผนส่งต่อจ.พ.ท.แล้วจ.พ.ท.จะต้องดำเนินการให้มีกระบวนการพิจารณาแผน
              1. ในการพิจารณาแผนให้จ.พ.ท.ทำการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติพิจารณาแผน ( ตาม มาตรา๙๐/๔๔ )
              2. การลงมติยอมรับแผนต้องเป็นมติพิเศษ ( ตามมาตรา ๙๐/๔๖ ,๙๐/๔๖ ทวิ ) โดยจะมีการแบ่งกลุ่มเจ้าหนี้ออกเป็นกลุ่มๆแล้วให้แต่ละกลุ่มออกเสียงลงมติ ( ตามมาตรา ๙๐/๔๒ ทวิ ) ( มติพิเศษดูมาตรา ๖ พ.ร.บ.ล้ม.)
                • แต่ถ้าลงมติไม่ยอมรับแผน ไม่มีมติพิเศษยอมรับ ไม่มีมติประการใด ไม่มีเจ้าหนี้ไปประชุม จ.พ.ท.ต้องรายงานต่อศาลเพื่อพิจารณาและสั่งต่อไป ( ตามมาตรา ๙๐/๕๔ )
                • การยอมรับแผนจ.พ.ท.ต้องรายงานมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนต่อศาล ( ตามมาตรา ๙๐/๕๖ )
                • ศาลจะมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเมื่อได้พิจารณาถึง มาตรา ๙๐/๕๗ ก่อน
                • ถ้าศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้วให้ศาลแจ้งคำสั่งแก่ผู้บริหารแผนและผู้ทำแผนบรรดาสิทธิและอำนาจหน้าที่ของผู้ทำแผนจะตกเป็นของผู้บริหารแผนต่อไป( ตามมาตรา ๙๐/๕๙)โดยศาลต้องพิจารณาแล้วว่าไม่ขัดต่อมาตรา ๙๐/๕๘
                • ถ้าศาลเห็นชอบด้วยแผน ก็จะดำเนินการไปตามแผนซึ่งจะมีผู้บริหารแผน (จะปรากฏชื่อตามแผน) เป็นผู้ดำเนินการให้ปฏิบัติให้เป็นไปตามแผน
                • ถ้าศาลไม่เห็นชอบด้วยแผนศาลจะพิจารณาต่อไปว่าควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ถ้ากรณีได้ฟ้องล้มละลายไว้แล้วถ้าศาลเห็นควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องขอฟื้นฟูแล้วดำเนินคดีล้มละลายต่อไป แต่ถ้าลูกหนี้มิได้ถูกฟ้องล้มละลายหรือศาลเห็นว่าไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลายก็จะมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูนั้นเสีย ( ตามมาตรา ๙๐/๕๘ ประกอบมาตรา ๙๐/๔๘ วรรค ๔ )
                • ผู้บริหารแผนดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน ๕ ปี แต่ขยายได้ ๒ ครั้งๆละไม่เกิน ๑ ปี ( ตามมาตรา ๙๐/๔๒( ๙) ประกอบมาตรา ๙๐/๖๓ )
                • ในการบริหารแผนนั้น แผนจะสำเร็จหรือไม่ก็ตามผู้บริหารแผนต้องรายงานต่อ จ.พ.ท.ทุกรอบ ๓ เดือน (ทุกไตรมาส) ( ตามมาตรา ๙๐/๖๖ )
                • ส่วนจ.พ.ท.ต้องทำรายงานเสนอศาลเพื่อให้ศาลพิจารณาสั่งต่อไป ( ตามมาตรา ๙๐/๖๖ )
                  • ถ้าแผนสำเร็จ ศาลก็จะมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู


                  • ถ้าแผนไม่สำเร็จ ศาลก็จะมีคำสั่ง สั่งยกเลิกการฟื้นฟู

               


              ( ตามมาตรา๙๐/๗๐ ) สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ( กรณีเห็นสมควรให้ ล้มละลาย )
                  • ถ้าแผนไม่สำเร็จ ให้จ.พ.ท.รายงานศาลภายใน ๑๔ วันนับแต่ระยะเวลาดำเนินการตามแผนสิ้นสุดลง เมื่อศาลได้รับรายงานให้ศาลนัดพิจารณาเป็นการด่วนและแจ้งวันนัดให้จ.พ.ท.ทราบและให้จ.พ.ท.แจ้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓ วันก่อนวันนัดพิจารณาเมื่อศาลพิจารณาแล้วให้ศาลมีคำสั่ง สั่งยกเลิกการฟื้นฟู,สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
                  • เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของลูกหนี้และทรัพย์ก็ตกเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ต่อไป แต่ถ้าผู้บริหารลูกหนี้ยังไม่เข้าไปจัดการก็ให้ ผู้บริหารแผน,ผู้บริหารชั่วคราว,จ.พ.ท.มีอำนาจเพื่อจัดการรักษาผลประโยชน์ของลูกหนี้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ ( ตามมาตรา ๙๐/๗๑ )
                1. กรณีมีการขอแก้ไขแผน ( ตามมาตรา ๙๐/๔๕,๙๐/๔๘ – ๙๐/๕๐ )


                  • ถ้าผู้ทำแผนไม่ให้แก้ไขแผน จ.พ.ท.จะถามที่ประชุมเจ้าหนี้ว่าจะตั้งผู้ทำแผนใหม่หรือไม่ ( ตามมาตรา ๙๐/๕๑ ) ถ้าตั้งใหม่ ( ตามมาตรา ๙๐/๕๒ วรรค ๑ )

                 


                ถ้าไม่ตั้งใหม่หรือตั้งไม่ได้ให้นำมาตรา ๙๐/๔๘ วรรค ๔ มาใช้โดยอนุโลม ( ตามมาตรา ๙๐/๕๒ วรรค ๒ )

                และให้ปฏิบัติต่อไป ( ตามมาตรา ๙๐/๕๑ - ๙๐/๕๕ )

                    • เมื่อการแก้ไขแผนศาลเห็นชอบแล้วให้ดำเนินการแก้ไขโดยนำมาตรา ๙๐/๒๐,๙๐/๔๔,๙๐/๔๕,๙๐/๔๖,๙๐/๔๗,๙๐/๕๖,๙๐/๕๘.๙๐/๖๓ มาใช้โดยอนุโลม

                 

                 

                 

                J ขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบ J

                รวบรวมโดย นายพิพัฒน์ กิจเสถียรพงษ์

                นิติศาสตรบัณฑิต,เนติบัณฑิตไทย