Home
เพลงสถาบัน
ติวสอบ
สารจากประธานฯ
กระดานสนทนา
กิจกรรม
ลิงค์
มีฎีกามาบอก
กำหนดการ

 

  • อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ ตามวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๔๐-๑๔๗
    • การส่งสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบไปยังพนักงานอัยการ แบ่งเป็น ๒ ประเภท
      1. สำนวนไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด (สำนวนมุมดำ)
      2. พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบจะมีความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ส่งเสนอพนักงานอัยการ (มาตรา ๑๔๐)

        1. งดการสอบสวน à กรณีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปี ให้พนักงานสอบสวนงดการสอบสวนและ
        2. ทำบันทึกเหตุที่งดแล้วส่งบันทึกพร้อมสำนวนไปยังอัยการ

        3. ควรให้งดการสอบสวนà กรณีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๓ ปี ให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้
        4. อัยการและพร้อมทำความเห็นที่ควรให้งดการสอบสวน

          • อำนาจในการสั่งคดีของอัยการ à สั่งให้งด,สั่งให้สอบสวนต่อไป ซึ่งพนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติตามนั้น
  • สำนวนรู้ตัวผู้กระทำความผิด
        1. รู้ตัวแล้วแต่เรียกหรือยังจับไม่ได้ (มาตรา ๑๔๑) à ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่ง

        ไม่ฟ้องส่งไปพร้อมสำนวนเสนออัยการ

      1. อำนาจในการสั่งคดีของอัยการ
          1. ถ้าเห็นชอบว่าควรสั่งไม่ฟ้อง à ให้ยุติการสอบสวนโดยสั่งไม่ฟ้องและแจ้งคำสั่งนี้ให้พนักงานสอบสวนทราบ
          2. ถ้าเห็นชอบว่าควรสอบสวนต่อไป à สั่งให้พนักงานสอบสวนทราบเพื่อทำการสอบสวนเพิ่มเติม
          3. ถ้าเห็นชอบว่าควรสั่งฟ้อง à ก็ให้จัดการให้ได้ตัวผู้ต้องหามา (ออกหมายจับ,ให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน)
        1. รู้ตัวและผู้กระทำความผิดถูกควบคุม ขัง ปล่อยชั่วคราว เชื่อว่าคงได้ตัวมาเมื่อออกหมายเรียก (มาตรา ๑๔๒)

    à ให้พนักงานสอบสวนทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องเสนอส่งอัยการพร้อมสำนวน

    กรณีเสนอความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง à ส่งแต่สำนวนพร้อมความเห็นให้อัยการส่วนผู้ต้องหาให้ปล่อยหรือ ปล่อยชั่วคราว ถ้าถูกขังอยู่ให้ขอเองหรือให้อัยการขอต่อศาลให้ปล่อย

    กรณีเสนอความเห็นควรสั่งฟ้องà ให้ส่งสำนวนและตัวผู้ต้องหาไปยังอัยการเว้นแต่ตัวผู้ต้องหาถูกขังอยู่ ตามหมายศาล

    กรณีในความผิดที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบได้ à ให้เปรียบเทียบถ้าผู้กระทำความผิดยินยอมปฏิบัติ ตามและให้บันทึกการเปรียบเทียบไว้แล้วส่ง อัยการพร้อมสำนวน

    ข้อสังเกต

    -การรู้ตัวนั้นจะต้องรู้ตัวผู้กระทำความผิดได้แน่นอนพอสมควรว่าเป็นผู้ใดแม้จะไม่รู้จักชื่อ ที่อยู่ก็ตาม

    -พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ à ดูมาตรา ๑๘,๑๙,๒๐ประกอบด้วย

  • อำนาจในการสั่งคดีของอัยการ (มาตรา ๑๔๓)
    1. กรณีมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง ถ้า
    2. เห็นด้วย à ให้ออกคำสั่งไม่ฟ้อง

      ไม่เห็นด้วย à ให้สั่งฟ้องและแจ้งให้พนักงานสอบสวนให้ส่งตัวผู้ต้องหามาเพื่อฟ้องคดี

    3. กรณีมีความเห็นควรสั่งฟ้อง ถ้า
    4. เห็นด้วย à ให้ออกคำสั่งฟ้องและฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล

      ไม่เห็นด้วย à ให้สั่งไม่ฟ้อง

    5. ในกรณีใดตาม 1),2) อัยการมีอำนาจสั่งดังนี้
      1. สั่งตามที่เห็นควร ให้พนักงานสอบสวนสอบสวนเพิ่มเติมหรือให้ส่งพยานมาให้ซักถามเพื่อสั่งต่อไป
      2. สั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหา ให้ประกัน ควบคุมไว้ ขอให้ศาลขัง
      3. ข้อสังเกต

        - ในคดีวิสามัญฆาตกรรมหรือตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน อัยการสูงสุดหรือผู้ทำการแทนเท่านั้นมีอำนาจออกคำสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง (ตามมาตรา ๑๔๓ วรรคท้าย)

        -คำว่า “คดีฆาตกรรม” ย่อมเข้าใจได้ว่าเป็นความผิดต่อชีวิต แต่จะหมายถึง ป.อ.มาตรา ๒๘๘,๒๘๙ หรือรวมถึงมาตรา ๒๙๐,๒๙๑(โดยทั่วไปหมายถึงเฉพาะฐานฆ่าโดยเจตนาเท่านั้น ตามระเบียบอัยการข้อ ๖๓)

        -คำว่า “ตายระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงาน”คือการตายเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของเจ้าพนักงาน

        -ปัญหาว่าถ้าการตายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคลอื่นซึ่งมิใช่เจ้าพนักงานจะเป็นคดีวิสามัญฆาตกรรมหรือไม่ à ถ้าถือสาระสำคัญอยู่ที่ว่าตายระหว่างควบคุมก็เป็นคดีวิสามัญฯด้วย

        -ดูเรื่องการชันสูตรฯประกอบด้วยมาตรา ๑๕๐,๑๒๙

        • ความผิดที่อาจเปรียบเทียบได้ (มาตรา ๑๔๔)

      à กรณีอัยการมีคำสั่งฟ้องแต่เห็นว่าความผิดนั้นอาจเปรียบเทียบได้และอัยการเห็นสมควร อัยการมีอำนาจสั่งได้ดังต่อไปนี้

        1. สั่งพนักงานสอบสวนให้พยายามเปรียบเทียบคดีแทนการส่งตัวไปฟ้อง
        2. ถ้าส่งตัวไปยังอัยการแล้วก็สั่งให้ส่งตัวกลับไปให้พยายามเปรียบเทียบ
        3. ข้อสังเกต เรื่องการเปรียบเทียบดู ป.วิ.อ.มาตรา ๓๗,๓๘ประกอบด้วย

          • คำสั่งของอัยการซึ่งไม่ใช่คำสั่งเด็ดขาด (มาตรา ๑๔๕)
            1. คำสั่งไม่ฟ้อง à ต้องเป็นคำสั่งไม่ฟ้องและไม่ใช่คำสั่งของอัยการสูงสุด (เพราะคำสั่งฟ้องของอัยการเป็นคำสั่งเด็ดขาดผู้ใดจะโต้แย้งคำสั่งนั้นมิได้)

    - ในกรุงเทพมหานคร à ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมคำสั่งเสนอ ผบ.ตร. , รองผบ.ตร. ,ผู้ช่วยผบ.ตร.

    - ในจังหวัดอื่นà ให้ส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมคำสั่งเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ

      • หน้าที่ของผบ.ตร. ,ผู้ว่าฯ
        1. กรณีเห็นด้วย à คำสั่งไม่ฟ้องนั้นเป็นเด็ดขาด
        2. กรณีไม่เห็นด้วย à ให้โต้แย้งคำสั่งแล้วรีบส่งความเห็นแย้งให้อัยการสูงสุดชึ้ขาด คำชี้ขาดเป็นอันยุติและ มีผลเป็นคำสั่งเด็ดขาด

        ข้อสังเกต

        - อำนาจในการทำความเห็นแย้งเมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง มิได้หมายความเฉพาะกรณีที่อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องซึ่งแย้งกับความเห็นของพนักงานสอบสวนเท่านั้น และรวมถึงแม้จะเป็นการไม่สั่งไม่ฟ้องเพียงบางฐานก็ตาม

        - คำชี้ขาดของอสส.ถือเป็นที่สุด (ฎ.๓๒๗๘/๒๒)

        - อสส.ไม่มีอำนาจชี้ขาดกลับคำชี้ขาดของตนได้อีก (ฎ.๒๐๔๐-๒๐๔๒/๒๓)

      • อำนาจหน้าที่ของอัยการ (ระหว่างรอคำชี้ขาด)

    ในระหว่างรอคำชี้ขาดของอัยการสูงสุด หากคดีจะขาดอายุความหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันจะต้องรีบฟ้องอัยการต้องฟ้องไปตามความเห็นแย้งก่อนถ้าต่อมาอสส.ชี้ขาดไม่ฟ้องค่อยมาขอถอนฟ้องต่อไป

          1. คำสั่งอื่น (ตามมาตรา ๑๔๕ วรรคท้าย)
          1. อัยการมีคำสั่งไม่อุทธรณ์หรือไม่ฏีกา à อัยการต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมคำสั่งเสนอผบ.ตร., ผู้ว่าฯด้วย
          2. อัยการมีคำสั่งอุทธรณ์หรือฏีกา à เป็นอำนาจของอัยการโดยเด็ดขาดที่จะจัดการได้เอง

          3. อัยการยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์หรือศาลฏีกาต่อมาจะขอถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฏีกา à ไม่มีกม. ระเบียบ ข้อบังคับใดกำหนดให้อัยการต้องแจ้งผลคำพิพากษาที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องและความเห็นอัยการที่ไม่อุทธรณ์ ฏีกา ดังนั้นเมื่ออัยการไม่ได้แจ้งให้ผู้เสียหายทราบจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดต่อกม. (ฎ.๑๗๓๙/๓๐)
      • การจัดการเมื่อมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง (มาตรา ๑๔๖)
      1. แจ้งคำสั่งให้ผู้ต้องหาหรือผู้ร้องทุกข์ทราบ
      2. ถ้าผู้ต้องหา ถูกขัง ถูกควบคุมตัวอยู่ให้จัดการปล่อยตัวไปหรือขอให้ศาลปล่อยตัว

    ข้อสังเกต ดู ร.ธ.น.มาตรา ๒๔๑,ป.วิ.อมาตรา ๓๔ประกอบ

      • ผลของคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง (มาตรา ๑๔๗)

    à จะสอบสวนผู้ต้องหาคนนั้นอีกไม่ได้ ไม่ว่าในฐานความผิดเดิมหรือฐานความผิดใหม่เว้นแต่จะปรากฏพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีที่จะทำให้ศาลลงโทษได้

    ข้อสังเกต กรณีที่ผู้ต้องหารับสารภาพและนำชี้ที่เกิดเหตุเป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นความจริงก็น่าจะเป็นหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดี

     

    ขอให้ทุกท่านโชคดีในการสอบครับ ผู้รวบรวม....นายพิพัฒน์ กิจเสถียรพงษ์ นิติศาสตรบัณฑิต, เนติบัณฑิตไทย