Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

สรุปหลักกฎหมายอาญาภาค 1

บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อ

  1. การกระทำครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ
    1. มีการกระทำ
    2. ครบองค์ประกอบภายนอก

    - ผู้กระทำ

    - การกระทำ

    - วัตถุแห่งการกระทำ

    1.3 ครบองค์ประกอบภายใน

    1.4 ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำ

  2. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด การยกเว้นมีหลายกรณีคือ
  1. ยกเว้นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา 68,213,305,329,331
  2. ยกเว้นความผิด ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 มีหลักว่า

“ไม่มีความผิดไม่มีโทษถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้” มาตรา 2 ห้ามนำมาใช้เพื่อเป็นผลร้ายเว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าใช้เพื่อเป็นคุณนำมาใช้ได้ถือเป็นหลักกฎหมายทั่วไป

ฎ : 1403/08 ความยินยอมถ้าไม่ขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดีสามารถยกเว้นความผิดได้โดยถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไป

    • จารีตประเพณีก็ถือว่าเป็นหลักกฎหมายทั่วไปยกเว้นความผิดได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่าง จารีตให้อำนาจครูตีนักเรียนได้ เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

ฎ : 429-30/2505 ภิกษุมีอำนาจลงโทษเด็กวัดได้

  1. ยกเว้นอยู่ในรัฐธรรมนูญ (ม. 157 ว.1)
  2. ยกเว้นอยู่ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ม. 1347, 452, 1567(2),395,450)
    • อำนาจตามสัญญาบางครั้งก็ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดอาญาฐานบุกรุกถือว่ามีอำนาจที่จะทำได้ตามสัญญา

ฎ : 1/12 วินิจฉัยว่าเป็นบุกรุก การที่จำเลยใช้ไม้กระดานตีทางทับประตูห้องที่โจทก์ครอบครองอยู่ในขณะที่โจทก์ไม่อยู่ และปิดประตูห้องไว้ทำให้โจทก์เข้าห้องไม่ได้ เป็นการล่วงล้ำเข้าไปในอำนาจครอบครองของโจทก์ ถือเป็นการรบกวนการครอบครองตาม ปอ.ม.362

    • ถ้ามีข้อตกลงในปัญหาก็ไม่เป็นบุกรุก

ฎ : 4854/37 หนังสือเช่าระบุไว้ชัดเจนว่าให้อำนาจผู้ให้เช่ากระทำได้ก็ไม่ผิดบุกรุก

  1. ยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ม.78(3),83)

ฎ : 699/02 เจ้าพนักงานผู้จับยิงยางล้อรถยนต์ของคนร้ายจนบางแตกเพื่อให้รถหยุดจะได้จับกุมคนบน

รถเป็นการกระทำที่พอเหมาะพอควรแก่การจับมีอำนาจทำได้ ตาม ปอ.มาตรา83 ไม่ผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358

สำนักติวกฎหมายราม 17 -2-

 

สรุปหลัก คือ ถ้าผู้กระทำมีอำนาจทำได้ตาม 5 ข้อข้างต้น การกระทำนั้นจะไม่เป็นความผิดทางอาญา

 

  1. การกระทำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ
    1. ยกเว้นโทษมีหลายกรณี คือ

- จำเป็น มาตรา 67

  • เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี ทำผิด มาตรา 73
  • เด็กอายุไม่เกิน 14 ปี ทำผิด มาตรา 74
  • คนวิกลจริตทำผิด มาตรา 65
  • คนเมาทำผิด มาตรา 66
  • ทำตามคำสั่งที่มิชอบของเจ้าพนักงาน มาตรา 70
  • ทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างสามีภริยา มาตรา 71

3.2 เหตุลดโทษอยู่นอกโครงสร้างการรับผิดทางอาญา คือไม่ได้รับยกเว้นแต่ได้รับการลดโทษ ซึ่งเป็น

ดุลพินิจของศาล มีดังนี้

  • บันดาลโทสะ มาตรา 72
  • ความไม่รู้กฎหมาย มาตรา 64
  • คนวิกลจริตซึ่งรู้ผิดชอบอยู่บ้าง มาตรา 65 ว.2
  • คนมึนเมาซึ่งรู้ผิดชอบอยู่บ้าง มาตรา 66
  • ผิดเกี่ยวกับทรัพย์ระหว่างญาติสนิท มาตรา 71 ว.2
  • เหตุบรรเทาโทษ มาตรา 78
  • ผู้ทำผิดอายุกว่า 14 ปี ไม่เกิน 17 ปี มาตรา 75
  • ผู้ทำผิดอายุกว่า 17 ปี ไม่เกิน 20 ปี มาตรา 76

มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา…..

การกระทำคือ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก

รู้สำนึก คือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ

การกระทำไม่ว่าจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ต้องผ่าน 3 ขั้นตอนด้วยความรู้สำนึกในการที่กระทำ คือ

    1. ต้องมีความคิดที่จะกระทำ
    2. ตกลงใจที่จะกระทำตามที่คิด
    3. ได้กระทำไปตามที่ตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิดการกระทำ

ฉะนั้น อาจแบ่งการกระทำได้ 2 ประเภทคือ

  • การกระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย

 

สำนักติวกฎหมายราม 17 -3-

*******การเคลื่อนไหวร่างกายมิใช่จะเป็นการกระทำเสมอไป การเคลื่อนไหวร่างกายต้องเป็นการเคลื่อนไหวโดยรู้สภาพและสาระสำคัญของการกระทำคนละเมอ คนเป็นลมบ้าหมู ถูกผลัก ถูกชน ถูกจับมือให้ทำ ถูกสะกดจิต กรณีเช่นนี้ไม่มีการกระทำ*******

  • “การกระทำ” ให้หมายความรวมถึงการงดเว้นที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย (ม.59 วรรคท้าย)
  • การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวแยกได้ 2 ประเภท
  1. โดยงดเว้น
  2. โดยละเว้น

การกระทำโดย “งดเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ

  1. เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
  2. ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ
  3. หน้าที่ตามข้อ 2 เป็นหน้าที่ซึ่งต้องกระทำโดยเฉพาะเพื่อป้องกันผลที่เกิดขึ้นนั้น

การกระทำโดย “ละเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ

  1. เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
  2. ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ
  3. หน้าที่ตามข้อ 2 เป็นหน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป

 

สรุป การกระทำโดยงดเว้น/ละเว้น ต่างกันตรงหน้าที่ ถ้าเป็น

- หน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล (SPECIAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่เป็นการกระทำโดยงดเว้น

- หน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป (GENERAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่ถือเป็นการกระทำโดยละเว้น

ตัวอย่าง แดงจ้างขาวไปฆ่าดำ ขาวตกลง ระหว่างขาวกำลังหาโอกาสที่จะฆ่าดำอยู่นั้น วันหนึ่ง ดำมาว่ายน้ำในสระน้ำ ดำเกิดเป็นตะคริวและกำลังจะจมน้ำ คำร้องขอให้ช่วย ขาวเป็นลูกจ้างประจำสระมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของสระว่ายน้ำนั้น ขาวเห็นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยเพราะต้องการให้ดำตาย ในที่สุดดำตาย ขาวและแดงผิดฐานใด

ตอบ วินิจฉัยความผิดของผู้ลงมือก่อนแล้วจึงวินิจฉัยความผิดตัวการ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนเพราะต้องขึ้นอยู่กับความผิดของผู้ลงมือ ฉะนั้นดูให้ดีว่าใครลงมือ

  • ขาวต่อดำ การที่ขาวปล่อยให้ดำจมน้ำตายโดยไม่ช่วยเพราะประสงค์ให้ตายอยู่แล้วเข้า 59 ว. ท้ายงดเว้นที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันผล เพราะขาวมีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะป้องกันไม่ให้ดำตายเนื่องจากขาวเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้มาว่ายน้ำ ขาวจึงผิด 289 (4) + 59 ว.ท้าย
  • แดงต่อดำ แดงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เมื่อขาวผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดตามที่ใช้ แดงจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตาม 84 ว.2 แดงจึงมีความผิดตาม 289(4) + 84

 

 

สำนักติวกฎหมายราม 17 -4-

  • หน้าที่ของการกระทำโดยงดเว้นมี 4 ประเภทคือ
  1. หน้าที่ ตามกฎหมายบัญญัติ
  • ปพพ. 1563 บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
  • ปพพ. 1564 บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
  • ปพพ. 1461 สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
  1. หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง ผู้กระทำยอมรับโดยตรงที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การยอมรับก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามที่ตนยอมรับ
  2. หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อน ๆ ของตน ถ้าการกระทำของผู้กระทำน่าจะก่อให้เกิดภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้กระทำย่อมมีหน้าที่ต้องป้องกันภยันตรายนั้น

ตัวอย่าง A เห็นคนตาบอดข้ามถนนเลยไปช่วย แต่พอพาไปกลางถนนรถเมล์มา A เลยวิ่งไปขึ้นรถทิ้งคนตาบอดไว้ ขาวขับรถมาชนถูกคนตาบอดตาย

  • ขาวผิด 291
    • แดงผิด 291 + 59 ว. ท้าย เป็นการฆ่า โดยงดเว้น
  1. หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษ

เช่น หลานไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะ ป้า แต่ถ้าป้าคนนั้นเป็นคนเลี้ยงดูหลานมาแต่เด็กให้อาหารกิน ให้การศึกษาอบรม ภายหลังป้าแก่ตัวลงหลานไม่เลี้ยงดูปล่อยให้ป้าอดตาย อาจถือว่าหลานฆ่าป้าก็ได้

  • ผู้กระทำความผิดในทางอาญา แยกได้ 3 ประเภท
  1. ผู้กระทำความผิดเอง ผู้นั้นได้กระทำความผิดด้วยตนเองโดยตรง เช่น แดงใช้ปืนยิงดำด้วยมือของ
  2. แดงเองเช่นนี้ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดเอง การใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดการใช้บุคคลซึ่งไม่มีการกระทำ เช่น ถูกสะกดจิตเป็นเครื่องมือถือว่าเป็นการกระทำความผิดเอง

  3. ผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม ผู้ที่หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด ผู้ถูกหลอกมีการกระทำแต่ขาด

เจตนา ผู้ถูกหลอกมีการกระทำเพราะไม่ได้ถูกสะกดจิต ไม่ได้ละเมอแต่ผู้ถูกหลอดขาดเจตนา เพราะ 59 ว. 3 ผู้ถูกหลอกไม่รู้ ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด

  • หลักของการเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อมมีหลัก คือ
    1. มีเจตนากระทำความผิดการกระทำโดยประมาทไม่มีการกระทำความผิด โดยทางอ้อม
    2. มีเจตนาหลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด
    3. ผู้ถูกหลอดไม่มีเจตนากระทำความผิด

ฎ : 1013/05 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จล.รู้ดีอยู่ก่อนแล้วว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จล.ยังร่วมกันจ้างให้

คนเข่าไปขุดดินในที่พิพาทและผู้รับจ้างจาก จล.ได้ขุดดินของผู้เสียหลายจนเกิดเป็นบ่อ ทำให้ที่พิพาทเสียหายเช่นนี้ การกระทำของ จล.ย่อมมีความผิดตาม ปอ.ม.358, 362 จล. จะเถียงว่ามูลกรณีเป็นคดีแพ่งมิใช่คดีอาญาย่อมฟังไม่ขึ้น

3. ผู้ร่วมในการกระทำความผิด ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน

  • จะเป็นผู้ใช้ตาม มาตรา 84 ได้ผู้ถูกใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด

สำนักติวกฎหมายราม 17 -5-

ตัวอย่าง เปรียบเทียบผู้กระทำความผิดทั้ง 3 ประเภท

    1. แดงต้องการฆ่าดำ แดงรู้ว่าดำตื่นตอน 8 โมง และต้องดื่มน้ำที่มีผู้นำมาวางไว้ข้างเตียงทุกเช้า แดงนำ
    2. น้ำผสมยาพิษไปวางตอน 7 โมง ดำตื่นมา 8 โมง ดื่มน้ำนั้นตาย แดงวางเองเป็นผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง

    3. แดงต้องการฆ่าดำ 6 น. แดงหลอกขาวซึ่งเป็นพยาบาลว่าสิ่งที่อยู่ในถ้วยเป็นน้ำผลไม้ความจริงเป็นยา
    4. พิษ ให้ช่วยนำไปให้ดำกิน ครั้นเวลา 7 โมง ขาวนำไปวาง 8 น. ดำตื่นกินน้ำผลไม้และตายแดงผิด 289(4) + 59 เป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม

    5. แดงต้องการฆ่าดำ 6 น. แดงจ้างขาวให้นำน้ำผลไม้ผสมยาพิษ ไปให้ดำกินให้ไปวางตอน 7 น. ถ้าดำตื่น 8 น. กินน้ำผลไม้และตายขาวรู้อยู่แล้วว่ามียาพิษแต่ทำตามเพราะอยากได้เงิน ขาวผิดผิด 289(4) + 59 เป็นผู้กระทำความผิด แดงผิด 289(4) + 59+84 เพราะแดงเป็นผู้ใช้

ทั้ง 3 กรณีจะถือว่าอย่างไร แดงผู้กระทำลงมือฆ่าดำ พยายามฆ่าเรื่องพยายามมีอยู่ตาม มาตรา 80 ถือ

การมือกระทำความผิด ศาลไทยผมรับตาม “หลักใกล้ชิดต่อผล” คือ ได้กระทำลงจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จอันพึงเห็นได้ประจักษ์แล้ว

  • การครบองค์ประกอบภายนอกและการขาดองค์ประกอบภายนอก
  • ความจริงการกระทำของผู้กระทำครบองค์ประกอบภายนอกของความผิดในเรื่องนั้น ๆ

ตัวอย่าง แดงยิง ดำที่นอนคลุมโปงอยู่ดำตาย การกระทำครบองค์ประกอบภายนอกของ ม.288 เพราะ

ม.288 มีว่า “ผู้ใด ฆ่า ผู้อื่น” แดง = ผู้ใด ใช้ปืนยิง = การฆ่า ดำ = ผู้อื่น

แดง = ผู้ใด การใช้ปืนยิง = การฆ่า แต่ดำ ¹ ผู้อื่น เพราะเป็นศพไปแล้วถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก

  • เมื่อการกระทำขาดองค์ประกอบภายนอกมีผลในทางกฎหมาย
  • ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิดเลย แม้พยายามตามมาตรา 81 ก็ได้ผิดจะถือว่าผิดพยายามซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ไม่ได้
  • ครบ , ขาดองค์ประกอบภายนอก อย่าปนกับเรื่องเจตนา

ตัวอย่าง แดงใช้ปืนยิงดำที่นอนคลุมโปงดำตาย “แดงใช้ปืนยิง โดยที่แดงรู้ ดำตาย” กรณีนี้ “ครบองค์

ประกอบภายนอก”

แดงใช้ปืนยิงศพของดำ โดยคิดว่าดำยังไม่ตาย กรณีนี้ “ขาดองค์ประกอบภายนอก” เพราะความ

จริงเป็นศพ ผลในทาง กม.มี 2 ความเห็นคือ ไม่ผิดเลย, ผิดแต่ผิดตามมาตรา 81 อันหลังเป็นความเห็นฝ่ายข้างน้อย

    1. ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเห็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด
    2. ผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลของการกระทำของตนนั้น, จะต้องเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
  • องค์ประกอบภายใน โดยหลักคือ เรื่องเจตนา ,ประมาท
  • เจตนาตามกฎหมายอาญาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1. เจตนาตามความเป็นจริง ® เจตนาประสงค์ต่อผล,เจตนาย่อมเล็งเห็นผล
    2. สำนักติวกฎหมายราม 17 -6-

    3. เจตนาโดยผลของกฎหมาย ® ไม่เจตนาประสงค์ต่อผล,ไม่เจตนาย่อมเล็งเห็นผลแต่กฎหมายถือว่าเจตนา คือ การกระทำโดยพลาด

เจตนาตามความเป็นจริงตาม มาตรา 59 ต้องพิจารณาตามมาตรา 59 วรรค 3 ก่อนแล้วจึงพิจารณามาตรา 59 วรรค 2 ซึ่งจะได้หลักว่าผู้กระทำมีเจตนาต่อเมื่อ

1. ผู้กระทำรู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด

2. ผู้กระทำต้องประสงค์ต่อผลของการที่กระทำของตนนั้น, จะต้องเล็งเห็นผลของการที่กระทำนั้น

*หลักเรื่องรู้ (ม. 59 ว.3 ม. 62, ว.2, ว.3)

  • รู้ คือ รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด

ไม่รู้ไม่มีเจตนา (หลัก ม.59 ว.3 ม.62 ว.2)

  • มาตรา 62 ว. 2 “ถ้าความไม่รู้ข้อเท็จจริงตามความในวรรค 3 แห่ง 59 ได้เกิดขึ้นโดยความประมาท

ให้ผู้กระทำรับผิดฐานประมาทในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าการกระทำนั้นผู้กระทำจะต้องรับโทษแม้กระทำโดยประมาท”

ตัวอย่าง ใช้ปืนยิ่งไปหลังพุ่มไม้โดยคิดว่ายิงหมูป่า ความจริงยิงคน การที่รีบร้อนไม่ตรวจตราดูให้ดีก่อนว่าเป็นหมูป่า มีคนถูกยิง ไม่มีเจตนาฆ่าคนคนนั้น แต่การรีบร้อนไม่ดูให้ดีถือว่าประมาท ซึ่งต้องวิเคราะห์ตาม ว.59 ว.4 ถ้าประมาทก็ต้องรับผิดตาม ม.291 แต่บางกรณีแม้จะประมาทก็ไม่ต้องรับผิด เช่น หยิบร่มรีบร้อนไม่ดูให้ดีถ้าดูให้ดีจะรู้ว่าไม่ใช่ร่มตนเป็นประมาท แต่ไม่ต้องรับผิดเพราะการลักทรัพย์โดยประมาทกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ว่าเป็นความผิด

รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น (มาตรา 62 ว.ท้าย)

  • มาตรา 62 ว. ท้าย “บุคคลจะต้องรับโทษหนักขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงใดบุคคลนั้นต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้น”

ตัวอย่างแดงต้องการฆ่าดำที่เป็นศัตรูจึงไม่ดักยิงเมื่อขาวพ่อแดงเดินมาแดงคิดว่าดำจึงยิงขาวตายแดงต้องรับผิด?

- แดงต่อขาว แดงดักยิงผิด 2879 (4) แต่ไม่ต้องรับผิด 289(1) จะถือว่าผิดฐานฆ่าบุพการีไม่ได้เพราะ 62 ว.ท้าย บัญญัติว่าบุคคลนั้นต้องรู้ข้อเท็จจริงนั้น แดงไม่รู้ว่าเป็นการฆ่าพ่อ คิดว่าฆ่าศัตรูจะถือว่าแดงมีเจตนาฆ่าพ่อไปได้ ดังนั้น แดงต่อขาวคือ 289(4) + 59

  • แดงต่อดำ แดงไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อดำ เพราะเจตนาที่แดงมีต่อดำในตอนแรกได้เปลี่ยนไปที่ขาวที่

ถูกยิงจนหมดสิ้นแล้ว เป็นเรื่องสำคัญผิดในตัวบุคคล ไม่ใช่การกระทำโดยพลาด

รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น แต่ไม่เกินความจริง

  • รู้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดแต่ละฐาน

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าขาวจึงเป็นพ่อในความมืดเห็นดำเดินมาคิดว่าเป็นขาว จึงยิง-ดำตาย แดงผิด?

- แดงต่อดำ 289(4) เพราะดักซุ่มยิงตั้งแต่แรก เจตนาตาม 59 จะยกความสำคัญผิดขึ้นมาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่มีเจตนาไม่ได้ ตาม ม.61 เพราะฉะนั้น แดงต่อดำ 289 (4) + 59 + 61 ไม่มี 289(1) เพราะว่าคนที่ถูกยิงไม่ใช่พ่อ คิดว่ายิงพ่อจะรับผิดฐานฆ่าพ่อไม่ได้

สำนักติวกฎหมายราม 17 -7-

 

สรุป หลักเรื่องรู้

    1. ไม่รู้ไม่มีเจตนา
    2. รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น
    3. รู้เท่าใดมีเจตนาเท่านั้น แต่ไม่เกินความจริง

* เจตนาประเภทประสงค์ต่อผล ทางตำราเรียกว่า “เจตนาโดยตรง” ประสงค์ต่อผลหมายความว่ามุ่งหมายจะให้เกิดผล ถ้าเกิดผลก็เป็นความผิดสำเร็จ ถ้าผลไม่เกิดก็เป็นผิดพยายาม ตาม ม.80, 81 ก็ได้ความผิดอาญาสามารถแยกออกได้หลายประเภท แต่ทางตำราได้แยกออกคือความผิดที่ต้องมีผลปรากฏและความผิดที่ไม่ต้องมีผลปรากฏ

*อย่างไรจึงจะถือเป็นเจตนาฆ่า/อย่างไรเป็นเจตนาทำร้าย หลักคือ “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” คือการกระทำของผู้กระทำที่แสดงออกมาภายนอกเป็นเครื่องชี้ถึงสภาพจิตใจของผู้กระทำว่ามีเจตนาอย่างไร

หลักทั่ว ๆ ไปคือ

    1. พิจารณาจากอาวุธที่ใช้กระทำ
    2. พิจารณาจากอวัยวะที่ถูกกระทำ
    3. พิจารณาจากลักษณะของบาดแผลที่ถูกกระทำ
    4. พิจารณาจากพฤติกรรมอื่น ๆ

ในเรื่องอาวุธที่ใช้ในการกระทำ ถ้าอาวุธที่ใช้ในการกระทำ คือ ปืนถือว่ามีเจตนาฆ่าเสมอ

ฎ : 816/20 จล.วิ่งเข้าชกด้วยมีดโกนชนิดใช้ในร้านตัดผมในลักษณะเฉี่ยวบาดถูกบริเวณคอ แผลยาว

10 CM. เป็นอวัยวะสำคัญแต่ไม่ถูกเส้นเลือดแดง ผู้เสียหายจึงไม่ตายแสดงว่ามีเจตนาฆ่าตาม 288+80 แม้ การที่ จล.เพียงชกต่อยแต่ จล.ย่อมเล็งเห็นว่ามีดโกนที่อยู่ในมือ จล.จะบาดคอซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญถือว่ามีเจตนาฆ่า

ฎ : 1006/01 ยิงในระยะ 1 วา ถูกขาเหนือตาตุ่มกระดูกแตก ถ้าตั้งใจฆ่าก็คงยิงถูกที่สำคัญได้ แสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่า ผิด 295

ฎ : 234/25 จล.ยิงไปที่พื้นในขณะผู้เสียหายกำลังเดินไปหาจล. และห่างแค่ 2 วา จล.เล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนอาจถูกผู้เสียหายได้ หากกระสุนถูกขา ผู้เสียหายบาดเจ็บต้องถือว่ามีเจตนาทำร้ายมิใช่แค่ยิงขู่

ฎ : 223/37 จล. ใช้ปืนยิงในระยะห่าง 5-6 วา หาก จล.ประสงค์จะเอาชีวิตคงเลือกยิงในตำแหน่งที่อาจทำให้ถึงตายได้โดยไม่ยากการที่ จล.ยิงในระดับต่ำถูกต้นขา ย่อมแสดงให้เห็นว่า จล.เขตนาแค่ทำร้ายร่างกายเท่านั้นจึงผิด 295

* เจตนาเล็งเห็นผล “เจตนาโดยอ้อม” คือเล็งเห็นว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ ตัวอย่าง

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำซึ่งยืนติดกับขาวปืนที่ใช้เป็นปืนลูกซอง กระสุนถูกดำและแผ่กระจายไปถูกขาว ทั้งดำ+ขาว ตาย

- ความรับผิดชอบของแดงต่อดำ 288+59 เจตนาประสงค์ต่อผล

- ความรับผิดชอบของแดงต่อขาว 288+59 เจตนาประเภทเล็งเห็นผล

สำนักติวกฎหมายราม 17 -8-

เพราะขาวยืนติดกับดำ ปืนที่ใช้เป็นลูกซองเล็งเห็นได้ว่าถ้ายิงไปที่ดำแล้วผลจะเกิดแก่ขาวอย่างแน่นอน ไม่ใช่พลาดเพราะพลาดจะต้องไม่เล็งเห็นผล

* ตัวอย่างฎีกาเรื่องเล็งเห็นผล *

~ ฎีกาเจตนาฆ่า

ฎ : 1270/26 จล.ขับรถบรรทุกลูกรังสูงเกินกำหนด พอเจอด่านตรวจ ตร.เป่าให้หยุดจล.กลัวถูกจับ

จึงไม่หยุด แต่กลับเร่งเครื่องพุ่งใส่ ตร.ที่ยืนอยู่ทางซ้ายแต่ ตร.กระโดดหลบทัน ดังนั้น จล.ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่า รถที่พุ่งใส่จะต้องชน จพง.ตร. ตายได้ จล.จึงผิด 289(2) + 80

ฎ : 2255/22 จล.ขับรถสิบล้อปิดทางไม่ให้รถที่ตามมาแซง เมื่อเห็นรถโดยสารสวนมาใกล้ จล.กลับหยุดรถ + หักหัวรถไปทางซ้าย รถที่ตามมาจึงต้องหักหลบขวาและชนกับรถที่สวนมาเป็นเหตุให้คนตาย ดังนี้ จล.เล็งเห็นผลว่าจะเกิดคนตาย จึงผิด 288 เจตนา เล็งเห็นผลตาม ม. 59

ฎ : 2720/28 จล.ผลัก ผู้เสียหายตกลงมาจากช่องเพดานโบสถ์ สูงจากพื้น 10 เมตร พื้นเป็นซีเมนต์หากตกลงมาศีรษะกระทบพื้นอาจถึงตายได้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บกระดูกสันหลังหักถ้ารักษาไม่ดีอาจพิการ ดังนี้ จล.ย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำได้ว่าอาจทำให้ผู้เสียหายถึงตายได้ จล.ผิด 288+80

ฎ : 2991/36 จล. ขับรถตามรถจักรยานยนต์ที่ผู้เสียหายขับไป จล.ใช้ M –16 ยิงยางรถหลายนัดแม้เจตนายิงยางเพื่อให้รถล้ม จล.ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่ากระสุนอาจถูกผู้เสียหายได้จึงเป็นเจตนาฆ่า

ฎ : 1748/38 จล.ถีบผู้ตายตกลงแม่น้ำตรงที่ลึกประมาณครึ่งตัว ของผู้ตาย + ใช้แผ่นซีเมนต์กว้าง 10” ยาว 10 ฟุต หนา 2” ทุ่มใส่ศีรษะของผู้ตายในระยะใกล้ ขณะที่ผู้ตายปีนขึ้นบนฝั่ง เป็นเหตุให้ผู้ตายหมดสติจมน้ำตาย จล.ย่อมเล็งเห็นได้ว่าการทุ่มแผ่นซีเมนต์จะทำให้ผู้ตายได้รับอันตรายถือว่ามีเจตนาได้ผิดเจตนาฆ่า

ฎ : 573/39 จับเด็ก 3 ขวบ โยนใส่แม่เด็กหลายครั้งจนหัวเด็กกระแทกตะกร้า กระดูกต้นคอเคลื่อน ย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาจเป็นเหตุให้เด็กตายได้

ฎ : 363/40 ใช้ไขควงที่ฝนจนแหลมเป็นอาวุธแทงไปที่ร่างกายคนอื่นเพื่อให้ผิวหนังทะลุเล็งเห็นผลว่าจะทำให้ถึงตายได้

~ เจตนาทำร้าย

ฎ : 1334/10 จล.จะทำร้ายบุตรผู้เสียหาย ผู้เสียหายจึงเข้าไปขัดขวาง จล.ผลักผู้เสียหายล้มลง จล.ย่อม

เล็งเห็นผลว่า เมื่อผู้เสียหายล้มลงแล้วผู้เสียหายจะได้รับผลอย่างไร เมื่อผู้เสียหายบาดเจ็บจึงเป็นผลจากการกระทำของ จล.

ฎ : 3322/31 ผู้เสียหายเป็น ตร.เข้าตรวจค้นรถบรรทุกที่ จล.จับโดยโหนตัวขึ้นไปยืนบนบันไดรถ จล.กลับขับรถกระชากออกไป โดยเร็วและไม่ยอมหยุดรถ เจตนาให้ผู้เสียหายตกจากรถ ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่ามีเจตนาทำร้าย

ฎ : 2829/32 จล.จุดไฟเผาที่นอนชั้นล่างของบ้าน แต่มีผู้ดับได้ทันมีของเสียหาย 10 รายการ ไม่ปรากฏว่าตัวบ้านถูกเพลิงไหม้ คงมีแต่เขม่าดำจับติดอยู่ที่ผนังห้อง และกระดาษภาพที่ติดผนังบ้านไหม้ไปเท่านั้น จล.ผิด 281+82

สำนักติวกฎหมายราม 17 -9-

    • สำคัญผิดในตัวบุคคล มาตรา 61

“ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่งแต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิดผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาหาได้ไม่”

® หลักสำคัญ คือ กรณีที่วัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำตั้งใจกระทำและวัตถุแห่งการกระทำที่เกิดขึ้นจริง ๆ เป็นอันเดียวกัน จึงจะเป็นสำคัญผิดในตัวบุคคล เมื่อใดก็ตามเป็นสำคัญผิดในตัวบุคคลแล้วไม่ต้องรับผิดฐานพยายามต่อสิ่งที่ตนมุ่งกระทำต่อในตอนแรกไม่ต้องรับผิด

ตัวอย่าง แดงใช้ปืนยิงตอไม้คิดว่าเป็นดำ แดงต้องรับผิด?

- แดงเจตนาฆ่าดำ เห็นตอไม้คิดว่าดำ แดงต้องรับผิดต่อดำคือ 288+59+81 แดงกระทำโดยเจตนาต่อดำ เจตนาที่แสดงมีต่อดำยังอยู่ ตอไม้ไม่ได้รับเจตนาที่แดงมีต่อดำ เพราะแดงไม่ได้กระทำโดยเจตนาต่อตอไม้ แดงเจตนากระทำต่อดำ

- แดงต้องการฆ่าดำ แดงยิงไปที่ตอไม้คิดว่าเป็นดำ กระสุนถูกตอไม้แฉลบไปถูกขาวซึ่งอยู่ห่างออกไปขาวตาย แดงต้องรับผิด?

    • แดงต่อดำ 288+59+81 กระสุนแฉลบถูกไปถูกขาวตายเป็นพลาดต่อขาว 288+60

- แดงต้องการฆ่าดำในความมืดเห็นขาวเดินมาคิดว่าเป็นดำจึงใช้ปืนยิงไปกระสุนถูกขาวบาดเจ็บพลาดไปถูกเหลืองบาดเจ็บ ความรับผิดของแดง

® แดงต่อขาว 289(4) + 59 + 89 + 60

แดงต่อเหลือง เป็น 289(4) + 60+ 80

แดงต่อดำ ไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อดำ เพราะเจตนาที่มีต่อดำในตอนแรกแดงได้กระทำต่อขาวแล้ว ความรับผิดได้โอนไปสู่ขาวแล้ว

- แดงต้องการฆ่าดำ เห็นขาวบิดาของแดงเดินมาคิดว่าเป็นคำใช้ปืนยิงขาวตาย ความรับผิดของแดงต่อ

ขาว?

® แดงต่อขาว 289(4) + 59 + 61 ไม่ผิด 289(1) เพราะหลักมีว่ารู้เท่าใดเจตนาเท่านั้นรู้ว่ากำลังกระทำต่อ

บุคคลธรรมดาแต่สำคัญผิดไปทำต่อบุพการี จะถือว่าเจตนาฆ่าบุพการีไม่ได้ ต้องอ้าง 62 ว.ท้ายด้วย

- แดงต้องการฆ่าดำ (บิดา) เห็นขาว (มารดา) เดินมาเข้าใจว่าเป็นดำแดงยิงขาว ขาวตาย แดงรับผิด?

® แดงต่อขาว 289(1) เพราะบุคคลที่มุ่งกระทำต่อกับบุคคลที่ได้รับผลร้ายจริง ๆ เป็นบุพการีด้วยแดงจึง

ผิด 289(12) + (4), 69, 61

  • สำคัญผิดในข้อเท็จจริง มาตรา 62

** 59 ว. 3 62 ว.แรก ต่างเป็นเรื่องของความเข้าใจผิดด้วยกันทั้งนั้น แต่ความเข้าใจผิดตาม 59 ว.3 เป็นความเข้าใจผิดที่ทำให้ผู้กระทำขาดเจตนา แต่ความเข้าใจผิดตาม 62 ว.แรก เป็นความเข้าใจผิดที่ทำให้ผู้กระทำซึ่งมีเจตนาแล้ว แต่ไม่มีความผิด ไม่ต้องรับโทษหรือได้รับโทษน้อยลง **

ตามมาตรา 62 วรรคแรก มี 3 ส่วน คือ

สำนักติวกฎหมายราม 17 -10-

    1. สำคัญผิดว่าเป็นข้อเท็จจริงซึ่งทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด มี 2 กรณี คือ
    1. สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำมีอำนาจทำได้ ตาม ป. อาญา (เป็นกรณีป้องกันโดย
    2. สำคัญผิด) คือสำคัญผิดว่ามีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อ กม.แต่ความจริงไม่มีภยันตราย

      ฎ : 51/12 สามีนอนชั้นบน ภริยานอนชั้นล่างต่างคนต่างหลับแล้วต่อมาสุนัขเห่า ภริยาจึงตื่นไปแอบฝาห้องดูคนร้านที่ห้องนอนสามี สามีตื่นมาภายหลังมองเห็นคนที่ฝาห้องตะคุ้ม ๆ เข้าใจว่าเป็นคนร้ายในความมืดจึงหยิบมีดฟันไป 1 ครั้ง ภริยาตาย กรณีเป็นการฟ้องกันโดยสำคัญผิดพอสมควรแก่เหตุ

      ฎ : 155/12 ตร.มีหมายค้น + จับ มา จับกุม จล.ที่บ้านซึ่งอยู่ในที่เปลี่ยวในเวลาวิกาลโดยได้ปีนบ้านและรื้อฝาบ้าน จล.ส่องไฟฉายเข้าไปในบ้าน จล.สำคัญผิดว่าโจรมาปล้นจึงยิง ตร.บาดเจ็บแม้ ตร.จะได้ตะโกนบอกว่าเป็น ตร.ก็ตาม โจรมาปล้นจึงยิง ตร.บาดเจ็บแม้ ตร.จะได้ตะโกนบอกว่าเป็น ตร.ก็ตาม แต่ จล.เคยถูกปล้นโดยคนร้ายปลอมเป็น ตร.มาก่อนพฤติการณ์ของ จล.มีลักษณะเป็นการป้องกันสิทธิของตนพอสมควรแก่เหตุ

      ** ความสำคัญผิดถ้าเกิดเพราะประมาทผู้กระทำต้องรับผิดฐานประมาท ถ้าความประมาทนั้นมี กม.บัญญัติไว้เป็นความผิด **

      ตัวอย่าง แดงนำปืนเด็กเล่นขู่ล้อดำเล่น ดำไม่ดูให้ดีใช้ปืนของดำยิงแดงตาย ขณะดำใช้ปืนยิงแดง ดำมีเจตนาฆ่า 288+59+68+62 ว.แรก ปืนต่อปืนเป็นเรื่องป้องกันพอสมควรแก่เหตุ โดยสำคัญผิด จึงไม่มีความผิดแต่ถ้าพิจารณาถึงตามลำดับของเวลาก่อนที่ดำจะยิงดำไม่ดูให้ดีการไม่ดูให้ดีถือว่าประมาท ฉะนั้นดำต้องรับผิดต่อแดง 291+59 ว.4 + 62 ว. 2

    3. สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำมีอำนาจที่จะกระทำได้ตาม กม.อื่น ๆ

- กม.แพ่ง ® 1336, 1337 / ก.ม.อาญามาตรา 358. (ฎ: 89/19)

- กม. วิอาญา ® เรื่องจับโดยสำคัญผิด

    1. สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
    2. ตัวอย่าง นายแดงลักทรัพย์ นางดำคิดว่าเป็นของนางขาวภรรยาของตน แดงมีเจตนาลักทรัพย์?

      (ทรัพย์ = สร้อย)

      ® แดงหยิบสร้อยรู้ว่าเป็นทรัพย์ผู้อื่น ภรรยาก็เป็นผู้อื่นถือว่าแดงมีเจตนาลักทรัพย์ของดำเพราะว่าเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นตามหลัก 59 ว.3 และประสงค์ต่อผล ตาม 59 ว.2 เป็นเจตนาตาม 59+334 แดงจะยกเอาความสำคัญผิดว่าเป็นทรัพย์ภรรยาเป็นข้อแก้ตัวว่าไม่มีเจตนาลักทรัพย์ไม่ได้ แต่เมื่อเข้าใจว่าสร้อยเป็นของภริยา ถ้าความจริงเป็นของภรรยา 71 ว.แรก ยกเว้นโทษ ป.อ.ถือตาม ความเข้าใจของผู้กระทำเป็นสำคัญ สรุป แดงผิด 334+59+61+71 ว. แรก + 62 ว.แรก

    3. สำคัญผิดว่ามีข้อเท็จจริงซึ่งทำให้ผู้กระทำได้รับโทษน้อยลง

ตัวอย่าง เรื่องบันดาลโทสะตาม(แนวฎีกาที่ 863/02) นายแดงขึ้นไปบนเรือนนายดำพบขาวภริยา

แดงอยู่คนเดียวจึงข่มเหงภริยานายดำ ภริยาดำร้องขึ้น แดงจึงหนีไป พอดีดำกลับมาถึงได้ยินเสียงภริยาร้อง และทราบเรื่องจากภริยาก็ตาม แดงไปเมื่อทันกันก็ทำร้ายแดง แดงตายเป็นการทำร้ายโดยมีเจตนาฆ่า ดำผิด 288 แต่การข่มเหงภริยาเท่ากับเป็นการข่มเหงสามี อ้างบันดาลโทษได้แม้ไม่ได้เป็นการข่มเหงสามีโดยตรง สรุปแดงผิด 288+59+72

สำนักติวกฎหมายราม 17 -11-

  • การกระทำโดยพลาด มาตรา 60

มีหลักเกณฑ์ คือ

    1. การกระทำโดยพลาดต้องมีผู้ถูกกระทำ 2 ฝ่ายขึ้นไป

ฝ่ายแรก ® ผู้เสียหายคนแรกที่ผู้กระทำประสงค์ต่อผล, เล็งเห็นผล

ฝ่ายที่ 2 ® ผู้เสียหายอีกคนที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำ ดำหลบทัน กระสุนถูกระจกรถยนต์ของดำเสียหายพลาด?

  • ไม่เป็นพลาด เพราะแดงต่อดำ 288+59 ประสงค์ต่อผล +80 แต่กระสุนไปถูกกระจกรถยนต์ของดำ แดงไม่ประสงค์ให้กระจกรถแตกไม่เล็งเห็นผลไม่ใช่พลาด ถึงจะประมาทก็ไม่ต้องรับผิด เพราะทำให้เสียทรัพย์โดยประมาทไม่มี ก.ม.กำหนดเป็นความผิด
    1. พลาดต้องไม่ใช่เรื่องเจตนาประสงค์ต่อผล, เจตนาเล็งเห็นผล
    2. ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนลูกซองยิงดำ ดำยืนติดกับขาว กระสุนถูกดำตาย และแผ่กระจายไปถูกขาวตายด้วย แดงผิด?

      ® กรณี แดงต่อดำ 288+59 เจตนาประสงค์ต่อผล

      แดงต่อขาว 288+59 เจตนาเล็งเห็นผล

    3. การที่ผลเกิดแก่ผู้ซึ่งได้รับผลร้ายไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้กระทำจะประมาทหรือไม่
    4. เจตนาต่อสิ่งหนึ่งผลเกิดแก่อีกสิ่ง เช่น เจตนาต่อชีวิตผลเกิดแก่ทรัพย์ไม่ใช่พลาด ตามหลัก ก.ม.
    5. อาญาทั่วไปว่า “ไม่รู้ก็ไม่พลาด รู้เท่าไรก็พลาดเท่านั้น” คือ มาตรา 60 นี้ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่ากระทำต้องรู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิดฐานนั้นมาก่อน

    6. ถ้ากระทำโดยเจตนาต่อทรัพย์ของบุคคลหนึ่งผลเกิดแก่ทรัพย์ของอีกบุคคลหนึ่งก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาดตาม ม.60 เช่นเดียวกัน
    7. แม้ผลจะเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกสมเจตนาแล้ว หากผลเกิดแก่ผู้เสียหายอีกฝ่ายหนึ่งถือเป็นการกระทำโดยพลาด
    8. การกระทำโดยพลาดจะต้องมีผลเกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายที่ 2 ถ้าไม่เกิดก็ไม่เป็นพลาด
    9. พลาดเป็นเรื่องเจตนาโอน

ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงใช้ปืนยิงดำไม่ถูกดำ กระสุนพลาดไปถูกขาว บาดเจ็บสาหัสต้องตัดขาทิ้ง

    • แดงต่อขาวการที่ขาวบาดเจ็บต้องตัดขาทิ้งขึ้นอยู่กับว่าแดงทำอะไรต่อดำ เมื่อแดงมีเจตนาฆ่าต่อดำ เจตนาที่โอนไปยังขาวก็คือเจตนาฆ่า แม้ขาวเพียงได้รับอันตรายสาหัสก็ตาม แต่เมื่อเจตนาโอนแดงต่อขาวก็เป็น 288+60+80 หาใช่ 297 ไม่

9. ถ้าเจตนาในตอนแรกเป็นเจตนาประเภทไตร่ตรองไว้ก่อนเจตนาที่โอนไปก็เป็นเจตนาไตร่ตรองไว้

ก่อนเช่นกัน (การกระทำโดยพลาดถือเจตนาแรกเป็นหลัก)

    1. การกระทำโดยพลาดเกิดได้หลายวิธี คือ
      1. พลาดเพราะบุคคลที่ 3 ทำให้พลาด
      2. สำนักติวกฎหมายราม 17 -12-

        ฎ: 651/13 จล.ชักปืนสั้นออกมาง้างนอกขึ้นจ้องจะยิง ส. ซ. พวกของ จล. เข้าปัดปืนให้เฉไปเสีย กระสุนที่ลั่นออกไปจึงไม่ถูก จ. พวกของ จล.ตาย ต้องรับผิดต่อ จ. 288+60

      3. พลาดเพราะผู้เสียหายฝ่ายแรกทำให้พลาด
      4. ตัวอย่าง แดงใช้ไม้ตีหัวดำ ดำหลบ แดงตีไม่ถูก แต่การที่ดำหลบทำให้ดำเซไปกระแทกถูกขาว ขาวเสียหลักล้มลงหัวฟาดพื้นตายเป็นพลาดต่อขาวเพราะผู้เสียหายฝ่ายแรกทำให้พลาด

        ® แดงต่อดำ 295+59+80

        แดงต่อขาว 295+60+ ความตาย + ผลโดยตรง = 290

      5. พลาดเพราะผู้เสียหายฝ่ายที่สอบเป็นผู้กระทำให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง

11. ถ้ากระทำต่อตนเองแต่ผลเกิดแก่อีกบุคคลหนึ่งไม่ใช่การกระทำโดยพลาด

12. จะเป็นพลาดได้การกระทำโดยเจตนาต่อบุคคลฝ่ายแรกต้องถึงขั้นที่เป็นความผิดเสียก่อน

13. การกระทำโดยพลาดถ้าผลไม่เกิดแก่ผู้เสียหายฝ่ายแรกผู้กระทำต้องรับผิดฐานพยายามตามหลักทั่วไป

14. เจตนาเท่านั้นที่สามารถโอนได้ตามหลัก ม.60 ไม่มีประมาทโอน

  • ประมาท มาตรา 59 วรรค 4

หลักของประมาทโดยสรุปคือ การกระทำโดยมิได้เจตนาแต่ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีความระมัดระวังตามวิสัย และพฤติการณ์ระดับความระมัดระวังนั้นไม่อยู่นิ่งตายตัวขึ้นและลงตามภาวะวิสัยและพฤติการณ์

สรุปคือขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 อย่างคือ

    1. 1. ภาวะ ® ขณะกระทำการนั้น ๆ
    2. 2. วิสัย ® สภาพภายในตัวผู้กระทำ
    1. พฤติการณ์ ® สภาพภายนอกผู้กระทำ

ฎ : 104/94 จล.ขับรถยนต์รับคนโดยสารไปตามถนน ขณะนั้นมีการยิงกันเนื่องจากเกิดจลาจล จล.ขับรถหนีแม้จะเร็วจนถึงขนาดผิดกฎจราจรก็ได้รับยกเว้นโทษ การที่ผู้ตายวิ่งตัดหน้ารถยนต์ภายในระยะ 1 วา จล.เบรกไม่ทันทั้งที่เบรกดี รถจึงทับผู้ตายเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ใช่ประมาท เพราะพฤติการณ์ขณะนั้นมีการยิงกันเนื่องจากเกิดจลาจล จล.จึงจำเป็นต้องขับรถเร็ว จล.ไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ ถือว่า จล.ไม่ประมาท จล.ไม่ต้องรับผิด เพราะในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์เช่นนั้นจล.ไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ดีกว่านั้น

  • ในการวินิจฉัยว่าผู้กระทำประมาทหรือไม่นั้น ต้องสมมติบุคคลขึ้นมาเปรียบเทียบ บุคคลที่สมมติมาเปรียบเทียบต้องมีทุกอย่างเหมือนกับผู้กระทำจะต้องเป็นบุคคลในภาวะวิสัยและพฤติการณ์อย่างเดียวกับผู้กระทำ เว้นแต่ความระมัดระวังเท่านั้น ที่จะต้องใช้ระดับของวิญญูชน จะให้เหมือนกับผู้กระทำไม่ได้

ฎ : 1563/21 คนโดยสารบนเรือตกน้ำ นายท้ายเรือถอยหลังไปช่วยทำให้ใบจักรฟันคนที่ตกน้ำตาย แทนที่จะโยนชูชีพลงไปช่วยตาม ข้อบังคับของการเดินเรือ กรณีถือว่านายท้ายเรือประมาทผิด 291

 

สำนักติวกฎหมายราม 17 -13-

ฎ : 2483/28 ใช้อาวุธปืนขู่ผู้ตายมิให้ผู้ตายนำถ่านมาป้ายหน้า โดยผู้ขู่ไม่รู้ว่าอาวุธปืนนั้นมีกระสุนอยู่และทำปืนลั่นถูกบุคคลหนึ่งบุคคลใดถึงแก่ความตาย ต้องถือว่าผู้ทำปืนลั่นผิด 291

ฎ : 461/36 ไม่ได้เป็นแพทย์ แต่ฉีดยาและให้ผู้ตายกินยาปฏิชีวนะประเภทเบนทิซิลลินถือว่าประมาทเป็นเหตุให้คนตาย

+ ข้อสังเกตโดยทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาท

  1. โดยมากมักมีคำว่า “ไม่ทันระวังให้ดี,ไม่ดูให้ดี,ไม่สังเกตให้ดี, ถ้าดูให้ดีจะรู้”
  2. ถ้าผู้กระทำได้กระทำโดยประมาท แม้อีกฝ่ายหนึ่งจะประมาทด้วยผู้กระทำก็ไม่พ้นความรับผิด
  3. การกระทำโดยประมาทไม่มีการพยายามกระทำความผิดตาม 80 เพราะพยายามทำความผิดนั้นผู้กระทำจะต้องมีเจตนาเท่านั้น
  4. การกระทำโดยประมาทไม่มีตัวการร่วมตาม 83 ไม่ใช่การใช้ให้กระทำตาม 84 ไม่มีผู้สนับสนุนตาม 86 เพราะจะเป็นตัวการผู้ใช้ผู้สนับสนุนได้ต้องทำโดยเจตนาเท่านั้น
  5. ฎ : 1337/34 ผู้สนับสนุนในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดมีได้เฉพาะการสนับสนุนผู้ลงมือ กระทำความผิดโดยประมาทไม่มีตาม กม.เพราะผู้สนับสนุนต้องมีเจตนาประสงค์ต่อผลย่อมเล็งเห็นผลในการสนับสนุน

  6. การไม่ควบคุมดูแลสัตว์ดุให้ดี ปล่อยให้ทำร้ายทำอันตรายแก่ผู้อื่นเจ้าของสัตว์จะต้องรับผิดฐานประมาทด้วย
  7. งดเว้นตามมาตรา 59 วรรคท้าย
  8. เกี่ยวกับความรู้ความสามารถ

® ถ้ามี แต่ไม่ใช้ เป็นประมาท

® ถ้าไม่มี แต่ไปใช้ เป็นเจตนาย่อมเล็งเห็นผล

8. การหยอกล้อ, ล้อเล่น

  • ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล

ความผิดอาญาที่สามารถแยกผลออกจากการกระทำได้ เช่น 288, 297, 339 ว.ท้าย, 224 ว.1, ว.2

ในกรณีที่เป็นความผิดซึ่งสามารถแยกผลออกจากการกระทำได้นี้ เมื่อมีผลของการกระทำเกิดขึ้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลหรือไม่ มีหลักคือ

  1. ถ้าผลนั้นเป็นผลโดยตรงผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลนั้น ถ้าผลนั้นไม่ใช่ผลโดยตรงผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลนั้น
  2. ถ้าผลนั้นโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลโดยตรงนั้นจะต้องเป็นผลธรรมดาด้วยถ้าเป็นผลผิดธรรมดา ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลที่ทำให้ตนต้องรับโทษหนักขึ้นนั้น
  3. ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
  1. * ผลโดยตรง (ผลตามทฤษฎีเงื่อนไข) หลักคือ ถ้าไม่มีการกระทำของ จล.ผลไม่เกิดถือว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของ จล. แม้จะต้องมีเหตุอื่น ๆ ประกอบด้วยในการที่ก่อให้เกิดผลนั้นขึ้นก็ตาม แต่ถ้าไม่มีการกระทำของ จล.ผลก็ยังเกิดอยู่นั่นเอง ถือว่าผลที่เกิดขึ้นไม่ใช่ผลโดยตรงจากการกระทำของ จล.
  2. สำนักติวกฎหมายราม 17 -14-

    ฎ : 1973/97 รถจักรยานยนต์ของ จล.ที่ 2 แล่นในช่องทางที่ 1 ห่างขอบถนนทางซ้าย 1 m ส่วน จล.ที่ 1 ขับมาในช่องทางที่ 2 ซึ่งอยู่ถัดไป จล.ที่ 2 ต้องการเลี้ยวซ้ายเข้าซอยจึงขับเฉียงเข้ามาขวางในทางรถ จล.ที่ 2 โดยกระชั้นชิด ผลคือรถทั้ง 2 คันชนกันและมีคนตาย จล.ที่ 2 คนเดียวที่ถูกฟ้อง 291 ศาลฎีกายกฟ้อง จล.ที่ 2 ฐาน 291 เหตุผลคือ แม้ว่า จล.ที่ 2 จะขับรถเร็วน้อยกว่าที่ขับอยู่ก็ต้องชนกันอยู่นั่นเอง ประมาทเพียงอย่างเดียวไม่เป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้กระทำต้องรับผิดตาม 291

  3. * ถ้าผลโดยตรงทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นโดยตรงจะต้องเป็นผลธรรมดา หลักข้อนี้มาจาก มาตรา 63

ม. 63 “ถ้าผลของการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นผลของการกระทำความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้”

ผลธรรมดาคือ ผลตามทฤษฏีเหตุที่เหมาะสม

ผลธรรมดาคือ ผลที่วิญญูชนคาดเห็นความเป็นไปของผลนั้นได้

ตัวอย่าง แดงโกรธดำ เมื่อรู้ว่าดำเดินทางไปต่างประเทศ และปิดบ้านทิ้งไว้จึงเห็นเป็นโอกาสเหมาะสม แดงจึงลอบวางเพลิงบ้านดำ บ้านของดำติดไฟลุกไหม้กรณีถือว่าความผิดสำเร็จแดงผิด 218(1) เพราะการที่บ้านของดำติดไฟลุกไหม้เป็นผลโดยตรงจากการที่แดงเผา ไม่เผาก็ไม่ไหม้ แต่ผลที่เกิดขึ้นไม่มีเฉพาะบ้านไหม้ เมื่อตรวจดูห้องใต้ดินพบศพขาว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าขาวได้รับมอบหมายให้มาเฝ้าบ้านและนอนอยู่ห้องใต้ดินในขณะที่แดงเผาโดยที่แดงไม่รู้ว่าขณะที่เผาบ้านในห้องใต้ดินมีขาวนอนอยู่ ความตายของขาวเป็นผลโดยตรงจากการที่แดงเผาบ้านดำ ไม่เผาบ้าน ไม่ไหม้ ไม่ไหม้ ไม่คลอก ไม่คลอกขาวไม่ตาย เผาบ้านผิด 218 (1) แต่เมื่อมีคนตายมี 224ว.แรก ซึ่งโทษหนักกว่า แดงต้องรับผิดตาม 224 ว.แรกหรือไม่

    • ความตายของขาวเป็นทั้งผลโดยตรงจากการที่แดงวางเพลิงเผาบ้านของดำอันเป็นความผิด 218(1) และเป็นผลธรรมดาตาม 63 ด้วยเหตุนี้แดงต้องรับผิดตาม 224 ว.แรก เพราะความตายของขาวเป็นทั้งผลโดยตรงและผลธรรมดา
  1. * ถ้าผลโดยตรงนั้นไม่ใช่ผลที่ทำให้ผู้กระทำรับโทษหนักขึ้น แต่เป็นผลที่เกิดจากเหตุแทรกแซง ผู้กระทำจะต้องรับผิดในผลบั้นปลายที่เกิดจากเหตุแทรกแซงนั้นก็ต่อเมื่อผลในบั้นปลายเกิดจากเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ถ้าวิญญูชนคาดหมายไม่ได้ผู้กระทำ ก็ไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น
  • เหตุแทรกแซง คือ
  1. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่หลังจากการกระทำของผู้กระทำในตอนแรก \ ถ้าเป็นเหตุที่มีอยู่แล้วในขณะกระทำไม่ถือเป็นเหตุแทรกแซง
  2. เหตุแทรกแซงจะต้องเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดผลในบั้นปลายเหตุแทรกแซง มีหลายกรณีคือ
    1. เหตุแทรกแซงซึ่งเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า ลาพายุ น้ำท่วม โดยหลักต้องถือว่าคาดหมายไม่ได้ ถ้าคาดหมายได้ก็ต้องรับผิด
    2. ฎ : 1548-49/31 จล.ใช้เหล็กแหลมแทงหน้าท้องของ จ. มีบาดแผลหน้าท้องทะลุเข้าช่องท้อง บาดแผลภายในทะลุลำไส้เล็ก 8 รูป เส้นเลือดใหญ่ในท้องขาด 2 เส้น เป็นบาดแผลฉกรรจ์ ผู้เสียหายได้รับการผ่าตัดหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายผ่าลำไส้ออกจาก ร.พ.ประมาณ 1 เดือน เมื่อกลับมาใหม่ปรากฏว่าตับอักเสบรุนแรงเกิดจาก การถ่ายเลือดหลายครั้งทำให้ติดเชื้อไวรัส ในที่สุดก็ตาย ความตายของผู้เสียหายเป็นผลโดยตรงจากการที่ จล.ใช้เหล็กแหลมแทงที่หน้าท้อง เชื้อไวรัส

      สำนักติวกฎหมายราม 17 -15-

      ที่เข้าไปในร่างกายที่ทำให้ตับอักเสบ ถือเป็นเหตุแทรกแซง ที่คาดหมายได้เพราะเกิดหลังจากที่ถูกทำร้าย เหตุที่ตายไม่ได้ตายเพราะบาดแผลแต่ตายเพราะตับอักเสบมาจากการติดเชื้อตอนรับเลือด ดังนั้น จล.จึงต้องรับผิด

    3. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่อาจเป็นการกระทำของผู้กระทำในตอนแรกเองหรือตัวจล.
    4. เหตุแทรกแซงซึ่งเป็นการกระทำของผู้เสียหาย มีหลายกรณีดังนี้
    1. ผู้เสียหายก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น เพราะสัญชาตญาณที่จะหลีกเลี่ยงภยันตรายร้ายแรงที่ผู้กระทำก่อให้เกิดขึ้นในตอนแรกโดยประมาท
    2. ฎ : 500/98 จล.ขับรถโดยประมาท ผู้ที่นั่งไปด้วยในรถกระโดดลงไปก่อนที่รถจะคว่ำจึงตาย จล.ต้องรับผิดในความตายด้วย

    3. ผู้เสียหายก่อให้เกิดผลในบั้นปลายขึ้น

ฎ : 437/00 ใช้ขวานพกเล็ก ๆ ฟันท้ายทอย 1 ครั้ง มีบาดแผลเล็กน้อย ถูกฟันแล้วยังไปไหนมาไหนได้ตามลำพัง ถ้ารักษาตามวิชาแพทย์แผนปัจจุบันไม่มีทางถึงตายได้ แต่ปล่อยแผลไว้สกปรกเกิดเป็นหนองและเป็นพิษขึ้นตายภายใน 3 วัน ผู้ทำร้ายผิด 290

    1. เหตุการณ์ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคลที่ 3
    1. บุคคลที่ 3 เข้ากระทำโดยประมาท
    2. ตัวอย่าง แดงยิงดำถูกขาดำ แพทย์ใช้อุปกรณ์ที่ไม่สะอาดผ่าตัดกระสุนเชื้อโรคเข้าในร่างกายดำ ดำตาย แพทย์ผิดม.291 แดงซึ่งมีเจตนาฆ่าต้องรับผิด? ดำตายสมเจตนาแดงแต่ไม่ได้ตายเพราะกระสุน ตายเพราะแพทย์ผ่าตัดใช้อุปกรณ์ไม่สะอาด การกระทำของแพทย์เรียกว่าเป็นเหตุแทรกแซงเพราะเกิดหลังจากแดงยิงดำและเป็นเหตุให้ดำตาย และเป็นเหตุแทรกแซงที่วิญญูชนคาดหมายได้ ดังนั้นแดงต้องรับผิดตาม 288 แพทย์รับผิด 291 พฤติกรรมของแพทย์ไม่ตัดผลคือความตายของดำออกจากการกระทำในตอนแรกของแดง

    3. ผลในบั้นปลายเกิดจากการกระทำโดยเจตนาของบุคคลที่ 3

ฎ : 659/32 จล.ทำร้าย ก. มีเจตนาฆ่าหลังจาก ก.ถูกทำร้ายแล้วมีการนำตัว ก.ไป รพ.แพทย์รักษาเบื้องต้นโดยให้น้ำเกลือใส่ท่อช่วยหายใจผ่าตัดใส่ท่อระบายลมในโพรงปอดเพราะมีลมรั่ว แล้วใส่เครื่องช่วยหายใจแพทย์มีความเห็นว่า หากรักษาต่อไปมีโอกาสมีชีวิตรอดมากกว่าตาย แต่ญาติสงสารจึงทำให้การพยาบาลสิ้นสุดด้วยการแอบดึงเครื่องช่วยหายใจดึงท่อช่วยหายใจ แล้วพาผู้ตายกลับบ้าน ก.ตายในคืนนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายหาใช่เป็นผลจากการกระทำของ จล.ไม่ จล.จึงผิด 288+80

สรุป จากแนวฎีกาได้แนวบรรทัดฐานว่า “ถ้าผลในบั้นปลายเกิดจากการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย

ของบุคคลที่ 3 ผู้ก่อเหตุในตอนแรกไม่ต้องรับผิดในผลบั้นปลายนั้น”

 

 

 

 

 

 

สำนักติวกฎหมายราม 17 -16-

  • เหตุยกเว้นความผิด
  1. เรื่องความยินยอมยกเว้นความผิดได้ดุจเดียวกับเรื่องป้องกันความยินยอม มี 2 ประเภทคือ
  1. ความยินยอมที่ทำให้การกระทำไม่เป็นความผิดเพราะถือว่าขาดองค์ประกอบภายนอก
  2. ฎ : 1376/22 การเอาบานประตูของผู้อื่นไปโดยผู้ครอบครองทรัพย์อนุญาตไม่เป็นการเอาทรัพย์ไปจากการครอบครองของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์

    ฎ : 6207/41 ผู้เสียหายอนุญาตให้ จล.พาเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไป จล.ไม่ผิด 317 ว.แรก ไม่ผิดเพราะไม่เป็นการพรากเนื่องจากอนุญาตให้พาไป

  3. เป็นความยินยอมที่ทำให้การกระทำซึ่งครบองค์ประกอบภายนอกและครบองค์ประกอบภายในแล้วทุกประการ ผู้กระทำไม่ต้องรับผิด

ตัวอย่าง แดงยอมให้หมอตัดขาก่อนหมอตัดขาได้ให้แดงเซ็น Book ให้ความยินยอมการกระทำของหมอครบองค์ความผิดทั้งภายใน + ภายนอกผิด 297 แต่เหตุที่หมอไม่ต้องรับผิดเพราะแดงให้ความยินยอมและความยินยอมนี้ที่แดงไห้ไว้เพื่อรักษาโรคเป็นเหตุยกเว้นความผิดตาม 297

  1. ป้องกัน มีหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ
    1. มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อ กม.
    2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
    3. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง, ของผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายนั้น
    4. กระทำโดยป้องกันสิทธิไม่เกินขอบเขต

I มีภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม.

  • ภยันตราย หมายความถึงภัยที่เป็นความเสียหายต่อสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเช่นสิทธิในร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน
  • การประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม. ผู้ก่อภัยไม่มีอำนาจตามกม.ที่จะกระทำได้

ฎ : 378/79 การทำชู้กับภริยาผู้อื่น การที่ภริยามีชู้ถือว่าเป็นการเสื่อมเสียเกียรติยศของสามี อย่างร้ายแรง เมื่อสามีฆ่าภริยาและชู้ขณะร่วมประเวณีถือว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 29/87 ใช้ไม่ซางยิงไก่ ที่เข้ามากินผักในสวนไก่ตายป้องกันได้แต่เกินสมควรแก่เหตุ

  • ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้ต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายนั้น

ฎ : 2154/19 จล.กับพวกก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการชก ก. แล้ววิ่งหนี ก.ไล่ตามต่อเนื่องไปไม่ขาดตอน จล.หันกลับมายิง ก. จล.อ้างป้องกันไม่ได้

  • ผู้สมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กันก็หมดสิทธิอ้างป้องกัน

ฎ : 2322/22 จล.โต้เถียงกัน ก. และสมัครใจเข้าวิวาทต่อสู้กัน ก.มีมีดในมือจะแทง จล. จล. จึงยิง ก.ตาย จล.อ้างป้องกันไม่ได้

  • แต่ถ้าข้อเท็จจริงเพียงโต้เถียงกันมิได้สมัครใจทำร้ายร่างกายกันอ้างป้องกันได้

สำนักติวกฎหมายราม 17 -17-

ฎ : 528/26 จล. และ ก โต้เถียงกัน การโต้เถียงกันหาใช่เป็นการสมัครใจทำร้ายซึ่งกันและกัน การที่ ก.ใช้ขวานฟัน จล. จึงเป็นภยันตรายอันละเมิดต่อ กม.เป็นภยันตรายที่ใกล้จะ ถึง จล.ใช้มีดแทง ก. ครั้ง จล.อ้างป้องกันได้กรณีสมัครใจวิวาทอ้างป้องกันไม่ได้ ถ้ามีการพลาดไปถูกบุคคลที่ 3 จะอ้างป้องกันไม่ได้เช่นเดียวกัน

  • ถ้าสมัครใจวิวาทกันนั้นขาดตอนลงแล้วสิทธิในการป้องกันก็กลับคืนมา

ฎ : 1271/13 จล.กับ ก. และคนอื่นอีก 2 คน ร่วมดื่มสุรา จนมึนเมาเกิดทะเลาะวิวาทกัน จล.ถูกตีหัวแตกและ จล.ก็ตี ก. แล้ววิ่งหนีไปได้ 6-7 m แล้วหันมาใช้ปืนยิง ก. ซึ่งถือขวดโซดาตามออกมา การที่ จล.ยิง ก.จะอ้างว่าป้องกันไม่ได้ เพราะเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการสมัครใจทำร้ายกันในร้านยังไม่ขาดตอน

I I ภยันตรายนั้นต้องใกล้จะถึงถึงจะอ้างป้องกันได้ ภยันตรายที่ใกล้จะถึงนั้นไม่จำเป็นต้องถึงขั้นที่ เป็นความผิด

ฎ : 2285/28 ก. พูดขอแบ่งวัว กับ จล. จล.ไม่แบ่งให้ชวนให้ไปตกลงที่บ้าน ผญบ, บ้านกำนัน แต่ ก.ไม่ยอม ก.กลับชักปืนออกมา จล.ย่อมเข้าใจว่า ก.จะใช้ปืนยิง จล. จึงเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การที่ จล.ใช้ปืนยิง ก.ไป 1 นัดเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

  • ช่วงเวลาในการใช้สิทธิป้องกันเริ่มตั้งแต่เมื่อภยันตรายใกล้จะถึงรวดตลอดถึงระยะเวลาที่ภยันตรายนั้นได้มาถึงตัวผู้รับภัยแล้ก่อนที่ภยันตรายจะสิ้นสุดลง

ฎ : 943/08 คนร้ายจูงควายออกจากใต้ถุนเรือนไป คนร้ายมีปืน จล.ร้องถาม คนร้ายหันปืนมาทาง จล. ถ้า จล.ไม่ยิงคนร้ายก็พากระบือไปได้ จล.อ้างป้องกันได้ ความผิด 334 สำเร็จ แล้วเพราะจูงควายออกไปแล้ว

ฎ : 729/41 จล.ทำร้ายผู้เอาสร้อยคอของ จล.ไป เพื่อติดตามเอาคืนในทันทีทันใด จล.อ้างป้องกันได้ แม้ขณะนั้นความผิดลักทรัพย์จะสำเร็จได้แล้วแต่ถ้าคนร้ายทิ้งทรัพย์ อาจเข้าครอบครองทรัพย์ได้ตามเดิม ถ้าเจ้าทรัพย์ได้คอยซุ่มรอดักดูคนร้ายเพื่อจะทำร้ายคนร้าย อ้างป้องกันไม่ได้

  • ผู้รับภัยไม่จำเป็นต้องหลบหนีภยันตรายนั้น คือ “หนีได้ ไม่หนีไม่หมด สิทธิป้องกัน”

ฎ : 94/92 จล.ถูกนายเล้งเหยียดหยามและข่มเหง ถ้าจะเอาแต่หนีก็จะแสดงความขลาด\ การที่ จล.ใช้สิทธิป้องกัน จล.จึงไม่มีความผิดอ้างป้องกันได้

I I I ผู้กระทำจะต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตราย นั้น

“เพื่อป้องกันสิทธิ” เป็นมูลเหตุจูงใจหรือเจตนาพิเศษในการยกเว้นความผิด จะอ้างป้องกันได้ต้องมีหลักคือ

    1. ผู้กระทำจะต้องทำโดยเจตนา
    2. จะต้องทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิ

*****ขาดสิ่งใดก็อ้างป้องกันไม่ได้******

IVการกระทำโดยป้องกันต้องไม่เกินขอบเขต ถ้าเกินขอบเขตอาจเป็นการเกินสมควรแก่เหตุหรือเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำ เพื่อป้องกันทั้ง 2 กรณี ต่างกันอย่างไร

    1. ป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ มีหลัก 2 ข้อคือ
      1. ผู้ป้องกันได้กระทำการป้องกันสิทธิด้วยวิถีทางน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นต้องทำ ® คือไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว ถ้ายังมีทางเลือกอื่นอยู่ต้องเลือกในทางที่เสียหายแก่ผู้ก่อภัยน้อยที่สุด

สำนักติวกฎหมายราม 17 -18-

ฎ : 55/30 ผู้ตายบุกรุกเข้าไปฉุดบุตรสาวของ จล.ถึงในบ้าน จล.ซึ่งเป็นแม่เข้าขัดขวาง กลับถูกผู้ตายทำร้ายจนล้มลงและผู้ตายพาบุตรสาว จล.ออกจากบ้านไป จล.จึงใช้ปืนยิงผู้ตาย 4 นัด จล.ทำไปเพื่อช่วยเหลือบุตรของตนให้พ้นภยันตรายที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า และภยันตรายนั่นยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกันอยู่ กรณีไม่มีทางเลือกอื่น \ การยิงเป็นมาตรการที่เหลืออยู่เพียงอย่างเดียวในการที่จะช่วยลูกสาวได้

4.1.2 การป้องกันต้องได้สัดส่วนกับภยันตรายจึงจะถือว่าพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 606/10 ผู้เสียหายเข้ามาชก จล.เมื่อ จล.ล้มลงผู้เสียหายเงื้อมีดจะไปแทง จล. จล.จึงใช้ปืนยิงถือว่าเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ฎ : 2717/28 ผู้ตายถือมีดอยู่ห่าง จล. 2 วา จล.ด่วนยิงผู้ตายทั้งที่ผู้ตายยังไม่อยู่ ในลักษณะจะฟันทำร้าย ถือว่าเกินสมควรแก่เหตุ

  • ข้อสังเกตที่เกี่ยวกับเรื่องสัดส่วนของการกระทำโดยป้องกัน

ฎ : 1646/14 ผู้ตายเมาเข้าไปพูดต่อว่าพวกของ จล.และเป็นปากเสียงกัน จล.จึงเข้าไปจะดึงพวก จล.ขึ้นรถ ผู้ตายยกมือทำท่าจะต่อย จล. จล.จึงชกไป 1 ที ถูกผู้ตายล้มลงสลบถึงแก่ความตาย กรณีเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ชกต่อชก ได้สัดส่วน แม้ผู้ก่อภัย จะถูกชกล้มลงหัวฟาดพื้นตายก็ตาม

ฎ : 617/63 ใช้มีดฟันคนร้ายมีแผล 2 แห่ง ถึงขนาดเป็นอันตรายสาหัส เป็นการป้องกันทรัพย์เกินกว่าเหตุ

ฎ : 729/41 ใช้มีดเป็นอาวุธแย่งสร้อยคอจากผู้เสียภายกลับคืนมาเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุ ถ้าเจ้าทรัพย์เอามีดทางคนร้ายตาย

ฎ : 1908/94 ถ้าเจ้าทรัพย์ใช้ปืนยิงคนร้ายโดยเจตนาฆ่าก็เกินสมควรแก่เหตุ

    1. ป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน หมายความว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อป้องกันสิทธิต่อภยันตรายที่ยังอยู่ห่างไกลหรือภยันตรายที่ผ่านพ้นไปแล้ว

ฎ : 2066/33 จล.แทงผู้ตายในขณะที่หมดโอกาสทำร้าย จล.แล้วเป็นการกระทำเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน

  • เหตุยกเว้นโทษ

+ จำเป็น มาตรา 67

อนุมาตรา 1 ® จำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับ

อนุมาตรา 2 ® จำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย

+ จำเป็น มาตรา 67(1) มีหลัก 4 ข้อคือ

    1. อยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจ
    2. ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้
    3. ผู้กระทำจะต้องมิได้ก่อเหตุการณ์นั้นขึ้นด้วยความผิดของตน
    4. กระทำไปไม่เกินขอบเขต

สำนักติวกฎหมายราม 17 -19-

+ ข้อสังเกต คือ หลักที่ว่า หลักที่ว่าผู้กระทำจะต้องมิได้ก่อเหตุการณ์นั้นขึ้นด้วยความผิดของตนใน 67(2)ไม่มีหลักนี้ /67 (1) ก็ไม่มีหลักเหมือน 67(2) ที่ว่าตนจะต้องมีส่วนผิดในการก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นแต่เป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่าถ้ากระทำก่อเหตุการณ์ขึ้นด้วยความผิดตนเองก็จะอ้างจำเป็นเพราะถูกบังคับไม่ได้ เพราะตนอาจหลีกเลี่ยงได้โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุการณ์นั้นตั้งแต่แรก

ตัวอย่าง แดงยั่วยุให้ดำมาขู่ตนให้ไปทำร้ายขาว ดำทนยั่วยุไม่ไหวจึงขู่ทองให้ไปตีหัวขาว แดงอ้างจำเป็น 67(1) ไม่ได้ เพราะตนมีส่วนผิดในการยั่วยุดำ

    • การกระทำความผิดด้วยจำเป็นต้องทำไปโดยไม่เกินขอบเขตมีข้อสังเกตว่าสัดส่วนของการกระทำโดย

ป้องกัน/จำเป็นแตกต่างกันคือ ป้องกัน เป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย

จำเป็น เป็นการกระทำต่อบุคคลที่ 3

+ จำเป็น ตาม ม. 67(2) มีหลัก 6 ข้อคือ

  1. มีภยันตราย
  2. ภยันตรายนั้นใกล้จะถึง
  3. เป็นภยันตรายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้
  4. ภยันตรายนั้นผู้กระทำความผิดด้วยความจำเป็นมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
  5. ผู้กระทำได้กระทำไปเพื่อให้ตนเอง, ผู้อื่นพ้นภยันตราย
  6. กระทำไปไม่เกินขอบเขต
  • ภยันตราย ถ้าเกิดจากการละเมิดของ กม.ทำต่อผู้ก่อภัยอ้างป้องกัน / ถ้าทำต่อบุคคลที่ 3 อ้างจำเป็น แต่ถ้าภยันตรายไม่ได้เกิดจากการละเมิด กม.ไม่ว่าทำต่อใคร อ้างได้เพียงแค่จำเป็นเท่านั้น
  • ประเด็นต่อไปคือภยันตรายที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ด้วยวิธีอื่นใดได้ ถ้ามีทางหลีกเลี่ยงได้แต่ไม่หลีกไปกระทำผิดจะอ้างจำเป็นไม่ได้

ฎ : 734/29 จล.ขุดหลุมบนไหล่ถนนสาธารณะเพื่อเป็นทางระบายน้ำจากที่นาของจล.เพื่อให้น้ำไหลลงคลองสาธารณะ จำเลยทำไปเพื่อไม่ให้น้ำท่วมต้นข้าวของ จล. เมื่อฝนจะตกมาก ผิด 360 จะอ้างจำเป็นตาม ม.67 (2) ไม่ได้ เพราะฝนยังไม่ได้ตกน้ำยังไม่ท้วม ภยันตรายยังอยู่ห่างไกลและแม้ว่าฝนจะตกน้ำจะท่วมต้นข้าว จล.ก็สามารถใช้เครื่องสูบน้ำออกจากนาได้ถือว่าเป็นภยันตรายที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่จำเป็นต้องขุดถนน

  • ภยันตรายนั้นผู้กระทำความผิดด้วยความจำเป็นจะต้องไม่ได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
  • จะอ้าง 67 ได้ต้องกระทำไปโดยไม่เกินขอบเขต ถ้าเกินเป็นเรื่อง 67+69 ขอบเขตของ 67(2) ต่างกับกรณีป้องกันเพราะสัดส่วนของเรื่อง 67(2) จะใช้หลักสัดส่วนเรื่องป้องกันไม่ได้

ฎ : 307/89 จล.ไปช่วยงานแต่งงาน มีคนไล่ทำร้าย จล. จล.วิ่งหนีไปทางห้องหอมีคนกั้นไม่ให้จล.เข้า จล.จึงใช้มีดแทงเขาตาย จล.อ้างจำเป็น ว่า จล.ถูกไล่ทำร้ายมีผู้กั้น จล.อาจใช้กำลังฝืนผ่านไปได้แต่ จล.แทงเขาตาย ถือว่าเป็นการกระทำโดยจำเป็นเกินสมควรกว่าเหตุ

สำนักติวกฎหมายราม 17 -20-

  • เหตุลดโทษ

+ บันดาลโทสะ มาตรา 72 มีหลัก 3 ข้อ

  1. ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
  2. การที่ถูกข่มเหงเป็นเหตุให้ผู้กระทำบันดาลโทสะ
  3. ผู้กระทำกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ
  • ถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมดาจะไม่ถึงขึ้นผิด กม.ก็ได้

ฎ : 249/15 จล.เห็น ก.กำลังร่วมประเวณีกับภรรยาของ จล.ในห้องนอน แม้ภรรยา จล.จะไม่ใช่ภรรยาที่ถูกต้องตาม กม.แต่ก็อยู่กินกันมาถึง 13 ปี มีลูกหลายคน จล.ใช้มีดฟัน ก.2 ครั้ง แทงภรรยา 1 ครั้ง จล.ต้องอ้างบันดาลโทสะได้แต่จะอ้างป้องกันไม่ได้ เพราะจะอ้างป้องกัน ภยันตรายต้องเกิดจากการละเมิด กม.แต่ภรรยาเป็นภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การที่หญิงไปร่วมประเวณีกับชายอื่น ก็ไม่มีการกระทำอันละเมิดต่อกม. จึงอ้างป้องกันไม่ได้

  • ผู้ที่ก่อเหตุขึ้นก่อน ถ้าอีกฝ่ายทำการโต้ตอบกลับมาจะถือว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้

ฎ : 1776/18 จล.ก่อเหตุขึ้นก่อนด้วยการเปิดน้ำในนาของผู้ตายจนนาแห้งเพื่อนำน้ำเข้าไปใช้ในนาของ จล. ผู้ตายมาด่าและท้า จล. จล.ทำร้ายผู้ตายศาลฎีกาว่า จล.จะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้เพราะ จล.เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อน

  • ผู้ที่สมัครใจวิวาทต่อสู้ทำร้ายซึ่งกันและกันจะกระทำการโต้ตอบอีกฝ่ายโดยอ้างว่าถูกข่มเหงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมไม่ได้

ฎ : 2322/22 คู่ความที่สมัครใจวิวาทกันอีกฝ่ายจะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้อ้างป้องกันก็ไม่ได้

ฎ : 2457/15 อ้างจำเป็นก็ไม่ได้ เพราะ 67(2) ห้ามไม่ใช้อ้างเนื่องจากภยันตราย เกิดขึ้นด้วยความผิดของตน อ้างบันดาลโทสะก็ไม่ได้

  • ฎีกาเกี่ยวกับ การถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม

ฎ : 3315/22 ผู้ตายเมาสุราใช้เท้าพาดหัว จล.ลูบเล่น จล.จึงทำร้าย จล.อ้างบันดาลโทสะได้

ฎ : 5736/39 ผู้ตายหาเรื่อง จล.ชี้หน้าด่า แม่ จล. จล.จึงทำร้าย อ้าง 72 ได้

ฎ : 518/00 ยิงบิดา ถือว่าข่มเหงบุตรด้วย

ฎ : 241/78 บุตรถูกทำร้ายถือว่าข่มเหงบิดาด้วย

ฎ : 1577/97 ที่ถูกทำร้ายถือว่าข่มเหงน้องด้วย

ฎ : 739/82 น้าถูกทำร้ายถือว่าข่มเหงหลานด้วย

ฎ : 1446/98 พ่อตาถูกถีบถือว่าข่มเหงบุตรเขยด้วย

ฎ : 863/02 ทำอนาจารภรรยาถือว่าข่มเหงสามีเท่านั้นไม่เป็นการข่มเหงเพื่อนของสามี แม้จะเป็นเพื่อนสนิทของสามีก็ตาม

  • การข่มเหงเมื่อทราบเหตุข่มเหงแล้วต้องบันดาลโทสะทันที

ฎ : 147/83 แดงแทงดำบาดเจ็บดำรู้ตัวทันทีว่าถูกแทงมีแผลที่ปากแต่ดำยังไม่เกิดโทสะ ต่อมาเมื่อกลับถึงบ้านดำมาส่องกระจกดูเห็นปากแหว่งจึงเกิดโทสะและใช้มีดไล่ฟันแดง กรณีอ้างบันดาลโทสะไม่ได้เพราะจะอ้างได้ต้องอ้างขณะที่รู้ตัวว่าถูกแทงมีแผลที่ปากต้องอ้างตอนนั้นไม่ใช่มาอ้างตอนหลัง

สำนักติวกฎหมายราม 17 -21-

  • ผู้กระทำ ได้กระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะบันดาลโทสะ คำว่าขณะบันดาลโทสะคือในระหว่างที่ยังบันดาลโทสะอยู่นั่นเอง

ฎ : 1260/23 ในขณะนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นขณะเดียวกับการข่มเหงแต่ขอให้เป็นระยะเวลาที่ต่อเนื่องกระชั้นชิดในขณะที่มีโทสะรุนแรงอยู่ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

  • การกระทำโดยบันดาลโทสะนั้นจะต้องเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง ถ้ากระทำต่อผู้อื่น จะอ้างบันดาลโทสะไม่ได้ แต่ถ้ากรณีไม่พลาดอ้างบันดาล โทสะได้ถ้าพลาด อ้างบันดาลโทสะได้เช่นเดียวกัน

ฎ : 1704/18 ถ้าขาวบุตรของแดงพัวพันอยู่ในที่เกิดเหตุในขณะแดงยิงดำ ขาวเป็นผู้ข่มเหงด้วย ฉะนั้นถ้ายิงขาวก็อ้างบันดาลโทสะได้

  • ถ้ากระทำต่อภัยที่ผ่านพ้นไปแล้วให้อ้างบันดาลโทสะจะอ้างป้องกันไม่ได้

ฎ : 1092/31 ผู้เสียหายไม่พอใจและโต้เถียงกับ จล.ในเรื่องที่ จล.ชักชวนผู้อื่นไปเล่นไพ่ที่บ้าน จล.และใช้สันมีดตีหัว จล.ก่อน จล.แย่งมีดจากผู้เสียหายได้ ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายมีท่าที่จะทำร้าย จล.อีกแสดงว่าภยันตรายที่ จล.ได้รับนั้นผ่านพ้นไปแล้วและไม่มีภยันตรายที่ใกล้จะถึงเกิดขึ้นอีก การที่ จล.ใช้มีดฟันผู้เสียหาย 4 แห่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกัน แต่การที่ผู้เสียหายไม่พอใจ จล.ใช้มัดตีหัว จล.ก่อน ถือว่าเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม เมื่อ จล.แย่งมีดมาฟันผู้เสียหาย จล.จึงอ้างบันดาลโทสะได้

# # ข้อแตกต่างระหว่างป้องกัน/จำเป็น

    1. ป้องกัน – กม.ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิด
    2. จำเป็น - ผู้กระทำมีความผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ

    3. หากภยันตรายเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อ กม.แล้ว

ป้องกัน – กระทำต่อผู้ก่อภัย

จำเป็น – กระทำต่อบุคคลที่ 3

    • หากภยันตรายไม่ได้เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม.แล้ว ไม่ว่าจะกระทำต่อผู้ก่อภัย , บุคคลที่ 3 ก็เป็นการกระทำโดยจำเป็น
    • หากภยันตรายไม่ได้เกิดจากกาประทุษร้ายอันละมิดต่อ กม.แต่สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าภยันตรายเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อ กม. และกระทำต่อผู้ก่อภยันตรายนั้น อ้างป้องกันโดยสำคัญผิด

ตัวอย่าง แดงละเมอจะยิงดำ ดำไม่รู้ว่าแดงละเมอ ดำยิงแดงดำอ้างป้องกันโดยสำคัญผิด

    1. การกระทำโดยป้องกันนั้น- หากเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยซึ่งก่อภัยโดยการละเมิด กม.แล้ว แม้ผลจะเกิดแก่บุคคลที่ 3 ก็อ้างป้องกันต่อบุคคลที่ 3 ได้
    2. ตัวอย่าง แดงจะยิงดำ ดำป้องกันโดยยิงแดง ถือว่าดำป้องกันแล้ว หากว่าแดงหลบทันกระสุนพลาดไปถูก ขาวตาย คำผิด 288+60 แต่อ้างป้องกันได้

      กรณีจำเป็น -

      ตัวอย่าง แดงจะยิงดำ แดงล็อคคอเหลืองไว้ ดำยิงแดง ดำอ้างป้องกันได้ แต่ดำต่อเหลือง ดำอ้างป้องกันไม่ได้

      สำนักติวกฎหมายราม 17 -22-

      เพราะเหลืองไม่ใช่ผู้ก่อภัย แต่แดงต้องยิงมาเพื่อให้ตนพ้นภยันตรายจากการที่จะถูกแดงยิง ดำจึงอ้างจำเป็นต่อเหลืองได้

    3. การกระทำโดยป้องกัน ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษเพื่อ “ป้องกันสิทธิ”
    4. การกระทำโดยจำเป็น 67(1) เจตนาพิเศษคือเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อำนาจที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

      ส่วน 67(2) เจตนาพิเศษคือ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นพ้นภยันตราย

    5. การกระทำโดยป้องกันหากป้องกันสิทธิผู้อื่นจะต้องเป็น กรณีที่ผู้อื่นมีสิทธิป้องกันตนเองได้อยู่แล้ว จึงจะมีการป้องกันแทนได้
    6. การกระทำโดยป้องกัน เนื่องจากเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยอันละเมิด กม.ผู้กระทำจึงไม่จำต้องหลีกหนีภยันตรายนั้น
    7. การกระทำโดยจำเป็น โดยหลักเป็นการกระทำต่อบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนผิดในการก่อภัย ผู้กระทำต้องพยายามหลีกเลี่ยงให้พันภยันตรายโดยวิธีอื่นก่อน

    8. สัดส่วนของการกระทำ

ป้องกัน – ภยันตรายและการกระทำตอบโต้ของผู้ป้องกันมีความร้ายแรงพอกัน ถือว่า พอสมควรแก่เหตุ

จำเป็น - โดยหลักเป็นการกระทำต่อบุคคลที่ 3 ซึ่งไม่มีส่วนผิดหากภยันตรายร้ายแรงพอกัน ต้องถือว่าเกินสัดส่วนและเกินสมควรแก่เหตุอย่างไรก็ตาม หากเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัยซึ่งไม่ได้ละเมิดต่อ กม. อาจถือว่าได้สัดส่วนได้

# # ข้อแตกต่างและข้อเหมือนระหว่างป้องกัน/บันดาลโทสะ

ข้อแตกต่าง

  1. ป้องกัน – ภยันตรายต้องเกิดจากการละเมิด กม.เท่านั้น
  2. บันดาลโทสะ – “เหตุอันไม่เป็นธรรม” อาจเกิดจากการละเมิด กม.หรือไม่ก็ได้ แม้ไม่ถึงขั้นละเมิด กม. ก็อ้าง 72 ได้

  3. ถ้าภยันตรายเกิดจากการละเมิด กม. หากมีการกระทำต่อภยันตรายที่ใกล้จะถึงหรือกำลังเกิดขึ้นอยู่ เป็นป้องกัน
  4. ถ้ากระทำต่อภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกม.ที่ผ่านพ้นไปแล้ว เป็นบันดาลโทสะ

  5. ป้องกันมีทั้งพอสมควรแก่เหตุตาม 68 และเกินสมควรแก่เหตุ 69 บันดาลโทสะไม่มี เนื่องจากเป็นเพียงเหตุลดโทษ
  6. ป้องกันสิทธิผู้อื่น ตาม 68 จะเป็นใครก็ได้ แต่บันดาลโทสะจะถือเป็นการข่มเหงได้ ผู้ถูกข่มเหงโดยตรงจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดจึงจะอ้าง 72 ได้
  7. ป้องกันเป็นเหตุยกเว้นโทษ / บันดาลโทสะเหตุลดโทษ

ข้อเหมือน

    1. ป้องกันเป็นการกระทำต่อผู้ก่อภัย
    2. บันดาลโทสะเป็นการกระทำต่อผู้ข่มเหง

      สำนักติวกฎหมายราม 17 -23-

    3. ผู้ที่ก่อภัยขึ้น, ผู้ที่วิวาทต่อสู้กัน จะกระทำต่ออีกฝ่ายโดยอ้างป้องกันไม่ได้ และก็อ้างบันดาลโทสะไม่ได้
    4. ถ้าไม่พลาดอ้างป้องกันต่อผู้ก่อภัยได้ ถ้าพลาดก็อ้างต่อบุคคลที่ 3 ได้ บันดาลโทสะก็เช่นเดียวกัน
  • พยายาม

+ พยายามกระทำความผิด ม. 80 มีหลักเกณฑ์ 3 ข้อคือ

  1. ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำความผิด
  2. ฎ : 5/29 จล.ใช้ปืนจ้องไปทาง ก.เป็นเวลานาน 15 วินาที แต่ไม่ยิง ถ้า จล.มีเจตนาจะยิง ก.ก็ยิงได้ทันที การกระทำของ จล.จึงเป็นเพียงการจ้องปืนขู่เท่านั้น

    - แต่ถ้าจ้องปืนขู่แล้วผู้เสียหายกลัว จล.ผิด 392 (ฎ: 1389/29, 6496/41)

  3. ผู้กระทำต้องกระทำการเพื่อให้บรรลุตามเจตนาอันเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียม กล่าวคือ ถึงขั้นลงมือกระทำความผิดแล้ว

ฎ : 1203/91 คำว่าลงมือจะต้องเป็นการกระทำที่ได้กระทำจนใกล้ชิดกับผลสำเร็จอันพึงเห็นได้ประจักษ์แล้ว

* หลักความใกล้ชิดต่อผล ® ถ้าผู้กระทำได้กระทำขั้นสุดท้ายซึ่งจำต้องกระทำเพื่อให้ความผิดสำคัญถือว่าใกล้ชิดต่อผล

* ขั้นสุดท้ายของผู้กระทำ ® การกระทำสุดท้ายของ จล.

ฎ : 2143/36 เอายาเบื่อใส่โอ่งน้ำดื่มของผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่าผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายทรายก่อนจึงไม่ยอมดื่ม ผิด 289+80, 236

ตัวอย่าง การฆ่าขั้นสุดท้ายจริง ๆ คือ ลั่นไกปืน แต่เขยิบมาอีกนิด ก่อนลั่นไก คือการจ้องเล็งปืนก็ถือว่าเป็นการลงมือแล้ว

    • ศาลไทยถือว่า เล็งปืนเป็นพยายามฆ่า แต่ถ้าชักปืนออกมายังไม่ทันเล็งยังไม่เป็นพยายามฆ่า

ฎ : 7562/40 ศาลฎีกากล่าวว่าการกระทำของ จล.ทั้ง 2 ถือว่าได้เป็นการกระทำที่ล่วงไปถึงขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการทำธนบัตรของกลางไปแจกจ่ายให้แก่ผู้เลือกตั้งเป็นการกระทำที่ใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จที่เกิดขี้นแล้ว

ฎ : 147/07, 1746/18, 1765/21, 556/02 แม้ไม่ได้ความว่าปืนขึ้นนกนิ้วอยู่ที่ปืนก็ตาม ถือว่าเป็นลงมือฆ่าแล้ว ถ้ามีเจตนาฆ่าเมื่อมีการจ้องหรือเล็งปืนไปยังผู้เสียหาย

ฎ : 1120/17 ชัดอาวุธปืนออกมาจากเอวและกระชากลูกเลื่อนเพื่อให้กระสุนเข้าลำกล้อง แต่ตร.วิ่งเข้ามาขวางมิให้จล.กระชากลูกเลื่อนได้และแย่งปืนจาก จล.ไป จึงยังไม่ผิด พยายามฆ่า

    1. กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล

ฎ : 1746/17 ยกปืนจ้องไปทางผู้เสียหายจะยิงแต่มีผู้มาห้ามไว้ทันเป็นพยายามฆ่าแล้ว

ฎ : 864/02 จล.ใช้ปืนยิงไปยังผู้เสียหายแล้วแต่กระสุนไปถูกผู้เสียหายถือว่ากระทำไปตลอดแล้วแต่ไม่บรรลุผล

 

 

สำนักติวกฎหมายราม 17 -24-

+ พยายามซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ ม.81

  1. ผู้กระทำต้องมีเจตนากระทำความผิด
  2. ผู้กระทำจะต้องกระทำการเพื่อให้บรรลุผลตามเจตนาอันเป็นการกระทำที่เลยขั้นตระเตรียม
  3. ผู้กระทำ กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล
  4. การกระทำนั้นไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ หรือเพราะเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ

+ ความแตกต่างของ 80/81 อยู่ตรงที่ว่า

  • การไม่บรรลุตาม 80
    • เกิดโดยบังเอิญ และอาจเกิดจากปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำ อาจเกิดจากวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อ หรืออาจจะเกิดจากเหตุอื่น ๆ เหตุใดก็ได้
    • การไม่บรรลุผลตาม 81จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่แท้เด็ดขาด และต้องเกิดจากปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือวัตถุที่มุ่งหมายกระทำต่อเท่านั้น

ฎ : 980/62 จล.ใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ 7 นัด ยิงผู้เสียหาย นัดแรกด้านอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อม, บังเอิญมิฉะนั้น กระสุนต้องระเบิดออกอาจเกิดอันตรายแก่ผู้เสียหายได้ กรณี เข้า 80 ไม่ใช่ 81 เพราะหาเป็นการแน่แท้ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลย

ฎ : 711/13, 783/13, 2036/19, 1623/27 ถ้าเป็นเรื่องกระสุนด้านเข้า มาตรา 80

ฎ : 4402/30 ขว้างระเบิดใส่ผู้เสียหายโดยเจตนาฆ่า ลูกระเบิดไม่ระเบิดเพราะยังไม่ได้ถอดสลัก เข้า 80

ฎ : 1446/13 ใช้ปืนยิงไปที่ห้องที่ผู้เสียหายเคยนอน ผู้เสียหายรู้ตัวล่วงหน้าเลยหลบไปนอนอีกห้อง กรณีเข้า 80

ฎ : 980/02 ฆ่าคนโดยเจตนาฆ่า แต่ใช้ปืนซึ่งไม่รู้ว่าไม่มีลูกเล็งไปยังผู้เสียหายเข้า 81* ต้องไม่รู้ว่าไม่มีลูก ถ้ารู้อยู่แล้วว่าไม่มีลูกก็ไม่เป็นทั้ง 80, 81 เพราะไม่มีเจตนาฆ่า

ฎ : 589/29 เอาปืนแก๊ปที่ไม่มีแก๊ปยิงผู้เสียหายไม่รู้ว่าไม่มีแก๊ปเข้า 81

ฎ : 107/10} 1361/14} 281/17 ถ้าเป็นวัตถุระเบิดกำลังอ่อน/ลูกระเบิดกำลังอ่อนเป็นกรณี 81 + รวมถึงปืนกำลังอ่อนด้วย + เรื่องยับยั้งหรือกลับใจ ตาม ม.82 มีหลัก 4 ข้อ

  1. ผู้กระทำจะต้องลงมือกระทำความผิดแล้ว
  2. ตัวอย่าง แดงต้องการฆ่าดำ แดงชักปืนมาจะยิงดำแต่แดงเกิดสงสารโยนปืนทิ้งไม่เข้า 82 เพราะเข้า 82 ต้องเล็งแล้วสงสาร

  3. ความผิดที่กระทำยังไม่สำเร็จผล
  4. ผู้กระทำยับยั้งเสียเองไม่กระทำการให้ตลอด, กระทำไปตลอดแล้วแต่กลับใจไม่ให้การกระทำบรรลุผล
  • กรณียับยั้งใช้กับการที่กระทำการไปไม่ตลอด
  • กรณีกลับใจแก้ไขใช้กับการที่กระทำไปตลอดแล้ว

สำนักติวกฎหมายราม 17 -25-

ฎ : 508/29 จล. ท้าทายนายแดงให้มาสู้กันและวิ่งไล่แทงจนถึงหน้าบ้านแดงจึงหยุดไล่ ต่อมาจล.ถือปืนเมื่อใกล้ถึงตัวแดงก็จ้องปืนมายังแดงโดยนิ้วสอดเข้าในโกร่งไกปืน แดงวิ่งหนี แต่ จล.ไม่ได้วิ่งตาม กลับเอาปืนมาจ้องดำแทน ทั้งที่มีโอกาสยิงแดงได้จึงเป็นการยับยั้งเสียเองไปกระทำการให้ตลอดเมื่อ จล.จ้องปืนไปที่ดำ ดำบอกว่าไม่เกี่ยวเดินหลบไป จล.ก็เดินไปอีกทางโดยไม่ตามไปยิงดำทั้งที่มีโอกาสยิงจึงเป็นการยับยั้งเสียเอง

ฎ : 3688/41 จล.ใช้มีดแทง ก.หลายครั้งถือว่าเจตนาฆ่า จล.ได้กระทำผิดไปโดยตลอดแล้วการที่ จล.ไม่แทงซ้ำอีกและพาไปหาหมอ หาใช่เป็นการยับยั้งหรือการกลับใจแก้ไขไม่ให้การกระทำบรรลุผล

4. การยับยั้ง, กลับใจ, แก้ไข ต้องเกิดขึ้นโดยความสมัครใจ เป็นเหตุให้การกระทำไม่บรรลุผล

  • ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน ม.83, 84, 86

มีหลักเกณฑ์ข้อสังเกต คือ

  1. กระทำโดยประมาท ไม่มีตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน
  2. ถ้าใช้ให้กระทำผิดตาม 84 แต่ผู้ลงมือไม่กระทำผิดโดยประมาทถือว่าผู้ใช้ยังไม่ได้กระทำลง ผู้ใช้ระวางโทษ 1 ใน3
  3. ตัวการ คือสมคบกันกระทำความผิดโดยมีการกระทำร่วมกัน มีเจตนาร่วมกัน

ผู้ใช้ คือ ผู้ที่ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดโดยผู้กระทำความผิดไม่มีเจตนาจะกระทำความผิดนั้น ๆ มาก่อน

ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่ช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งได้ตกลงใจกระทำความผิดนั้นอยู่แล้ว

ฎ : 3105/41 จล.ที่ 3 เป็นผู้วางแผนให้ จล.ที่ 2 กับพวกอีก 2 คนไปปล้นโดยไม่ปรากฏว่า จล.ที่ 2 กับพวกคิดจะปล้นอยู่ก่อนแล้วถือว่า จล.3 เป็นผู้ใช้

4. การใช้ตาม 84, ตัวการตาม 83 ในตัวของมันคือการช่วยเหลือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดอย่างหนึ่ง \ ผู้ใช้และตัวการในตัวมันคือผู้สนับสนุนแต่เมื่อเป็นผู้ใช้การเป็นผู้ใช้จะกลืนการเป็นตัวการ เมื่อเป็นผู้ใช้จะกลืนการเป็นผู้สนับสนุน

5. ผู้ใช้ผู้สนับสนุนที่กลายเป็นตัวการจะผิดตัวการเพียงอย่างเดียว การเป็นผู้ใช้, ผู้สนับสนุนเกลื่อนกลืนมารวมเป็นกรรมเดียวกับการเป็นตัวการ ฎ: 185/20

  1. จะเป็นตัวการได้ต้องมี การกระทำร่วมกัน มีเจตนาร่วมกัน
  2. การกระทำร่วมกันมีหลายรูปแบบคือ

    1. การร่วมกระทำส่วนหนึ่งของการกระทำทั้งหมดที่รวมกันเป็นความผิดขึ้น
    2. ฎ : 559/41 จล.ร่วมกับพี่ชายของจำเลยทำร้ายผู้ตาย จล.เป็นคนแทง พี่ชายเป็นคนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย ทั้ง 2 เป็นตัวการร่วมกัน

    3. การแบ่งหน้าที่กันทำ
    4. การอยู่ร่วมหรือใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุในลักษณะที่พร้อมจะช่วยเหลือกันได้ทันทีก็ถือว่าเป็นตัวการร่วมกันการอยู่ร่วมในที่เกิดเหตุและก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด เช่น ร้องบอกว่าเอาให้ตาย ฎ : 1649/31 ตัดสินว่าเป็นตัวการ แต่ ฎ : 2457/36 ตัดสินว่าการร้องบอกเช่นตะโกนว่ายิงเลยเป็นผู้ใช้

    ฎ : 4947/31 ถือว่าการร้องบอก “เอามันให้ตาย” เป็นเพียงผู้ใช้เพราะเพียงแต่ร้องบอกแต่ไม่ได้ร่วมในการทำร้ายด้วย

    สำนักติวกฎหมายราม 17 -26-

  3. การกระทำร่วมกันสิ้นสุดลงเมื่อใด การเป็นตัวการก็ยุติลงเมื่อนั้น
  4. ฎ : 1478/27 แดงทะเละวิวาทและชกต่อยกับดำ แต่สู้ไม่ได้จึงไปเรียกขาวกับเหลืองมาช่วย ขาวกับเหลืองรุมชกดำจนดำยอมแพ้แต่ขาวกับเหลืองยังคงใช้ไม้ตีดำต่อไป แดงเห็นว่าแรงไปจึงห้าม หลังจากนั้นดิ่งหนีเหลืองกับขาววิ่งไล่ตีดำจนตาย ขาวกับเหลืองผิด 290 แต่แดงผิด 295 เพราะการที่แดงเห็นว่าแรงไปจึงห้ามถือว่าเป็นการที่แดงยุติการเป็นตัวการร่วมกับขาวและเหลืองแล้ว

  5. ถ้าผู้ร่วมกระทำบางคนกระทำเกินขอบเขตผู้ร่วมกระทำคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้รู้เห็นด้วยจะรับผิดอย่างตัวการ
  6. หลักของมาตรา 84 ผู้ใช้
  7. 1. ผู้ใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด

    2. ผู้ใช้ต้องมีเจตนาก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด

    3. ผู้ถูกใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด

  8. การใช้ตามมาตรา 84 คือการก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด การก่อคือการกระทำเป็นต้นเหตุให้ผู้อื่นตกลงใจกระทำผิด
  9. จะเป็นผู้ใช้ในความผิดฐานใด จะต้องมีผู้ถูกใช้ในความผิดฐานนั้นเสียก่อน(การใช้ต้องถึงตัวผู้ลงมือ)
  10. ถ้าผู้ลงมือกระทำความผิดตามมาตรา 81 ถือเสมือนว่าความผิดที่ใช้ยังไม่ได้กระทำลง
  11. ถ้ามีการใช้ให้ทำร้ายร่างกายให้เกิดอันตรายสาหัส แต่ความผิดที่ใช้ยังไม่ได้กระทำลง ผู้ใช้ผิด 1/3 ของ 296
  12. ถ้ามีการใช้หรือร่วมกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่ผู้ลงมือต้องรับผิด 297 ผู้ใช้และตัวการรับผิด ฐานทำร้ายรับอันตราย สาหัสในฐานะเป็นผู้ใช้และตัวการด้วย ฎ : 313/29, 1014/35
  13. ผู้สนับสนุน ตาม 86 จะมิได้ต้องมีการกระทำความผิดของผู้ลงมือเสียก่อน
  14. จะเป็นผู้สนับสนุนได้ผู้ลงมือต้องได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือผู้ลงมือเสียก่อน
  15. การสนับสนุนต้องกระทำ ก่อนหรือขณะกระทำความผิด
  16. การสนับสนุนอาจจะกระทำโดยผู้ที่เร้าใจก็ได้
  17. ฎ : 382/12 การพูดให้ผู้ลงมือเร้าใจมีกำลังใจกระทำ

    ฎ : 757/28 การพาผู้หญิงมาให้เพื่อนข่มขืน แต่ขณะข่มขืนตนไม่อยู่ด้วย

    ฎ : 5731/41 การช่วยเหลืออาจทำโดยการนัดหมายก็ได้

  18. ผู้สนับสนุนต่างกับตัวการ ตรงที่ว่า ตัวการต้องมีการกระทำร่วมกันต้องมีเจตนาร่วมกัน

 

****************************************************************************

 

ขอให้โชคดีในการสอบครับ (GOOD LUCK)

ติวเตอร์หมี

นิติศาสตรบัณฑิต, เนติบัณฑิต